Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 1351-1400
  1. ประมาท : [ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทําโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทําอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).
  2. ประมาทเลินเล่อ : ก. กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังหรือ ละเลยในสิ่งที่ควรกระทำ.
  3. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  4. ประโมทย์ : [ปฺระโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, โดยมากใช้ ปราโมทย์.
  5. ประยุกต์ : ก. นําความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์. ว. ที่นํา ความรู้มาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา ประยุกต์. (ส. ปฺรยุกฺต; ป. ปยุตฺต).
  6. ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
  7. ประลอง : ก. ทดสอบความรู้ความสามารถด้วยการต่อสู้หรือแข่งขันกัน เช่น ประลองฝีมือ ประลองกําลัง ประลองความเร็ว.
  8. ประลัย : น. ความตาย, ความฉิบหาย, ความป่นปี้, ความย่อยยับไป. (ส. ปฺรลย; ป. ปลย).
  9. ประวรรตน์ : [ปฺระวัด] น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
  10. ประวัติ, ประวัติ- : [ปฺระหฺวัด, ปฺระหฺวัดติ-] น. เรื่องราวว่าด้วยความเป็นไปของคน สถานที่ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ประวัติศรีปราชญ์ ประวัติ วัดมหาธาตุ. (ป. ปวตฺติ).
  11. ประวีณ : ว. ฉลาด, มีฝีมือ. (ส. ปฺรวีณ; ป. ปวีณ).
  12. ประสบการณ์ : [ปฺระสบกาน] น. ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทํา หรือได้พบเห็นมา.
  13. ประสบการณ์นิยม : [ปฺระสบกาน-] น. ลัทธิทางปรัชญาที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นบ่อเกิดของความรู้ทุกอย่าง; การปฏิบัติที่เน้น ประสบการณ์; การแสวงหาความรู้โดยอาศัยการสังเกต การทดลอง และวิธีอุปนัย, ประจักษนิยม ก็ว่า. (อ. empiricism).
  14. ประสาท ๑, ประสาท- ๑ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้าย เส้นใย มีหน้าที่นําคําสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมอง หรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย, โดยปริยายหมายความว่า จิตใจ, ความรู้สึก. (ส. ปฺรสาท; ป. ปสาท).
  15. ประสาท ๒, ประสาท- ๒ : [ปฺระสาด, ปฺระสาทะ-] น. ความเลื่อมใส. (ส.; ป. ปสาท).
  16. ประสาทหลอน : น. ความผิดปรกติของการรับรู้ เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงคนพูดโดยไม่มีคนพูดจริง ได้กลิ่นที่ไม่มีอยู่จริง. (อ. hallucination).
  17. ประสิทธิ์ประสาท : [ปฺระสิดปฺระสาด] ก. อํานวยความสําเร็จให้เกิดมีขึ้น.
  18. ประสิทธิ-, ประสิทธิ์ : [ปฺระสิดทิ-, ปฺระสิด] น. ความสําเร็จ. ก. ทําให้สําเร็จ. (ส. ปฺรสิทฺธิ).
  19. ประสิทธิภาพ : [ปฺระสิดทิพาบ] น. ความสามารถที่ทําให้เกิดผลในการงาน.
  20. ประสิทธิเม : [ปฺระสิดทิ-] น. คํากล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า ขอให้สําเร็จแก่เรา.
  21. ประสีประสา : น. วิสัย, เรื่องราว, ความเป็นไป, ความหมาย, (มักใช้ในประโยค ปฏิเสธ) เช่น ไม่รู้ประสีประสา.
  22. ประหารชีวิต : ก. ลงโทษฆ่า. (กฎ) น. โทษทางอาญาขั้นสูงสุด ที่ลงแก่ผู้กระทําความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ วิธีประหารชีวิตตาม ประมวลกฎหมายอาญา คือ การเอาตัวผู้ต้องโทษประหารชีวิต ไปยิงเสียให้ตาย.
