Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 1251-1300
  1. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  2. สา ๔ : สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
  3. สากิย, สากิยะ : น. ชื่อวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในเมืองกบิลพัสดุ์ เรียกว่า ศากยวงศ์ หรือ สากิยวงศ์, เรียกกษัตริย์ในวงศ์นี้ว่า ศากยะ หรือ สากิยะ, ถ้าเพศหญิง ใช้ว่า สากิยา หรือ สากิยานี. (ป.; ส. ศากฺย).
  4. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  5. หย-, หัย : [หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).
  6. หยำเหยอะ, หยำแหยะ : [หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูด ซ้ำซากน่าเบื่อ.
  7. หฤทัย, หฤทัย- : [หะรึไท, หะรึไทยะ-] น. หัวใจ, ใจ. (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  8. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  9. หายนะ ๒ : [หายะนะ] น. ปี. (ป., ส.).
  10. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  11. หิรัญบัฏ : [หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทาน แก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.
  12. หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
  13. หิรัณยการ : [หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).
  14. หิรัณยเกศ : [หิรันยะเกด] ว. มีผมสีทอง. (ส.).
  15. หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
  16. หิรัณย-, หิรัณย์ : [หิรันยะ-, หิรัน] น. ทองคํา, เงิน. (ส.).
  17. เหยาะแหยะ : [-แหฺยะ] ว. ย่อหย่อน, ทําเป็นเล่น, ไม่เอาจริงเอาจัง, เช่น ทำงานเหยาะแหยะ.
  18. แหยะ, แหยะ ๆ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
  19. โหรดาจารย์ : [โหระ-] น. พราหมณ์พวกหนึ่งมีหน้าที่สวดสดุดีและอาราธนาเทพต่าง ๆ ให้มาร่วมในพิธีบูชาบวงสรวง. (ส. โหตฺฤ + อาจารฺย).
  20. อจินไตย : [จินไต] ว. ที่พ้นความคิด, ไม่ควรคิด, (สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ ๔ อย่างด้วยกัน คือ พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑). (ป. อจินฺเตยฺย; ส. อจินฺตฺย).
  21. อดุล, อดุลย, อดุลย์ : [อะดุน, อะดุนละยะ, อะดุน] ว. ชั่งไม่ได้, ไม่มีอะไรเปรียบ, ไม่มีอะไรเท่า. (ป., ส. อตุล, อตุลฺย).
  22. อธิปไตย : [อะทิปะไต, อะทิบปะไต] น. อํานาจสูงสุดของรัฐที่ จะใช้บังคับบัญชาภายในอาณาเขตของตน. (ป. อธิปเตยฺย ว่า ความเป็นใหญ่ยิ่ง). (อ. sovereignty).
  23. อนัญคติ : [อะนันยะคะติ] น. หนทางเดียว; ความจําเป็น. (ป. อน?ฺ?คติ).
  24. อนัญสาธารณ์ : [อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อน?ฺ?สาธารณ).
  25. อนัญ, อนัญ : [อะนัน, อะนันยะ] ว. ไม่ใช่อื่น. (ป. อน?ฺ?).
  26. อนิจ, อนิจ : [อะนิด, อะนิดจะ] ว. ไม่ยั่งยืน, ไม่เที่ยง, ชั่วคราว, ไม่แน่นอน. (ป. อนิจฺจ; ส. อนิตฺย).
  27. อนิยม, อนิยม : [อะนิยม, อะนิยะมะ] ว. ไม่มีกําหนด, ไม่ต้องด้วยกฎหรือแบบแผน, ไม่แน่นอน, นอกแบบ. (ป., ส.).
  28. อบายภูมิ : [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
  29. อบายมุข : [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความ ฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทําการงาน. (ป.).
  30. อบาย, อบาย : [อะบาย, อะบายยะ] น. ที่ที่ปราศจากความเจริญ; ความฉิบหาย. (ป.).
  31. อปจายน : [อะปะจายะนะ] น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม. (ป., ส.).
  32. อประไมย, อัประไมย : [อะปฺระไม, อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  33. อภัพ, อภัพ : [อะพับ, อะพับพะ] ว. ไม่สมควร, เป็นไปไม่ได้. (ป. อภพฺพ; ส. อภวฺย).
  34. อภัยทาน : [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน. ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).
  35. อภัยโทษ : [อะไพยะโทด] (กฎ) ก. ยกโทษหรือเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา หรือลดโทษให้แก่ผู้ต้องคำพิพากษาให้ต้องรับโทษทางอาญาเมื่อคดี ถึงที่สุดแล้ว เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ.
  36. อภัย, อภัย : [อะไพ, อะไพยะ] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษ ให้ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้. ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
  37. อภิชนาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่งที่มีอภิชนเป็นใหญ่. (ป. อภิ + ชน + อธิปเตยฺย). (อ. aristocracy).
  38. อยน : [อะยะนะ] น. ทาง, ถนน, ที่ไป, ที่เดิน; การไป, การถึง. (ป., ส.).
  39. อย, อยัส : [อะยะ, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
  40. อรัณย์ : น. ป่า. (ส. อรณฺย; ป. อร?ฺ?).
  41. อริยกะ : [อะริยะ] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของชาวอินเดียบางพวก ชาวอิหร่าน และชาวยุโรปบางพวก, อารยัน ก็ว่า. (ป.).
  42. อริย, อริยะ : [อะริยะ] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  43. อรูป, อรูป : [อะรูบ, อะรูบปะ] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.). อรูปฌาน [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
  44. อวยวะ, อวัยวะ : [อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ใน บทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).
  45. อสงไขย : [อะสงไข] ว. มากจนนับไม่ถ้วน. น. ชื่อมาตรานับจํานวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกําลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย).
  46. อสัญ : [อะสันยะ] ว. ไม่รู้สึกตัว, สิ้นสติ. (ป. อส?ฺ?).
  47. อสัญแดหวา : [อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบท ละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และ สิงหัดส่าหรี. (ช.).
  48. อัจฉริย, อัจฉริยะ : [อัดฉะริยะ] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่า ระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).
  49. อัญประกาศ : [อันยะ] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ '' '' สําหรับเขียนคร่อมคํา หรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคําพูด หรือเพื่อเน้นความนั้น ให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น.
  50. อัญมัญ : [อันยะมันยะ] ว. ซึ่งกันและกัน, แก่กันและกัน, ของกันและกัน, เช่น เป็นอัญมัญปัจจัย คือ เป็นปัจจัยของกันและกัน. (ป. อ?ฺ?มญฺ?).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | [1251-1300] | 1301-1330

(0.1149 sec)