Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กิริยาอาการ, กิริยา, อาการ , then กรยา, กรยาอาการ, กิริย, กิริยา, กิริยาอาการ, อาการ, อาการะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กิริยาอาการ, 1612 found, display 1501-1550
  1. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  2. เหยง, เหยง ๆ : [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
  3. เหย่า, เหย่า ๆ : [เหฺย่า] ว. อาการที่วิ่งอย่างช้า ๆ หรือเดินอย่างเร็ว.
  4. เหยาะ ๆ : ว. อาการที่วิ่งช้า ๆ.
  5. เหลิงเจิ้ง : [เหฺลิง-] (ปาก) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ.
  6. เหลิงลม : ว. อาการที่ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่ ในคำว่า ว่าวเหลิงลม.
  7. เห่อ ๒ : ก. แสดงอาการตื่นเต้นยินดีมากจนออกนอกหน้า เช่น เห่อรถ เห่อเสื้อผ้า ใหม่, ลำพองใจ เช่น เห่อยศ เห่ออำนาจ.
  8. เห่า ๑ : ก. อาการส่งเสียงสั้น ๆ ของหมา.
  9. เหียน ๒, เหียน ๆ : ก. มีอาการพะอืดพะอมคล้ายจะคลื่นไส้ เช่น รู้สึกเหียน ๆ, มักใช้เข้าคู่กับคำ คลื่น เป็น คลื่นเหียน.
  10. เหียนราก : ก. มีอาการจะอาเจียน.
  11. เหือด ๑ : น. โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการไข้ ต่อมนํ้าเหลืองที่คอโต ออกผื่นแดงทั่วตัวคล้ายโรคหัด แต่อาการไม่รุนแรงเท่า มีผลรุนแรง ต่อทารกในครรภ์ระยะ ๓ เดือนแรก, หัดเยอรมัน ก็เรียก.
  12. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  13. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  14. แหมะ ๑ : [แหฺมะ] ก. นั่งหรือวางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น เดินมาจนเหนื่อยเลยแหมะ อยู่ที่โคนต้นไม้ก่อน เอาของแหมะไว้ตรงนี้อีกแล้ว. ว. อาการที่นั่งหรือ วางของทิ้งไว้ชั่วคราว เช่น นั่งแหมะ วางของแหมะ.
  15. แหย : [แหฺย] ว. อาการที่ไม่สู้ใครหรือเก้ออาย.
  16. แหยง : [แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว. ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
  17. แหยะ, แหยะ ๆ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
  18. แหว : [แหฺว] ว. ลักษณะของเสียงดังที่แสดงอาการดุ. ก. แผดเสียงดุ.
  19. แหวะ : [แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา; อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
  20. โหง ๑ : น. ผี; เรียกการตายผิดธรรมดาโดยอาการร้าย เช่นถูกฆ่าตาย ตกนํ้าตาย ว่า ตายโหง.
  21. โหม่ง ๑ : [โหฺม่ง] ก. เอาหัวรับหรือกระแทกลูกตะกร้อหรือฟุตบอลเป็นต้น, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่สิ่งหนึ่งตกลงมากระแทกพื้นอย่างแรง เช่น หัวโหม่งพื้นเครื่องบินโหม่งโลก.
  22. โหยง : [โหฺยง] ว. อาการที่กระโดดโดยฉับไวด้วยดีใจหรือตกใจ เช่น กระโดดโหยง สะดุ้งโหยง.
  23. โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  24. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  25. ให้ถ้อยคำ : (กฎ) ดู ให้การ. ให้ท่า ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ(ใช้แก่ผู้หญิง).
  26. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  27. อกตั้ง : ว. เต็มที่, เต็มแรง, เช่น วิ่งอกตั้ง เดินอกตั้ง; เรียกอาการที่นั่ง หรือยืนตัวตรงว่า นั่งอกตั้ง ยืนอกตั้ง.
  28. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  29. อกรวบ : น. อกไม่ผาย. ว. อาการของคนที่วิ่งจนเหนื่อยหอบแทบ จะหมดเรี่ยวแรง เรียกว่า วิ่งจนอกรวบ.
  30. อกโรย : ว. อาการของคนที่มีลักษณะผอมจนเห็นกระดูกอก.
  31. องควิเกษป : [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
  32. อติสาร : [อะติสาน] ว. อาการของการเจ็บไข้ที่เข้าขีดตาย. น. โรคลงแดง. (ป., ส.).
  33. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  34. อย่างไร : ว. ใช้ในประโยคคําถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือ ความเห็นเป็นต้น เช่น จะทําอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ใน ประโยคที่ไม่เป็นคําถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
  35. อยู่ไปมา : ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
  36. อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
  37. อลึ่งฉึ่ง : [อะหฺลึ่ง] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียก อาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.
  38. อหิวาต์, อหิวาตกโรค : [อะหิวาตะกะ] น. ชื่อโรคระบาดชนิดหนึ่ง มีอาการลงราก. (ป.).
  39. อ๋อ ๑ : น. ชื่อวิธีแทงโปกำและโปปั่นวิธีหนึ่ง มีถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู คือ ถ้าลูกค้าแทงอ๋อประตูเดียว โปออกประตูที่แทงนั้น เจ้ามือต้องจ่าย ๓ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน, เรียกกิริยาที่แทงเช่นนั้นว่า แทงอ๋อ.
  40. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  41. ออกแขก : ก. ต้อนรับแขก; แสดงต่อหน้าแขก, แสดงตัวในสังคม; อาการที่ลิเกตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง. น. การแสดงลิเก ตอนที่มีตัวแขกออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง.
  42. ออกไข้หัว : (โบ) ก. อาการที่ไข้หัวผุดขึ้นมา, เป็นไข้หัว.
  43. ออกงิ้ว : ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตัง อย่างเล่นงิ้ว.
  44. ออกนอกหน้า : ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการ ให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  45. ออกลิงออกค่าง : ก. ทํากิริยาซุกซนอยู่ไม่สุขอย่างลิงอย่างค่าง.
  46. ออกหาก : ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
  47. ออดแอด, ออด ๆ แอด ๆ : ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วย อยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
  48. อ้อน : ก. พรํ่าร้องขอ, ร้องสําออย, อาการร้องไห้อย่างเด็กอ่อน.
  49. อ่อนช้อย : ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  50. อ่อนน้อม : ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างมีคารวะ; ยอมแพ้, สวามิภักดิ์. ว. มีกิริยาวาจาอย่างมีคารวะ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | [1501-1550] | 1551-1600 | 1601-1612

(0.0937 sec)