Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 1901-1950
  1. ไม่เอาการเอางาน, ไม่เอางานเอาการ : ก. ไม่ตั้งใจทำการงานด้วยความขยันขันแข็ง.
  2. ยกตัวขึ้นเหนือลม : (สํา) ก. ปัดความผิดให้พ้นตัว, ยกตัวเองให้พ้นผิด, ยกตนเหนือคนอื่น.
  3. ยกยอ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, พูดส่งเสริมให้ดีขึ้น; ยกย่องเกินความจริง.
  4. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  5. ยถาภูตญาณ : [ยะถาพูตะ] น. ความรู้ตามความเป็นจริง. (ป.; ส. ยถาภูต + ชฺ?าน).
  6. ย่นย่อ : ว. ทําให้สั้น เช่น กล่าวโดยย่นย่อพอได้ความ; ท้อถอย เช่น อย่าได้ย่นย่อ; ย่อย่น ก็ว่า.
  7. ยมก : [ยะมก] น. คู่, แฝด, ๒ ชั้น; เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ ว่า ไม้ยมก สําหรับ อ่านซํ้าความหรือซํ้าคําข้างหน้า ๒ หน. (ป., ส.).
  8. ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
  9. ยโส : ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ.
  10. ย่อ : ก. ยอบลง เช่น ย่อตัว ย่อเข่า, ลดให้สั้นหรือเล็กลง เช่น ย่อความ ย่อส่วน; ทำให้ยุบเข้าไป, ทำให้จมลึกเข้าไป, เช่น ย่อเก็จ ย่อมุม.
  11. ยองใย : น. เส้นใย (แห่งแมงมุม). ว. ผุดผ่องเป็นนํ้านวล เช่น ผิวนวล เป็นยองใย; ใช้เป็นคําเปรียบเทียบว่ามีขนาดเล็กเท่าใยแมงมุม เช่น ไม่มี ความผิดแม้เท่ายองใย.
  12. ย่อหน้า : ก. เขียนหรือพิมพ์หนังสือขึ้นบรรทัดใหม่และร่นจากแนวซ้าย สุดเข้าไปพอสมควร เพื่อแสดงว่าขึ้นความตอนใหม่. น. ข้อความตอน ย่อย ๆ ที่แยกออกจากกันด้วยวิธีเขียนย่อหน้า; ในกฎหมายเรียกย่อหน้า ว่า วรรค เช่น มาตรา ๕ วรรค ๒.
  13. ยะ ๑ : คําประกอบข้างหน้าคําที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียว กับคําเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย.
  14. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  15. ยัก ๒ : (ปาก) ว. คําประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.
  16. ยักยอก : ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดย ทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบัง เอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความ ครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.
  17. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  18. ยั่งยืน : ก. ยืนยง, อยู่นาน, เช่น ขอให้มีความสุขยั่งยืน, คงทน เช่น สังขารไม่จีรัง ยั่งยืน เจดีย์นี้มีอายุยั่งยืนมาได้ ๗๐๐ ปีแล้ว.
  19. ยัฐิ ๒ : [ยัดถิ] น. ชื่อมาตราวัดความยาวของอินเดียโบราณ เท่ากับ ๑ วา ๑ ศอก, ๒๐ ยัฐิ เป็น ๑ อุสภ.
  20. ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
  21. ยัดข้อหา : ก. ยัดความผิดให้แล้วตั้งข้อหา.
  22. ยับ ๒ : ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหาย มาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
  23. ยั่วยวน : ก. ทําให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิดความใคร่.
  24. ยัวะ : (ปาก) ก. เดือดดาล เช่น ชักยัวะแล้วนะ. ว. ที่ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความ รุ่มร้อนใจ เช่น แต่งตัวยัวะ รูปร่างยัวะ.
  25. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  26. ยาก : น. ความลําบาก. ว. ลําบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส.
  27. ยากเย็น : ว. ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น.
  28. ย่างกราย : ก. เหยียบย่าง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ย่างกรายไป ไหนเลย เขาไม่ได้ย่างกรายมาเลย.
  29. ย่างเยื้อง : ก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี, เยื้องย่าง ก็ว่า.
  30. ยางอาย : น. ความกระดาก, ความละอายใจ, มักใช้ในประโยคปฏิเสธว่า ไม่มียางอาย.
  31. ยาตนา : [ตะนา] น. ความเจ็บปวด, การทรมาน. (ป., ส.).
  32. ยาวบั่น สั้นต่อ : (สํา) ก. รักจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ ให้ตัดความคิดอาฆาต พยาบาทออกไป รักจะอยู่กันสั้น ๆ ให้คิดอาฆาตพยาบาทเข้าไว้, รักยาว ให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ก็ว่า.
  33. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  34. ยาไส้ : (ปาก) ก. ประทังความหิว.
  35. ยาไส้ : (ปาก) ก. ประทังความหิว เช่น หากินไม่พอยาไส้.
  36. ยำเกรง : ก. เกรงกลัวเพราะความเคารพนับถือ, ยําเยง ก็ว่า.
  37. ยิงเป้า : ก. ต้องโทษโดยยิงให้ตายเพราะความผิดร้ายแรง.
  38. ยิ่งยวด : ว. เยี่ยมที่สุด เช่น มีความสามารถอย่างยิ่งยวด, มากที่สุด เช่น ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด, ยวดยิ่ง ก็ว่า.
  39. ยิ่งใหญ่ : ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความ สามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  40. ยิ้มกริ่ม : ก. ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความกระหยิ่มใจหรือพอใจ, กระหยิ่มยิ้มย่อง.
  41. ยิ้มแต้ : ก. ยิ้มอย่างเปิดเผยด้วยความยินดีหรือดีใจมาก.
  42. ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ : ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ.
  43. ยิ้มย่อง, ยิ้มย่องผ่องใส : ก. ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า.
  44. ยี่หระ : (ปาก) ก. สะทกสะท้าน, ไยดี, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เห็นยี่หระ.
  45. ยึดหัวหาด : ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อ สะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคล สำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
  46. ยืดอก : ก. เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น.
  47. ยืนกระต่ายสามขา : (สํา) ก. พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิด เดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.
  48. ยืนกราน : ก. ยืนคําอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็น เป็นอื่น).
  49. ยืนยัน : ก. พูดคงคําโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดย แน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนง โดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คําเดียวก็มี.
  50. ยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นําของของผู้อื่นมาใช้เป็นของตน เช่น ยืมคําในภาษาบาลีมาใช้ ยืม วัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ยืมความคิด; (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลข ตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนํามาลบ ให้นําเลขจากหลักสูงถัดไป มาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ขอยืม ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | [1901-1950] | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.0578 sec)