Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเฉลียวฉลาด, เฉลียว, ฉลาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเฉลียวฉลาด, 3325 found, display 2751-2800
  1. หน้าถอดสี : ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือด หรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า.
  2. หน้าที่ : น. กิจที่จะต้องทําด้วยความรับผิดชอบ.
  3. หน้านิ่วคิ้วขมวด : ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น.
  4. หน้าเนื้อใจเสือ : (สํา) ว. มีหน้าตาแสดงความเมตตา แต่ใจเหี้ยมโหด.
  5. หน้าบาง : ว. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งที่น่าละอาย.
  6. หน้าป๋อหลอ : ว. อาการที่นั่งให้เห็นหน้าโดยมิได้มีความสลักสำคัญอะไร.
  7. หน้าเผือด, หน้าเผือดสี : น. หน้าไม่มีสีเลือด. ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวัง หรือตกใจเป็นต้น, หน้าถอดสี ก็ว่า.
  8. หน้าพาทย์แผลง : [-แผฺลง] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่บอกแผลงไปจากชื่อ เดิม ทำให้ผู้บรรเลงปี่พาทย์ต้องใช้ความคิดว่าจะบรรเลงเพลงใด เช่น เพลงนางพญาดำเนิน หมายถึง เพลงช้า เพลงแม่ลูกอ่อนไปตลาด หมายถึง เพลงเร็ว เพลงไม่ได้ไม่เสีย หมายถึง เพลงเสมอ.
  9. หน้าม้าน : ว. มีสีหน้าเผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคน.
  10. หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
  11. หน้ายุ่ง : ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้ จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.
  12. หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
  13. หน้าสลด : น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.
  14. หน้าแหก : (ปาก) ว. อาการที่ต้องได้รับความอับอายขายหน้าอย่างยิ่งเพราะ ผิดหวังอย่างมากหรือเพราะถูกโต้ถูกย้อนกลับมาอย่างเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น.
  15. หน้าแหง : [-แหฺง] น. หน้าแสดงความเก้อหรือจนปัญญา.
  16. หน้าแห้ง : ว. มีสีหน้าไม่แจ่มใสเพราะความทุกข์เช่นผิดหวัง.
  17. หนำ : ว. มากพอกับความต้องการ เช่น อิ่มหนำสำราญ.
  18. หนี้เกลื่อนกลืนกัน : (กฎ) น. หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุที่สิทธิและความ รับผิดในหนี้นั้นตกอยู่แก่บุคคลคนเดียวกัน.
  19. หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
  20. หนุ่ม : น. ชายที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปี. ว. เรียกชาย ที่ยังดูไม่แก่ตามวัย เช่น ดูยังหนุ่มอยู่.
  21. หนู ๒ : (ปาก) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คําสําหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย.
  22. หมกไหม้ : ว. ร้อนระอุ เช่น ตกนรกหมกไหม้, มีความทุกข์มาก เช่น หัวอกหมกไหม้.
  23. หมดกัน : คําออกเสียงแสดงความเสียดายหรือผิดหวังเป็นต้น.
  24. หมดจด : ว. สะอาด, ผ่องใส, เช่น เขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาดหมดจด; ไม่มีตําหนิ, ไม่ด่างพร้อย, เช่น เขามีความประพฤติหมดจด.
  25. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  26. หมดพุง, หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้สิ้นพุง ก็ว่า.
  27. หมดราคีคาว : ว. ไม่มีความมัวหมองทางชู้สาว (มักใช้แก่ผู้หญิง).
  28. หมดสติ : ก. สิ้นสติ, ไม่มีความรู้สึก, สลบ.
  29. หมดไส้หมดพุง : ว. หมดความรู้ เช่น ครูสอนศิษย์จนหมดพุง; อาการที่ เปิดเผยโดยมิได้ปิดบังอำพราง เช่น สารภาพจนหมดไส้หมดพุง, สิ้นไส้ สิ้นพุง ก็ว่า.
  30. หมดหวัง : ก. ไม่มีความหวังเหลืออยู่เลย, สิ้นหวัง ก็ว่า.
  31. หมดอาลัย : ก. ไม่มีใจผูกพัน; ไม่มีความหวังเช่น หมดอาลัยในชีวิต.
  32. หมดอาลัยตายอยาก : ก. ทอดอาลัยเพราะไม่มีความหวังใด ๆ เหลืออยู่.
  33. หมวกนิรภัย : น. หมวกสำหรับสวมป้องกันหรือลดอันตรายเมื่อศีรษะ ได้รับความกระทบกระเทือนเป็นต้น, (ปาก) หมวกกันน็อก.
