Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 1851-1900
  1. มุตติ : [มุด-] น. ความพ้น. (ป.; ส. มุกฺติ).
  2. มุติ : [มุ-ติ] น. ความรู้สึก, ความเห็น, ความเข้าใจ. (ป.).
  3. มุทะลุ : ก. หุนหันพลันแล่น, โกรธแล้วทําลงไปอย่างไม่คํานึงถึงเหตุผลหรือ ไม่ยับยั้ง. ว. มีนิสัยดุดัน ชอบทำอะไรอย่างหุนหันพลันแล่นหรือ โดยขาดสติปราศจากความยั้งคิด.
  4. มุทา : น. ความยินดี, ความสุขใจ. (ป.).
  5. มุทิตา : น. ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
  6. มุทุ : ว. อ่อน. (ป.). มุทุตา น. ความเป็นผู้มีใจอ่อน, ความอ่อนหวาน, ความละมุนละม่อม. (ป.).
  7. เมตตา : น. ความรักและเอ็นดู, ความปรารถนาจะให้ผู้อื่นได้สุข, เป็นข้อ ๑ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
  8. เมตร : [เมด] น. หน่วยวัดความยาวอย่างหนึ่งตามวิธีเมตริก กําหนดเทียบเท่ากับ ๑๐๐ เซนติเมตร หรือ ๒ ศอก. (ฝ. m?tre).
  9. เมินเสียเถอะ, เมินเสียเถิด : (สำ) คำกล่าวอย่างตัดเยื่อใยไมตรี ไม่ให้มีความหวัง อยู่เลย.
  10. เมืองท่า : น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล; (กฎ) ทําเลหรือถิ่นที่ จอดเรือเพื่อขนถ่ายคนโดยสารหรือของ.
  11. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  12. แม่คุณ : น. คําพูดเอาใจหญิงหรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่เด็กหญิง.
  13. แมงคาเรือง : น. ชื่อตะเข็บชนิดที่ตัวเรืองแสงเมื่ออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Geophilus วงศ์ Geophilidae เช่น ชนิด G. phosphoreus, G. electricus ขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีด ยาว ๓.๕-๔.๕ เซนติเมตร มีจํานวนปล้อง ๓๐-๖๖ ปล้องหรือมากกว่า ขายาวกว่า ความยาวของปล้องมาก อาศัยอยู่ตามที่รกรุงรัง กองขยะมูลฝอย ฯลฯ, แมงคา ก็เรียก.
  14. แมงดา : น. ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจาน (Tachypleus gigas) ความยาวลําตัว ถึงปลายหางยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร มีสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัด ของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ (Carcinoscorpius rotundicauda) ความยาวลําตัวถึงปลายหางยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร สันหางเรียบมน หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางท้องถิ่น และบางฤดูกาล ถ้านํามากินอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ทั้ง ๒ ชนิด, แมงดาทะเล ก็เรียก; ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนัง โรงโขน; ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล; (ปาก) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดํารงชีวิต.
  15. แม่เจ้า : ส. คําเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. แม่เจ้าประคุณ คำเรียกแสดงความรักใคร่หรือประชดประชัน แล้วแต่น้ำเสียง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น แม่เจ้าประคุณของยายสบายดีหรือ ดึกแล้วแม่เจ้าประคุณ ยังไม่กลับบ้านเลย.
  16. แม่เจ้าโว้ย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ.
  17. แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
  18. แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
  19. แมวมอง : น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
  20. โม้ : (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง.
  21. โมกข-, โมกข์ ๑ : [โมกขะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ป.; ส. โมกฺษ).
  22. โมกษ-, โมกษะ : [โมกสะ-] น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. (ส.; ป. โมกฺข).
  23. โมกษะพยาน : (กฎ) น. พยานที่พ้นแล้ว ได้แก่ พระภิกษุหรือสามเณรใน พระพุทธศาสนาซึ่งไม่จําต้องไปศาลตามหมายเรียก และแม้มาเป็นพยาน ก็ไม่ต้องสาบานตนก่อนเบิกความและจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบ คําถามใด ๆ ก็ได้.
  24. โมฆกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า ขึ้นกล่าวอ้างก็ได้, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
  25. โมนะ : น. ความนิ่ง, ความสงบ. (ป.; ส. เมาน).
  26. โมไนย : [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
  27. โมเม : ก. ทึกทักเอา เช่น โมเมว่าเขาชอบตน, รวบรัดตัดความ เช่น โมเมสรุป. ว. ไม่สมเหตุสมผล.
  28. โมห-, โมหะ : [-หะ-] น. ความหลง, ความเขลา, ความโง่, ที่ใช้ว่า โม่ห์ หรือ เมาห์ ก็มี. (ป., ส.).
  29. โมหันธ์ : น. ความมืดมนด้วยความหลง. (ป. โมห + อนฺธ).
  30. โมหาคติ : น. ความลําเอียงเพราะความเขลา เป็นอคติ ๑ ในอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติ. (ป. โมห + อคติ).
  31. ไม่ : ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
  32. ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
  33. ไม่เข้าใครออกใคร : ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
  34. ไม่เข้ายา : (สํา) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ.
  35. ไมโครเวฟ : [-โคฺร-] น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวช่วงคลื่นสั้นมาก, เรียกเตาอบที่ใช้ ไมโครเวฟทำให้ร้อนว่า เตาไมโครเวฟ. (อ. microwave).
  36. ไม้ดำไม้แดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และสีขาว เจ้ามือกำไม้ ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลงในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ปลาดำปลาแดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  37. ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
  38. ไมตรี : [-ตฺรี] น. ความเป็นเพื่อน, ความหวังดีต่อกัน. (ส.; ป. เมตฺติ).
  39. ไม่ทัน : ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาหมายความว่า ยังมิได้ตั้งตัวตั้งใจ ทําให้ พลาดไป เช่น ไม่ทันฟัง ไม่ทันคิด, ใช้ประกอบหลังกริยาหมายความว่า ไม่มีความสามารถที่จะติดตามเรื่องได้ทัน เช่น ฟังไม่ทัน พูดไม่ทัน คิดไม่ทัน.
  40. ไม้นวม : น. ไม้ตีระนาดที่พันด้วยนวมทำให้มีเสียงทุ้ม, โดยปริยายหมายความว่า วิธีการนิ่มนวล, ความอ่อนโยน, เช่น นักเรียนชั้นนี้ต้องใช้ไม้นวมจึงยอมเข้าเรียน.
  41. ไม่เป็นท่า : ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
  42. ไม่เป็นสุข : ว. ไม่มีความสุข.
  43. ไม่เป็นอัน : ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
  44. ไม้เมตร : น. เครื่องมือวัดความยาวทําด้วยไม้เป็นต้น ยาว ๑ เมตร.
  45. ไม้ยมก : น. เครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ สําหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างท้าย ๒ หน.
  46. ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน : (สํา) ก. ไม่รู้ความเป็นมาหรือพื้นเพ.
  47. ไม้วา : น. ไม้เครื่องวัดความยาวมีกําหนด ๔ ศอก.
  48. ไม้สูง : น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกาว่า เล่นไม้สูง; เรียกเพลงกระบี่กระบองซึ่งเป็นเพลงชั้นสูง; โดยปริยายหมายความว่า ใช้เล่ห์เหลี่ยม ฉลาดเกินตัว เช่น เขามาไม้สูง.
  49. ไม่เห็นจะ : ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
  50. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง : (สํา) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทําได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | [1851-1900] | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1019 sec)