Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 3101-3150
  1. ออกนอกหน้า : ว. แสดงความรู้สึกให้ปรากฏทางสีหน้า, แสดงอาการ ให้ปรากฏอย่างชัดแจ้ง.
  2. ออกปาก : ก. พูดขอความช่วยเหลือ เช่น ออกปากขอแรงชาวบ้าน มาช่วยงาน; พูดเชิงตําหนิ เช่น เขาใช้เงินเปลืองจนแม่ออกปาก.
  3. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  4. ออกแรง : ก. ใช้กำลัง, ใช้แรงงาน, ใช้ความพยายาม, โดยปริยาย หมายความว่า วิ่งเต้นขอความช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์.
  5. ออกฤทธิ์ : ก. สําแดงคุณหรือโทษให้ปรากฏ เช่น ยาออกฤทธิ์ ยาพิษออกฤทธิ์; (ปาก) อาละวาดด้วยความโกรธเพราะถูกขัดใจ เป็นต้น, แผลงฤทธิ์ ก็ว่า.
  6. ออกลาย : (ปาก) ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจาก ที่แสร้งทําดีมาแล้ว.
  7. ออกเสียง : ก. เปล่งเสียง; ลงคะแนนเสียง; ลงคะแนนเลือกตั้ง; ออกความเห็น.
  8. ออดแอด, ออด ๆ แอด ๆ : ว. อาการที่บ่นไม่รู้จักจบ; อาการที่ป่วย อยู่บ่อย ๆ ในความว่า เจ็บออดแอด หรือ เจ็บออด ๆ แอด ๆ.
  9. อ้อม : ก. โอบรอบ, ตีวงโค้ง, เช่น อ้อมวงเวียน, ล้อม, ห่อหุ้ม, ในคำว่า ผ้าอ้อม. ว. ตรงข้ามกับ ตรง เช่น ทางตรง-ทางอ้อม โดยตรง-โดยอ้อม, ตรงข้าม กับ ลัด เช่น ลัดเกร็ด-อ้อมเกร็ด. น. วงรอบ เช่น อ้อมแขน อ้อมกอด, โดยปริยายหมายถึงความคุ้มครองอุปการะ ในคำว่า อ้อมอก, ขนาดของของกลม เช่น เสา ต้นไม้ ที่วัดโดยรอบโดยวิธีใช้แขนทั้ง ๒ ข้างอ้อม เช่น เสา ๒ อ้อม ต้นไม้ ๔ อ้อม.
  10. อ๊ะ : ว. คําที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  11. อะนะ, อะหนะ : น. ลูก, น้อง, (ใช้เป็นคำเรียกแสดงความรู้สึกรักและเอ็นดู) เช่น อันอะหนะบุษบาบังอร. (อิเหนา), อานะ ก็ว่า. [ช. anak ว่า ลูก (ใช้ได้ทั้งลูกคนและลูกสัตว์)].
  12. อะร้าอร่าม ๑ : (โบ) ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, งกเงิ่นด้วยความห่วงใย.
  13. อักโกธะ : น. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).
  14. อักขะ ๓ : [ขะ] น. ดวงตา; ความรู้สึก. (ป.; ส. อกฺษ).
  15. อักษร, อักษร : [อักสอน, อักสอระ, อักสอน] น. ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ เช่น ฉลาดรอบรู้ในอักษรสยาม. (ส.; ป. อกฺขร).
  16. อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
  17. อั้งยี่ : น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อ การอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่. (จ.).
  18. อัจฉริยบุคคล : น. บุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเยี่ยมยอดมาแต่ กําเนิด.
  19. อัจฉริยภาพ : น. ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก.
  20. อัจฉริย, อัจฉริยะ : [อัดฉะริยะ] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).
  21. อัชฌา : [อัดชา] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน. (ตัดมาจาก อัชฌาสัย).
  22. อัชฌาจาร : [จาน] น. ความประพฤติชั่ว, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี. (ป.).
  23. อัชฌาสัย : [ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  24. อัญเชิญ : ก. เชิญด้วยความเคารพนับถือ เช่น อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐาน ในพระอุโบสถ. (ข. อญฺเชิญ).
  25. อัญดิตถีย์, อัญเดียรถีย์ : [ดิดถี, เดียระถี] น. พวกที่มีความเชื่อถือ อย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺ?ติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).
  26. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  27. อัญรูป : [อันยะ] น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนําไป ทําปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบ อันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนําอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน.
  28. อัฏ : [อัดตะ] (แบบ) น. คดีความ. (ป. อฏฺฏ).
  29. อัฏนา : [อัดตะนา] น. เรียกชื่อพิธียิงปืนเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจตามประเพณี ความเชื่อในระหว่างที่พระสงฆ์สวดอาฏานาฏิยสูตรในวันทําพิธี ตรุษว่า ยิงปืนอัฏนา, อาฏานา ก็ว่า.
  30. อัดอั้น, อัดอั้นตันใจ : ก. เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่ สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน.
  31. อัตถ์, อัตถะ : น. เนื้อความ, ประโยชน์, ความต้องการ. (ป. อตฺถ; ส. อรฺถ).
  32. อัตนัย : ว. ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความ คิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  33. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  34. อัตภาพ : น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว).
  35. อัธยาศัย : [อัดทะยาไส] น. นิสัยใจคอ เช่น เขาเป็นคนมีอัธยาศัยดี; ความพอใจ, ความประสงค์, เช่น ไปพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย. (ส. อธฺยาศย; ป. อชฺฌาสย).
  36. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  37. อันดก : [ดก] น. ความตาย. (ป., ส. อนฺตก).
  38. อันต ๑ : [อันตะ] น. เขต, แดน; ปลายทาง, ที่จบ, อวสาน, ที่สุด; ความตาย, ความเสื่อมสิ้น. (ป., ส.).
  39. อันตกะ : [อันตะกะ] น. ''ผู้ทําที่สุด'' หมายถึง ความตาย คือ พระยม. (ป., ส.).
  40. อันตคู : น. ผู้ถึงที่สุด, ผู้ชํานะความทุกข์. (ป.).
  41. อันตรการณ์ : น. เหตุขัดข้อง, อุปสรรค, ความติดขัด. (ป.).
  42. อันตราย : [อันตะราย] น. เหตุที่อาจทําให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ. (ป., ส. อนฺตราย ว่า อุปสรรคหรือภัยอันมาในระหว่าง).
  43. อันติมสัจ : [มะสัด] (ปรัชญา) น. ความจริงขั้นสุดท้าย, ความจริง ขั้นสูงสุด.
  44. อันติม, อันติมะ : [อันติมะ] ว. สุดท้าย, สูงสุด, เช่น ความจริงอันติมะ คือ ความจริง สุดท้าย ความจริงสูงสุด. (ป.; อ. ultimate).
  45. อันธการ : น. ความมืด, ความมัว, ความมืดมน; เวลาคํ่า; ความเขลา; อนธการ ก็ว่า. (ป.).
  46. อันว่า : ว. ใช้เป็นคํานําหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความ ต่าง ๆ เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อัน ก็มี เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มี กําหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า).
  47. อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  48. อัประมาท : [อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่; อประมาท ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  49. อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  50. อัพยากฤต : [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศล หรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | [3101-3150] | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1039 sec)