Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 1351-1400
  1. สะพรั่ง : ว. อาการที่สิ่งอย่างเดียวกันจำนวนมากปรากฏพร้อม ๆ กัน เช่น ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง มะม่วงออกช่อสะพรั่ง เขามีลูกสาว ๓ คน กำลังเป็นสาวสะพรั่ง.
  2. สะพัด ๑ : ก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.
  3. สะพั้น : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากํา ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศ เป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.
  4. สะอิ้ง : ว. อาการที่เดินเอวอ่อนไปอ่อนมา เช่น เดินสะอิ้ง. น. สายรัดเอว เป็น เครื่องประดับสําหรับผู้หญิง, สะเอ้ง ก็ว่า. (ไทยใหญ่ แอ้ง ว่า เอว).
  5. สะอึก : ก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียง ก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.
  6. สะอึกสะอื้น : ก. ร้องไห้ร่ำไรมีเสียงสะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น เด็กถูกตี หลัง จากหยุดร้องไห้แล้วก็ยังสะอึกสะอื้นอยู่. ว. อาการที่ร้องไห้รํ่าไรมีเสียง สะอื้นเป็นห้วง ๆ เช่น แม่ตีทีเดียว ร้องไห้สะอึกสะอื้นไปตั้งชั่วโมง.
  7. สังเกต : ก. กําหนดไว้, หมายไว้, เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต; ตั้งใจดู, จับตาดู, เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทาง เขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป., ส.).
  8. สังคัง : (ปาก) น. โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อรา (Epidermophyton floccosum) บางรายเกิดจากเชื้อราในสกุล Trichophyton เกิดที่ถุงอัณฑะ ลักษณะเป็นผื่นแดง มีสะเก็ด มีอาการคันมาก.
  9. สันดาน ๒ : น. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่งมีอาการให้จุกเสียดเรื้อรังอยู่เสมอ เรียกว่า ลม สันดาน.
  10. สันนิบาต ๒ : น. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).
  11. สับเงา : ว. สัปหงก, อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
  12. สัปหงก : [สับปะหฺงก] ว. อาการที่หน้าหงุบลงเพราะง่วงนอน.
  13. สาก ๓ : ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยัง ไม่ได้ไสกบ.
  14. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  15. หกคว่ำ : ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  16. หงก ๆ : ว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทําหัวเช่นนั้น เรียกว่า เดินหงก ๆ.
  17. หงอ : ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
  18. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  19. หงอด, หงอด ๆ : [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่น ด้วยความไม่พอใจ.
  20. หงัก ๆ : ว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.
  21. หงับ ๆ : ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่ เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
  22. หงาย : ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
  23. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  24. หงิม, หงิม ๆ : ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.
  25. หงึก ๆ : ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า.
  26. หงุบหงับ : ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยว อาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  27. หงุบ, หงุบ ๆ : ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.
  28. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  29. หดหู่ : ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรม แล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่ เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  30. หนวก : [หฺนวก] ว. อาการที่หูขาดสมรรถภาพในการได้ยินเสียง.
  31. หน่วง : [หฺน่วง] ก. ดึงไว้แต่น้อย ๆ, เหนี่ยวไว้, ทําให้ช้า, เช่น หน่วงเรื่องไว้ หน่วง เวลาไว้ หน่วงตัวไว้. อาการที่รู้สึกปวดถ่วงที่บริเวณท้องในเวลามี ประจำเดือนหรือเป็นบิดเป็นต้น.
  32. หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
  33. หน้าคว่ำ : ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.
  34. หน้างอ : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้น.
  35. หน้าเจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
  36. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
  37. หน้าชา : ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
  38. หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
  39. หน้าเซ่อ : ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
  40. หน้าดำหน้าแดง : ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.
  41. หน้าตั้ง ๒ : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า.
  42. หน้าตูม : ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม เชียว.
  43. หน้าทะเล้น : ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  44. หน้านิ่วคิ้วขมวด : ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น.
  45. หน้าบาน : ว. ทําหน้าแสดงอาการดีใจ เช่น เขาหน้าบานเพราะสอบได้ที่ ๑.
  46. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  47. หน้าเบ้ : น. หน้าที่แสดงอาการผิดหวัง ไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ หรือ เจ็บปวด เป็นต้น.
  48. หน้าป๋อหลอ : ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
  49. หน้าปูเลี่ยน ๆ : ว. อาการที่วางหน้าไม่สนิท กระดากอายเพราะถูกจับผิดได้ เป็นต้น, หน้าเจื่อน ก็ว่า.
  50. หน้าเป็น : ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ, ช่างหัวเราะ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1243 sec)