  34. หมอ ๒ : (ปาก) ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เรียกเด็กด้วยความเอ็นดูว่า หมอนั่น หมอนี่, ใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ เรียกผู้ใหญ่ด้วยความหมั่นไส้เป็นต้น, (ใช้แก่ผู้ชาย), เช่น อย่าไปฟังหมอนะ, บางทีก็ใช้ว่า อ้ายหมอนั่น อ้าย หมอนี่ หรือ เจ้าหมอนั่น เจ้าหมอนี่.
  35. หมอ ๓ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Anabas testudineus ในวงศ์ Anabantidae ลําตัวป้อม แบนข้าง ท้องกลม คอดหางกว้าง หัวโต ปากซึ่งอยู่ปลายสุดของหัวกว้าง และเชิดขึ้นเล็กน้อย ยืดหดไม่ได้ ฟันเล็กแต่แข็งแรง เกล็ดแข็ง ขอบเป็นจัก คล้ายหนามยึดแน่นกับหนังและคลุมตลอดทั้งลําตัวและหัว กระดูกแผ่น ปิดเหงือกหยักเป็นหนาม ใช้แถกเพื่อช่วยยึดยันให้เคลื่อนไปบนบกได้ดี ขอบครีบต่าง ๆ กลม ลําตัวและครีบมีสีดําคลํ้า ส่วนปลาขนาดเล็กมีสีจาง กว่าและมีลายบั้งพาดลําตัวเป็น ระยะ ๆ อาศัยอยู่ในแหล่งนํ้าแทบทุก ประเภท พบขึ้นมาบนบกในฤดูฝนเสมอ ซึ่งเป็นธรรมชาติการย้ายถิ่น ที่อยู่อาศัยแบบหนึ่ง และยังแสดงให้เห็นความสามารถในการหายใจใน ที่ดอนได้อีกด้วยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, หมอไทย หรือ สะเด็ด ก็เรียก, อีสานเรียก เข็ง.
  36. หม้อเกลือ : น. หม้อตาลใส่เกลือเม็ด ใช้สำหรับตั้งไฟให้ร้อน นำมาห่อหรือ พันด้วยใบพลับพลึง ใช้นาบท้องและตามตัวหญิงแรกคลอดบุตร เพื่อคลาย ความเมื่อยตึงตัวเป็นต้น.
  37. หมอขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์ และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
  38. หมอแคน : น. ผู้มีความชำนาญในการเป่าแคน, อีสานเรียก ช่างแคน.
  39. หมองหมาง : ว. ไม่ผ่องใสเพราะมีความขุ่นเคืองใจ.
  40. หมองู : น. ผู้มีความชำนาญในการจับงูเห่ามาเลี้ยงเพื่อนำไปแสดง.
  41. หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
  42. หมอเฒ่า : น. ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอขวัญ ก็เรียก.
  43. หมอนวด : น. ผู้มีความชำนาญในการนวดเพื่อให้คลายจากความเจ็บปวด หรือเมื่อยขบ.
  44. หม้อน้ำ : น. หม้อโลหะขนาดใหญ่ ใช้ต้มนํ้าทําให้เกิดไอนํ้าเดือดที่มีแรงดัน สูงเพื่อหมุนเครื่องจักรเป็นต้น; อุปกรณ์ของเครื่องยนต์บางชนิด สําหรับ บรรจุนํ้าเพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์.
  45. หมอยา : (ปาก) น. ผู้มีความรู้ในการใช้ยารักษาโรค.
  46. หมั้น : ก. มอบสิ่งของให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความมั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย. น. (กฎ) การที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้ แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้น ตกเป็นสิทธิแก่หญิง; เรียกของที่มอบให้นั้นว่า ของหมั้น, ถ้าเป็นทอง เรียกว่า ทองหมั้น, ถ้าเป็นแหวน เรียกว่า แหวนหมั้น, ผู้ที่หมั้นกันแล้ว เรียกว่า คู่หมั้น.
  47. หมาขี้เรื้อน : (สำ) น. คนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วย (ใช้กล่าว ถึงผู้อื่นด้วยความดูถูกเหยียดหยาม).
  48. หมาถูกน้ำร้อน : (สำ) น. คนที่มีความเดือดร้อน กระวนกระวาย วิ่งพล่าน ไปหาที่พึ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนหมาที่ถูกน้ำร้อนลวก ร้องเสียงดังวิ่งพล่าน ไปด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย.
  49. หมายความว่า : ก. ตีความว่า, แปลความว่า.
  50. หมายตา : ก. มองไว้ด้วยความมั่นหมาย, มั่นหมายใจไว้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | [2751-2800] | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3325

(0.1196 sec)