Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 1401-1450
  1. ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี : [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
  2. ปรีติ : [ปฺรี-] น. ปีติ, ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ส.; ป. ปีติ).
  3. ปรึกษา : [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่อง ด้วยการหารือว่า คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  4. ปรู๊ฟ : [ปฺรู๊บ] น. เรียกกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพตํ่ากว่ากระดาษ ปอนด์และกระดาษอาร์ต ว่า กระดาษปรู๊ฟ; งานพิมพ์เป็นต้นเพื่อ ตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย. (ปาก) ก. พิสูจน์อักษร.
  5. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  6. ปลงธรรมสังเวช : [ปฺลงทํามะสังเวด] ก. เกิดความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (ใช้แก่พระอริยบุคคล).
  7. ปลงอาบัติ : ก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
  8. ปล้นทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งผู้ชิงทรัพย์ร่วม กระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า ความผิดฐาน ปล้นทรัพย์.
  9. ปลอกคอ : น. สายรัดรอบคอ (มักใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึง ผู้มีอํานาจที่คอยให้ความคุ้มครองหรือช่วยเหลือ.
  10. ปลอดโปร่ง : ว. ผ่องใสปราศจากความขุ่นมัว.
  11. ปล้อน : [ปฺล้อน] ก. ปลิ้นเปลือกหรือเมล็ดในผลไม้ออกจากปาก เช่น ปล้อน เมล็ดลําไย ปล้อนเมล็ดน้อยหน่า, ลอกเปลือกผลไม้ออก เช่น ปล้อน มะพร้าว, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปลิ้น เป็น ปล้อนปลิ้น หรือ ปลิ้นปล้อน มีความหมายอย่างปล้อน; โดยปริยายหมายความว่า ใช้อุบายล่อลวง เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตน.
  12. ปล่อยไก่ : (ปาก) ก. แสดงความโง่ออกมา.
  13. ปล่อยนกปล่อยกา : (สํา) ก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้น จากความผูกพัน, ปล่อยลูกนกลูกกา ก็ว่า.
  14. ปลาดำปลาแดง : น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ไม้ ๓ อัน ทาสีดำ สีแดง และ สีขาว เจ้ามือกำไม้ทั้ง ๓ อันไว้ แล้วใช้ความไวปัดไม้อันหนึ่งลง ในกล่อง ให้ลูกค้าแทงสี ถ้าแทงผิดเจ้ามือกิน, ไม้ดำไม้แดง หรือ อีดำอีแดง ก็เรียก.
  15. ปลาตกน้ำตัวโต : (สํา) น. สิ่งที่เสียหรือสูญหายไปมักดูมีค่ามากเกิน ความเป็นจริง.
  16. ปลาบปลื้ม : ก. มีความรู้สึกยินดีแล่นวาบเข้าในใจ.
  17. ปลายแถว : น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า.
  18. ปลิโพธ : [ปะลิโพด] น. ความกังวล, ความห่วงใย. (ป.).
  19. ปลิว : [ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดย ปริยายใช้เป็นคําเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินตัวปลิว.
  20. ปลุก : [ปฺลุก] ก. ทําให้ตื่นจากหลับ, ทําให้ได้สติรู้สึกตัว, กระตุ้นให้เกิด แรงกําลัง ความขลัง และความกล้าแข็ง เป็นต้น.
  21. ปลุกพระ : ก. บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง.
  22. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ : (สํา) ก. ทําตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผล โดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.
  23. ป่วย : ก. รู้สึกไม่สบายเพราะโรคหรือความไข้หรือเหตุอื่นที่ทําให้รู้สึก เช่นนั้น.
  24. ปวัตน-, ปวัตน์ : [ปะวัดตะนะ-, ปะวัด] น. ความเป็นไป. (ป.).
  25. ปวารณา : [ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความ เต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนา ยอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทําในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).
  26. ปวีณ : [ปะวีน] ว. ฉลาด, มีฝีมือดี. (ป.).
  27. ปวุติ : [ปะวุดติ] น. ความเป็นไป, เรื่องราว. (ป. ปวุตฺติ).
  28. ปักษเภท : [ปักสะเพด] น. ความแตกต่างระหว่าง ๒ ฝ่ายที่โต้เถียงกัน.
  29. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  30. ปัจจูหะ : (แบบ) น. ปรัตยูห์, อันตราย, ความขัดข้อง. (ป.).
  31. ปัจเจกโพธิ : [ปัดเจกกะโพด] น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. (ป.).
  32. ปัญญาแค่หางอึ่ง : (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
  33. ปัญญาวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็น โลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ เจโตวิมุติ. (ป. ป?ฺ?าวิมุตฺติ).
  34. ปัญญาอ่อน : น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทําให้เด็กมีความสามารถ จํากัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ ควรเป็น. ว. มีระดับสติปัญญาด้อยหรือต่ำกว่าปรกติ.
  35. ปัดเป่า : ก. ทําพิธีเสกเป่าเพื่อให้ความเจ็บไข้หาย, แก้ความลําบาก ขัดข้องให้หมดไป.
  36. ปัดสวะ : [-สะหฺวะ] (สํา) ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนไป.
  37. ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
  38. ปากโป้ง : ก. ชอบพูดเปิดเผยสิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึง ความผิดพลาดเสียหาย.
  39. ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
  40. ปาณนาศ : น. ความตาย. (ส. ปฺราณนาศ).
  41. ปาณวินาศ : น. ความตาย. (ส. ปฺราณวินาศ).
  42. ปานกลาง : ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่าง ที่สุด ๒ ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่.
  43. ป่าย ๑ : ว. ปีนขึ้นไปด้วยความยากลําบาก, มักใช้เข้าคู่กับคํา ปีน เป็น ป่ายปีน หรือ ปีนป่าย.
  44. ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  45. ป่ายปีน : ก. ปีนหรือตะกายขึ้นไปด้วยความยากลำบาก, ปีนป่าย ก็ว่า.
  46. ป้ายสี : ก. ใส่ความผู้อื่นโดยไม่มีมูลความจริง, ให้ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  47. ปาราชิก : น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใด ข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวด อุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
  48. ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
  49. ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
  50. ปิดทองหลังพระ : (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ เไม่มีใครห็นคุณค่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | [1401-1450] | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.0917 sec)