Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 551-600
  1. ดัก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุราย เช่น ปลาดิ้นดัก ๆ. (โบ; กลอน) ว. ลำบาก, อึดอัด, เร่าร้อนใจ, เช่น มาเดียวพี่ดักดัก ใจจอด แม่แม่. (นิ. นรินทร์), อะดัก ก็ว่า.
  2. ดัดจริต : [-จะหฺริด] ก. แสร้งทํากิริยาหรือวาจาให้เกินควร.
  3. ด่าว : (กลอน) ว. อาการดิ้นอย่างดิ้นแด่ว ๆ ดิ้นยัน ๆ, เด่า หรือ เด่า ๆ ก็ว่า.
  4. ดิ้น ๑ : ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.
  5. ดีซ่าน : น. ชื่อโรคซึ่งเกิดกับผู้ป่วยที่มีสารสีชนิดหนึ่งในนํ้าดี ซึ่งเรียกว่า บิลิรูบิน ไปปรากฏในเลือดสูงกว่าระดับปรกติในคนธรรมดา ทําให้ผู้ป่วย มีอาการตัวเหลือง.
  6. ดีดฝ้าย : ก. อาการที่เอาฝ้ายใส่กระชุแล้วเอาไม้กงดีดฝ้ายดีดสายให้กระทบ ฝ้ายเพื่อให้ฝ้ายแตกเป็นปุย.
  7. ดีเดือด : ว. มีอาการคลุ้มคลั่งมุทะลุดุดันเป็นคราว ๆ ในคําว่า บ้าดีเดือด.
  8. ดุกดิก : ก. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, กระดุกกระดิก ก็ว่า.
  9. ดุด : ก. กิริยาที่หมูเอาจมูกดุนดิน.
  10. ดุ่ม, ดุ่ม ๆ : ว. อาการก้มหน้าก้มตาเดินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ดูอะไรหรือแวะเวียน.
  11. ดุษณี, ดุษณีภาพ : [ดุดสะนี-] น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตุษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).
  12. ดูแคลน, ดูถูก, ดูถูกดูแคลน : ก. แสดงอาการเป็นเชิงดูหมิ่นหรือเหยียดหยามเขา.
  13. ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน : ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรเป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.
  14. เดาะ ๓ : ว. อาการเดินอย่างกระปรี้กระเปร่า เช่น เดินเดาะเลาะทางมา.
  15. เดินสาย : ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามจังหวัดต่าง ๆ.
  16. เดือด : ก. อาการที่ของเหลวพลุ่งขึ้นเพราะความร้อนจัด เช่น นํ้าเดือด, โดยปริยาย หมายความว่า บันดาลโทสะ.
  17. แด็ก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นแด็ก ๆ ชักแด็ก ๆ ติดแด็ก ๆ, กระแด็ก ๆ ก็ว่า.
  18. แดก ๑ : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา เรียกว่า ลมแดกขึ้น; (ปาก) กิน, กินอย่าง เกินขนาด, (ใช้ในลักษณะที่ถือว่าไม่สุภาพ), โดยปริยายใช้แทนกริยา อย่างอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น; พูดกระทบให้โกรธ โดยยกเอาสิ่ง ที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบขึ้นมาย้อนเปรียบเทียบ.
  19. แด่ว ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอย่างทุรนทุรายแต่หาทางไปไม่ได้ในคําว่า ดิ้นแด่ว ๆ, กระแด่ว ๆ ก็ว่า.
  20. โด่ง : ว. อาการที่พุ่งขึ้นไป เช่น พลุขึ้นโด่ง ตะไลขึ้นโด่ง, สูง เช่น ตะวันโด่ง หัวโด่ง ท้ายโด่ง; เรียกจมูกที่เป็นสันเด่นออกมาว่า จมูกโด่ง.
  21. โด่เด่ : ว. อาการที่ตั้งตรงแล้วโย้ไปโย้มา.
  22. ตกคลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนอง ที่นํ้างวด, ตกปลัก ก็ว่า; ในการเล่นดวดหมายถึงลักษณะที่หมาก ๓ ตัวเดินไปถึงที่สุดมารวมกันอยู่ในตาที่จะสุกจวนจะออกแล้วแต่ ทอดแต้มออกไม่ได้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คนมารวมกัน มาก ๆ ไปไหนไม่ได้.
  23. ตกดิน : ก. อาการที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไป.
  24. ตกตะลึง : ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน.
