Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 1451-1500
  1. หลับ : ก. อาการพักผ่อนของร่างกายที่มีการรับรู้สภาพแวดล้อมน้อยลง.
  2. หลับตา : ก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้ หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.
  3. หลับใน : ก. หลับในใจ. ว. อาการที่คล้าย ๆ กับหลับ แต่ตายังลืมอยู่.
  4. หลับหูหลับตา : ก. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ โดยไม่พินิจ พิเคราะห์ให้รอบคอบเสียก่อน เช่น รายงานนี้ดูคล้ายกับหลับหูหลับตา ทำ; อาการที่ไม่รับรู้เหตุการณ์ใด ๆ เลย เช่น เรื่องนี้เขารู้กันทั่วบ้าน ทั่วเมืองแล้ว คุณมัวไปหลับหูหลับตาอยู่เสียที่ไหน; อาการที่ต้อง แข็งใจหรือฝืนใจทำ เช่น แม้ว่าอาหารจะไม่อร่อยก็ต้องหลับหูหลับตา กลืนเข้าไป.
  5. หลาว : น. ไม้ที่เสี้ยมแหลม เป็นอาวุธสําหรับแทง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลาวทองเหลือง. ว. เรียกอาการที่พุ่งตัว พร้อมกับเหยียดแขนทั้ง ๒ ไปข้างหน้าว่า พุ่งหลาว.
  6. หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
  7. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  8. หว็อย ๆ : ว. อาการที่ชายผ้าหรือใบไม้เป็นต้นถูกลมพัดปลิวสะบัดหรือปลิวพลิก ไปมา.
  9. หวัด ๑ : น. อาการที่เยื่อของอวัยวะที่เป็นเครื่องหายใจอักเสบ มักทําให้เสียงแห้ง และนํ้ามูกไหล.
  10. หวั่น : ก. พรั่น, มีอาการกริ่งเกรงไป.
  11. หวั่นใจ : ก. มีความรู้สึกพรั่นใจไปเอง, มีอาการกริ่งเกรงไป.
  12. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  13. หวาม : ว. อาการที่รู้สึกเสียวในใจ.
  14. หอบหืด : ก. อาการหายใจไม่สะดวก มีเสียงหวีดหวือ เนื่องจากหลอดลม หดเกร็ง มักเกิดในผู้ป่วยโรคหืด.
  15. ห้อยโหน : ก. อาการที่เกาะราวหรือห่วงเป็นต้น แล้วโยนตัวไปมา.
  16. ห่อแห่, ห้อแห้ : ว. มีอาการท้อแท้อ่อนเปลี้ย.
  17. หัด ๑ : น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้สูงและปวดศีรษะ ออกผื่นแดง ตามตัว. (อ. measles, morbilli, rubeola).
  18. หัดเยอรมัน : น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้ ต่อมนํ้าเหลือง ที่คอโต ออกผื่นแดงทั่วตัวคล้ายโรคหัด แต่อาการไม่รุนแรงเท่า มีผล รุนแรงต่อทารกในครรภ์ระยะ ๓ เดือนแรก, เหือด ก็เรียก. (อ. German measles, rubella).
  19. หันรีหันขวาง : ก. อาการที่หันเหไปมา เก้ ๆ กัง ๆ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทํา อย่างใด.
  20. หัวซุกหัวซุน : ว. อาการที่หลบหนีอย่างรีบร้อนโดยไม่หยุดยั้ง เช่น ผู้ร้าย หนีตำรวจหัวซุกหัวซุน.
  21. หัวซุน : ว. อาการที่ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน คือ ใช้เสียจนโงหัว ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.
  22. หัวปักหัวปำ : ว. อาการที่หัวถลำไปข้างหน้าเพราะเมาเหล้าเมารถเป็นต้น เช่น คนเมาเดินหัวปักหัวปำ, โดยปริยายหมายความว่า โงหัวไม่ขึ้น เช่น ถูกใช้ทำงานจนหัวปักหัวปำ หลงผู้หญิงจนหัวปักหัวปำ.
  23. หัวฟัดหัวเหวี่ยง : ว. อาการที่โกรธจัด เช่น เขาโกรธจัดเดินหัวฟัดหัวเหวี่ยง ออกไป.
  24. หัวไม่วางหางไม่เว้น : (สํา) ว. รวบหมดทั้งหัวทั้งหาง; อาการที่ทำงานอยู่ ตลอดเวลาโดยไม่มีเวลาหยุดพัก เช่น เขาทำงานหัวไม่วางหางไม่เว้น เขาถูกใช้งานจนหัวไม่วางหางไม่เว้น.
  25. หัวหกก้นขวิด : (สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจ ใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตาม ความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
  26. หัวหายตะพายขาด : (สํา) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางที ก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.
  27. ห้ามญาติ : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม.
  28. ห้ามพระแก่นจันทน์ : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม.
  29. ห้ามสมุทร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยา ห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี.
  30. หายใจ : ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บ ยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หายใจเป็นเงิน.
  31. หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
  32. หิด : น. ชื่อโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ Sarcoptes scabiei ลักษณะเป็นเม็ดสีขาว ใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้นตามผิวหนัง มีอาการปวดและคัน เรียกว่า หิดด้าน เมื่อเม็ดแตกมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม เรียกว่า หิดเปื่อย.
  33. หิว : ก. อยากกิน, อยากดื่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หิวเงิน.
  34. หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
  35. หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
  36. หุบ : ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสง อาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.
  37. หุ้ม : ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.
  38. หูชัน : ก. อาการที่แสดงว่าตั้งใจฟัง (มักใช้แก่สัตว์บางชนิด).
  39. หูดับ : ว. อาการของหูที่อื้อไปพักหนึ่งเนื่องจากได้ยินเสียงดังมาก.
  40. หูตัน : ว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยาย หมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร.
  41. หูลี่ : ว. อาการที่หูของหมาลู่เอนไปข้างหลังแสดงอาการประจบหรือกลัว เป็นต้น.
  42. หูอื้อ : ว. อาการที่รู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในหูทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียง.
  43. เห็น : ก. อาการของตาที่ประสบรูป, ปรากฏแก่ตา, ปรากฏแก่ใจ, คิดรู้.
  44. เหน็บ ๒ : ก. เสียบ, สอดไว้ในที่บังคับ; กิริยาที่เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีสบู่เป็นต้นสอด เข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
  45. เหน็บ ๓ : ก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสี แคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.
  46. เหน็บ ๔ : น. อาการชาและเจ็บแปลบปลาบตามแขนขาเป็นต้น เกิดจากหลอดเลือด และเส้นประสาทหรืออย่างใดอย่างหนึ่งบริเวณนั้นถูกกดทับระยะหนึ่ง.
  47. เหน็บชา : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากขาดวิตามินบี ๑ ทําให้มีอาการชา ปลายมือปลายเท้าเป็นต้น.
  48. เหน็บแนม : ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้กระทบกระเทียบเปรียบเปรย.
  49. เหนอะ, เหนอะหนะ : [เหฺนอะ-] ว. มีลักษณะเหนียวติดมือ เช่น ข้าวติดมือเหนียวเหนอะหนะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เหงื่อไหล จนรู้สึกว่าตัวเหนียวเหนอะหนะไปหมด.
  50. เหนาะ ๆ : ว. อาการที่ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอย่างสะดวกหรือคล่อง เช่น ได้กำไรมา เหนาะ ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | [1451-1500] | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1231 sec)