Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 301-350
  1. กินเกลียว : ก. เข้ากันได้สนิท, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเกลียวกัน.
  2. กินเกลือกินกะปิ : (สํา) ว. อดทนต่อความลำบากยากแค้น เช่น เขาเคยกินเกลือกินกะปิมาด้วยกัน.
  3. กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
  4. กินบ้านกินเมือง : ก. ตื่นสายมาก ในความว่า นอนกินบ้านกินเมือง; (ปาก) ฉ้อราษฎร์บังหลวง.
  5. กินบุญเก่า : (สํา) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทําไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสํานวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).
  6. กินเส้น : ก. ชอบกัน, เข้ากันได้, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่กินเส้นกัน.
  7. กินเหล็กกินไหล : (สํา) ว. ทนต่อความเหน็ดเหนื่อย หรือความเจ็บปวดได้อย่างผิดปรกติ.
  8. กีฬา : น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลาย ความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา).
  9. กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  10. กุลสตรี : [กุนละ-] น. หญิงผู้มีตระกูลและมีความประพฤติดี.
  11. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  12. เกจิอาจารย์ : น. ``อาจารย์บางพวก'', อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
  13. เกณฑ์ : น. หลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์, หลักวินิจฉัย เช่น ถือความรู้เป็นเกณฑ์. ก. บังคับหรือขอร้องแกมบังคับ เช่น เกณฑ์ประชาชนมาทําถนน.
  14. เกม ๑ : น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วย การแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. (อ. game).
  15. เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
  16. เกรี้ยวกราด : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, กราดเกรี้ยว ก็ใช้.
  17. เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
  18. เกล้า : [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.
  19. เกล้ากระผม : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
  20. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  21. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  22. เกษม : [กะเสม] น. ความสุขสบาย, ความปลอดภัย, มักใช้เข้าคู่กับคําอื่น เช่น สุขเกษม เกษมศานต์. (โบ เขียนเป็นกระเษม, เขษม ก็มี). (ส.; ป. เขม).
  23. เก่า : ว. ก่อน เช่น ครูคนเก่า กรรมเก่า; ไม่ใหม่ เช่น ผ้าเก่า ของเก่า, คํานี้เมื่อใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ มีความหมายต่าง ๆ กัน แล้วแต่คําที่นํามาประกอบ เช่น มือเก่า หมายถึง ชํานาญ, หัวเก่า หมายถึง ครึ ไม่ทันสมัย, รถเก่า หมายถึง รถที่ใช้แล้ว.
  24. เกินคน : ว. ยิ่งกว่าคนสามัญ เช่น ฉลาดเกินคน เลวเกินคน.
  25. เกินไป : ว. คําประกอบท้ายคําวิเศษณ์ เพื่อเน้นความหมาย แสดงว่าเกินกําหนด เกินพอดี เช่น กินมากเกินไป ดีเกินไป สุกเกินไป.
  26. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  27. เกียรติคุณ : [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
  28. เกียรตินิยม : [เกียดนิยม] น. ความรู้ดีเด่นเหนือระดับปรกติ ที่มหาวิทยาลัยกําหนดไว้.
  29. เกียรติประวัติ : [เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น. ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ, ประวัติที่เลื่องลือ.
  30. เกียรติภูมิ : [เกียดติพูม] น. เกียรติเพราะความนิยม.
  31. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  32. เกี่ยวแฝกมุงป่า : (สํา) ก. ทําอะไรเกินกําลังความสามารถของตัว.
  33. แก้ขวย, แก้เขิน : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อบรรเทาความกระดากอาย.
  34. แก้แค้น : ก. ทําตอบด้วยความแค้นหรือเพื่อให้หายแค้น.
  35. แก๊ง : (ปาก) น. กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล. (อ. gang).
  36. แก้ตัว : ก. พูดหรือทําเพื่อปลดเปลื้องความผิดหรือข้อผิดพลาดของตน.
  37. แก้ต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนจําเลย, ใช้คู่กับ ว่าต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนโจทก์.
  38. แก่นสาร : น. สิ่งที่ยั่งยืนถาวร, หลักที่ควรยึดถือ, คุณประโยชน์, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่เป็นแก่นสาร
  39. แก้บาป : ก. สารภาพความผิดเพื่อให้พ้นบาป.
  40. แก้เผ็ด : ก. ทําตอบแก่ผู้ที่เคยทําความเจ็บปวดให้แก่ตัวไว้เพื่อให้สาสมกัน.
  41. แกม : ว. ปน เช่น ด้ายแกมไหม คือ ด้ายปนไหม, แต่มีความหมาย ไปในทางที่ว่า สิ่งที่ปนมีอยู่เป็นส่วนน้อย.
  42. แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
  43. แก่วัด : ว. อยู่วัดนาน, มีท่าทีหรือความคิดเห็นแบบคนที่ได้รับ การอบรมจากวัดหรืออยู่วัดนาน; รู้มาก.
  44. แกะ ๒ : ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทําเช่นนั้น, ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่น หรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กําแน่น.
  45. โกญจนาท : น. การบันลือเสียงเหมือนนกกระเรียน, ความกึกก้อง, (โดยมากใช้แก่เสียงช้าง). (ป.).
  46. โกสัช : [-สัด] (แบบ) น. ความเกียจคร้าน. (ป. โกสชฺช).
  47. ไกลปืนเที่ยง : (สํา) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.
  48. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ : (สํา) ว. ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับ ของกันและกัน.
  49. ขจัด : [ขะ-] ก. กําจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
  50. ขนพอง : น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1050 sec)