  25. ตกใน : ก. อาการที่เลือดไม่ไหลออกข้างนอก ตกลงภายในเมื่อถูก แทงหรือฟันเป็นต้น เรียกว่า เลือดตกใน; โดยปริยายใช้เรียกอาการ ที่ต้องกลํ้ากลืนความทุกข์ไว้ ไม่แสดงออกมาว่า นํ้าตาตกใน.
  26. ตกปลัก : ก. อาการที่ปลาเป็นต้นมารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่นํ้า งวด, ตกคลัก ก็ว่า.
  27. ตกมัน : ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
  28. ตกเลือด : ก. แท้งลูก, อาการที่เลือดออกผิดธรรมดาเนื่องจากแท้งลูก เป็นต้น, ราชาศัพท์ว่า ตกพระโลหิต.
  29. ตกสนับ : ก. อาการที่หญ้าโทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก.
  30. ตกสะเก็ด : ก. อาการที่เลือดและนํ้าเหลืองแห้งติดกรังอยู่ที่ปากแผล.
  31. ตกหมก : ก. อาการที่เลือดระดูเสียที่หมักหมมอยู่ข้างในไหลออกมา.
  32. ต๋ง ๒ : ก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้ กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อน หลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.
  33. ตงิด : [ตะหฺงิด] ว. เล็กน้อย, ทีละน้อย ๆ, (ใช้แก่อาการเกี่ยวกับความรู้สึก) เช่น โกรธตงิด ๆ หิวตงิด ๆ.
  34. ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  35. ตด ๑ : ก. อาการที่ลมระบายออกทางทวารหนัก, ผายลม. น. ลมที่ออกจาก ทวารหนัก เช่น เหม็นตด.
  36. ตบเท้า : ก. อาการเดินกระแทกตีนกับพื้นแรง ๆ ของทหารหรือตํารวจ เป็นต้นเรียกว่า เดินตบเท้า.
  37. ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
  38. ตรีทูต : น. ผู้แทนคนที่ ๓; ลักษณะบอกอาการของคนเจ็บหนักใกล้จะตาย.
  39. ตรีโทษ : น. อาการไข้ที่ลม เสมหะ เลือด ประชุมกัน ๓ อย่างให้โทษ, ไข้หนักจวน จะตาย. (ส. ตฺริ + โทษ).
  40. ตลก : [ตะหฺลก] ก. ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทางเป็นต้น; โดย ปริยายหมายความว่า แกล้งทําให้คนอื่นเข้าใจผิด เช่น เล่นตลก. ว. ขบขัน, ที่ทําให้คนอื่นขบขันด้วยคําพูดหรือกิริยาท่าทาง เป็นต้นเช่น หนังตลก, เรียก ผู้ที่ทําให้คนอื่นขบขันว่า ตัวตลก, เรียกเรื่องที่ทําให้ขบขันหรือเข้าใจผิดว่า เรื่องตลก.
  41. ตลกโปกฮา : ว. อาการที่พูดชวนให้ขบขันเฮฮา.
  42. ต้วมเตี้ยม : ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือ คลาน), กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า.
  43. ต๊อก ๓, ต๊อก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่เดินเรื่อย ๆ ไปหรืออาการที่วิ่งไปวิ่งมาอย่างเด็กวิ่งเล่น เช่น เดินต๊อก ๆ วิ่งต๊อก ๆ.
  44. ต่องแต่ง : ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, กระต่องกระแต่ง ก็ว่า.
  45. ตอด ๑ : ก. เอาปากงับกัดทึ้งโดยเร็วอย่างปลาตอด, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนม เช่น พูดตอดเล็กตอดน้อย.
  46. ต่อตัว : ก. อาการที่คนหนึ่งขึ้นไปยืนบนบ่าของอีกคนหนึ่ง เช่น ต่อตัวปีนกำแพง. น. ชื่อการแสดงกายกรรมแบบหนึ่งที่ผู้แสดงคนหนึ่งหรือหลายคนขึ้นไปยืน เลี้ยงตัวบนตัวของผู้แสดงอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นหลักเป็นต้น.
  47. ตอแหล ๑ : [-แหฺล] เป็นคําด่าคนที่พูดเท็จ (มักใช้แก่ผู้หญิง); ช่างพูดและแสดงกิริยาน่ารัก (ใช้เฉพาะเด็กที่สอนพูด).
  48. ตะกรุมตะกราม : [-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทําไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการ บริโภค เป็นต้น.
  49. ตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัวเวลา เช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.
  50. ตะเกียงแก๊ส : น. ตะเกียงที่ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับนํ้าได้แก๊ส อะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | [551-600] | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1612

(0.1025 sec)