Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 2351-2400
  1. วาท, วาท : [วาด, วาทะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).
  2. วาทศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
  3. ว่าไม่ได้ : (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้.
  4. ว่าไม่ไว้หน้า : ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย โดยไม่เกรงใจ.
  5. วายามะ : น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
  6. ว่าอะไรว่าตามกัน : (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
  7. วิกลจริต : [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
  8. วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  9. วิการ : ว. พิการ, ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ วิกล เป็น วิกลวิการ. . ความผันแปร. (ป., ส.).
  10. วิฆนะ : [วิคะ] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง. (ส.).
  11. วิฆเนศ, วิฆเนศวร : [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
  12. วิ่งเต้น : ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุน ช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน.
  13. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  14. วิจิกิจฉา : [กิดฉา] น. ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความไม่ แน่ใจ. (ป.; ส. วิจิกิตฺสา).
  15. วิจิตรศิลป์ : [จิดตฺระสิน, จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้าน คุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
  16. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  17. วิชญะ : [วิดยะ] น. ผู้รู้, ผู้ฉลาด, ปราชญ์. (ส.).
  18. วิชย, วิชัย : [วิชะยะ-,วิไข] น. ความชนะ, ชัยชนะ, (ป., ส.)
  19. วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  20. วิชาการ : น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการสัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
  21. วิชานนะ : น. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  22. วิญญาณ : น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  23. วิญญูภาพ : น. ความเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
  24. วิตก, วิตก : [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).
  25. วิถีทาง : น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบ ความสำเร็จ.
  26. วิทยฐานะ : น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
  27. วิทยา : [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
  28. วิทยากร : น. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).
  29. วิทยากล : น. การแสดงที่อาศัยกลวิธีและความไวทำให้ผู้ชม สนเท่ห์.
  30. วิทยาการ : น. ความรู้แขนงต่าง ๆ เช่น ปัจจุบันวิทยาการต่าง ๆ ก้าวหน้าไปมาก, บางทีใช้ว่า ศิลปวิทยาการ.
  31. วิทยาคาร : น. สถานที่ให้ความรู้.
  32. วิทยาทาน : น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
  33. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  34. วิทยาศาสตร์ : น. ความรู้ที่ได้โดยการสังเกตและค้นคว้าจาก ปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้ หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ.
  35. วิทยุคมนาคม : น. การส่งหรือการรับเครื่องหมายสัญญาณ ตัวหนังสือ ภาพ และเสียงหรือการอื่นใดซึ่งสามารถให้เข้าใจความหมายได้ โดยใช้คลื่นวิทยุ.
  36. วิทู : น. ผู้ฉลาด, ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา, ผู้ชํานาญ. (ป.).
  37. วิทูร ๑ : ว. ฉลาด, คงแก่เรียน, มีปัญญา, ชํานาญ. (ป., ส. วิทุร).
  38. วิเทวษ : [ทะเวด] น. ความเป็นข้าศึก, ความเกลียด, ความปองร้าย. (ส. วิเทฺวษ; ป. วิทฺเทส).
  39. วิเทศสัมพันธ์ : [วิเทด] น. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ.
  40. วินาศภัย : [วินาดสะไพ] (กฎ) น. ความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาที่ พึงประมาณเป็นเงินได้ และหมายความรวมถึงความสูญเสียในสิทธิ ผลประโยชน์หรือรายได้ด้วย.
  41. วินาศ, วินาศ : [วินาด, วินาดสะ] น. ความฉิบหาย. (ส.).
  42. วินาศสันตะโร : [วินาด] (ปาก) ว. ความเสียหายป่นปี้ เช่น รถชนกันวินาศสันตะโร.
  43. วิบัติ : น. พิบัติ, ความฉิบหาย, ความหายนะ, ความเป็นอัปมงคล, เช่น ทรัพย์สมบัติวิบัติ; ความเคลื่อนคลาด, ความผิด, เช่น อักขราวิบัติ. ก. ฉิบหาย เช่น ขอจงวิบัติทันตาเห็น. (ป., ส. วิปตฺติ).
  44. วิปฏิสาร, วิประติสาร : [วิบปะติสาน, วิปฺระ] น. ความเดือดร้อน, ความร้อนใจ, (ภายหลังที่ได้กระทําผิด หรือเนื่องด้วยการกระทําผิด). (ป. วิปฺปฏิสาร; ส. วิปฺรติสาร).
  45. วิปโยค, วิประโยค : [วิบปะโยก, วิปฺระโยก] น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  46. วิปัสสนา : [วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็น แจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).
  47. วิภว : [พะวะ] น. ความเจริญ; สมบัติ; ความไม่มีไม่เป็น. (ป., ส.).
  48. วิภวตัณหา : น. ความปรารถนาในความไม่มีไม่เป็น. (ป.).
  49. วิภา : น. รัศมี, แสงสว่าง, ความแจ่มแจ้ง, ความสุกใส, ความงดงาม. (ป., ส.).
  50. วิมังสา : น. การสอบสวน, ความไตร่ตรอง, ความพิจารณา. (ป. วีมํสา; ส. มีมําสา).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | [2351-2400] | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.0930 sec)