Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 2951-3000
  1. แห้งเหี่ยว : ก. ขาดความสดชื่น, เหี่ยวแห้ง ก็ว่า.
  2. แหนง ๑ : [แหฺนง] (โบ) ก. หมาง, ระแวง, เช่น แหนงกัน คือ หมางใจกัน แหนงความ คือ ระแวงความ.
  3. แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
  4. แหย่ : [แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
  5. แหลมหลัก : ว. คมคาย เช่น วาจาแหลมหลัก, เฉียบแหลม เช่น ความคิด แหลมหลัก, หลักแหลม ก็ว่า.
  6. แหละ : [แหฺละ] ว. คําประกอบเพื่อเน้นความ เช่น คนนี้แหละ.
  7. แหวกว่าย : ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
  8. โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
  9. โหมฮึก : ก. ระดมเข้าไปด้วยความคะนอง, ฮึกโหม ก็ว่า.
  10. โหยหวน : ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
  11. โหยหิว : ก. รู้สึกอ่อนเพลียเพราะมีความหิวมาก.
  12. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  13. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  14. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  15. ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
  16. ให้ร้าย, ให้ร้ายป้ายสี : ก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย, ป้ายสี ใส่ร้าย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  17. ให้แรง : ก. ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นต้น มักใช้กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ ตามความเชื่อ เช่น ผีให้แรง เทวดาให้แรง.
  18. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  19. ให้สัตยาบัน : (กฎ) ก. ให้ความเห็นชอบหรือรับรอง.
  20. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  21. ให้หูให้ตา : ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบ ความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หู''ให้ตาใคร ๆ.
  22. ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
  23. ไหน ๑ : ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความสงสัยหรือคำถาม เช่น คนไหน อันไหน ที่ไหน, ถ้ามีคำ ก็ได้ ต่อท้าย แสดงถึงความไม่เจาะจง เช่น คนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้.
  24. ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
  25. ไหนจะ : ว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).
  26. ไหม้ ๑ : ก. ติดเชื้อไฟ, ลุก, เผา, (ใช้แก่ไฟหรือความร้อน). ว. ถูกความร้อนจน เกรียมหรือจนเป็นถ่าน เช่น ข้าวไหม้; เกรียม, ดําคลํ้า, (ใช้แก่ผิว).
  27. ไหล่ทวีป : น. บริเวณใต้นํ้าทะเลรอบ ๆ ทวีป ซึ่งมีความลาดเอียงน้อย ๆ แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล นับจากแนวนํ้าลงตํ่าสุดลงไป.
  28. ไหว้ : ก. ทําความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือ ผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.
  29. ไหว้ครู : ก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความ สำนึกในพระคุณของท่าน.
  30. ไหวติง : ก. กระดุกกระดิก, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ไหวติง.
  31. อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
  32. อกกรม : ว. มีความระทมใจ มักใช้เข้าคู่กับคำ หน้าชื่น เป็น หน้าชื่น อกกรม, หน้าชื่นอกตรม ก็ว่า.
  33. อกตเวทิตา : [อะกะตะ] น. ความเป็นผู้ไม่ประกาศอุปการคุณที่ท่านทำแก่ตน, ความเป็นผู้ไม่ตอบแทนอุปการคุณที่ท่านได้ทำแก่ตน, เป็นคำคู่กันกับ อกตัญญุตา. [ป. อ ว่า ไม่ + กต ว่า (อุปการะ) ที่ท่านทำแล้ว + เวที ว่า ผู้ให้รู้, ผู้ประกาศ + ตา ว่า ความเป็น].
  34. อกตัญญุตา : [อะกะตัน] น. ความเป็นผู้ไม่รู้อุปการคุณที่ท่านทําแก่ตน. (ป.).
  35. อกแตก : ว. ลักษณะของเมืองหรือวัดเป็นต้นซึ่งมีลํานํ้าหรือทางผ่า กลาง เรียกว่า เมืองอกแตก วัดอกแตก; อาการของคนที่เก็บความ รู้สึกอัดอั้นตันใจไว้จนทนไม่ไหว. อ. คําพูดที่เปล่งออกมาเมื่อตกใจ เป็นต้น (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น อุ๊ย ! อกแตก, อกจะแตก ก็ว่า.
  36. อกหัก : ว. พลาดหวัง (มักใช้ในด้านความรัก).
  37. อกุศลกรรม : [อะกุสนละกํา] น. ความชั่วร้าย, โทษ, บาป. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ; ป. อกุสลกมฺม).
  38. อกุศลกรรมบถ : [อะกุสนละกํามะบด] น. ทางแห่งความชั่ว, ทาง บาป, มี ๑๐ อย่าง คือ กายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ และมโนทุจริต ๓. (ส. อกุศล + กรฺมนฺ + ปถ; ป. อกุสลกมฺมปถ).
  39. อกุศลมูล : [อะกุสนละมูน] น. รากเหง้าแห่งความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ.
  40. อคติ : [อะคะ] น. ความลําเอียง มี ๔ อย่าง คือ ฉันทาคติ = ความลําเอียง เพราะรัก โทสาคติ = ความลําเอียงเพราะโกรธ ภยาคติ = ความลําเอียง เพราะกลัว โมหาคติ = ความลําเอียงเพราะเขลา. (ป.).
  41. อฆะ ๑ : [อะคะ] น. ความชั่ว, บาป, ความทุกข์ร้อน. (ป., ส.).
  42. องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
  43. องควิการ : [องคะวิกาน] น. ความชํารุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
  44. องควิทยา : [องคะ] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
  45. อจิตติ : น. ความขาดสติ, ความมัวเมา. (ส.).
  46. อจินตา : [จิน] น. การขาดความคิด. (ส.).
  47. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  48. อดทน : ก. บึกบึน, ยอมรับสภาพความยากลำบาก.
  49. อติมานะ : น. ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง. (ป.).
  50. อธิคม : น. การบรรลุ, ความสําเร็จ, การได้. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | [2951-3000] | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1747 sec)