  23. ปรักปรำ : [ปฺรักปฺรํา] ก. กล่าวโทษหรือให้การใส่ร้ายเกินความเป็นจริง.
  24. ปรักมะ : [ปะรักกะ-] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ป. ปรกฺกม).
  25. ปรัชญา : [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
  26. ปรัตถจริยา : [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.).
  27. ปรัตยนต์ : [ปะรัดถะจะ-] น. ความประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น. (ป.). [ปฺรัดตะยัก] (โบ; กลอน) ว. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
  28. ปรัตยูห์ : [ปฺรัดตะยู] (โบ; กลอน) น. อันตราย, ความขัดข้อง. (ส. ปฺรตฺยูห; ป. ปจฺจูห).
  29. ปรับทุกข์ : ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์.
  30. ปรากรม : [ปะรากฺรม] น. ความเพียร, ความบากบั่น. (ส.).
  31. ปราชัย : [ปะราไช] น. ความพ่ายแพ้. ก. พ่ายแพ้. (ป.).
  32. ปราดเปรื่อง : ว. มีความคิดแคล่วคล่องว่องไว, เปรื่องปราด ก็ว่า.
  33. ปรานี : [ปฺรา-] ก. เอ็นดูด้วยความสงสาร.
  34. ปรานีปราศรัย : [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  35. ปราภพ : [ปะราพบ] น. ความฉิบหาย. (ป. ปราภว).
  36. ปราโมช : [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมทย์ ก็ใช้. (ป. ปาโมชฺช; ส. ปฺรโมทฺย)
  37. ปราโมทย์ : [ปฺราโมด] น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ใช้. (ส. ปฺรโมทฺย; ป. ปาโมชฺช).
  38. ปริกัลป- : [ปะริกันละปะ-] น. ความตรึก, ความดําริ, ความกําหนดในใจ. (ส. ปริกลฺป; ป. ปริกปฺป).
  39. ปริกัลปมาลา : น. ระเบียบกริยาในไวยากรณ์ที่บอกความคาดหมาย ความกําหนด. (ส.).
  40. ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
  41. ปริตร : [ปะหฺริด] น. ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน; พระพุทธมนต์ใน เจ็ดตํานานที่เรียกว่า สัตปริตร และสิบสองตํานานที่เรียกว่า ทวาทศปริตร, ตํานานหนึ่ง เรียกว่า ปริตรหนึ่ง. ว. น้อย. (ส.; ป. ปริตฺต).
  42. ปริเทวนะ, ปริเทวะ : [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
  43. ปริปาก : ก. แย้มปากพูดออกมา (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าปริปากบอกใครนะ.
  44. ปริ่ม : [ปฺริ่ม] ว. เสมอขอบ, เสมอพื้น, (ในลักษณะอย่างนํ้าที่ขึ้นเสมอขอบ ตลิ่งหรือดอกบัวที่โผล่ขึ้นเสมอพื้นนํ้าเป็นต้น); อาการที่มีความยินดี ปลื้มใจ เช่น ปริ่มใจ ปริ่มยิ้ม ปริ่มเปรม.
  45. ปริมณฑล : [ปะริมนทน] น. วงรอบ; ความเรียบร้อย เช่น นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล. (ป.).
  46. ปริมาณ : [ปะริมาน] น. กําหนดความมากน้อยของจํานวน.
  47. ปริยาย : [ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออก อย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).
  48. ปริศนาอักษรไขว้ : น. ปริศนาที่จะต้องตอบโดยการเติมคําลงในตาราง สี่เหลี่ยมที่กําหนดให้ช่องละ ๑ อักษร แล้วให้อ่านได้ใจความทั้งในแนว ยืนและแนวนอน.
  49. ปริหาน : [ปะริ-] น. ความเสื่อมรอบ, ความเสื่อมทั่วไป. (ป.).
  50. ปรีชา : [ปฺรี-] น. ปัญญาสามารถ, ความรอบรู้จัดเจน. (ส. ปริชฺ?า; ป. ปริญฺ?า).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | [1351-1400] | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.0983 sec)