Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยา, 1330 found, display 601-650
  1. มะขาม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทํายาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน.
  2. มะขามป้อม : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Phyllanthus emblica L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทํายาได้.
  3. มะเขือ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้คือ ชนิด S. melongena L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้, มะเขือยาว [S. melongena L. var. serpentinum (Desf.) Bailey] ผลยาว มีหลายสี, ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (S. aculeatissimum Jacq.) รากใช้ทํายาได้.
  4. มะคังแดง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gardenia erythroclada Kurz ในวงศ์ Rubiaceae ลําต้นมีหนาม เปลือกสีแดง ใช้ทํายาได้.
  5. มะดัน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia schomburgkiana Pierre ในวงศ์ Guttiferae ผลสีเขียว รสเปรี้ยวจัด กิ่งอ่อนใช้ทํายาได้เรียก รกมะดัน.
  6. มะตูม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการ มงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์ หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
  7. มะไฟเดือนห้า : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Excoecaria oppositifolia Griff. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้ ยางเป็นพิษ.
  8. มะแว้ง : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด S. sanitwongsei Craib, ที่เป็น เถาเรียก มะแว้งเครือ (S. trilobatum L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวง กินได้ และใช้ทํายาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.
  9. มะหาด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Artocarpus วงศ์ Moraceae เช่น ชนิด A. lakoocha Roxb. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามาก รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทํายาได้.
  10. มังกุ ๑ : น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.
  11. มังคุด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia mangostana L. ในวงศ์ Guttiferae ผลกลม เมื่อแก่สีแดงคลํ้า เปลือกมีรสฝาดใช้ทํายาได้ เนื้อในขาว รสหวานอมเปรี้ยว.
  12. มัมมี่ : น. ศพอาบนํ้ายากันเน่าเปื่อยของชาวอียิปต์โบราณ. (อ. mummy).
  13. มัศยา : [มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).
  14. มารยา : [มานยา] น. การลวง, การแสร้งทํา, เล่ห์กล, เช่น เจ้ามารยา มารยามาก ทำมารยา. (แผลงมาจากมายา).
  15. มารยา : [-ระยาด] น. มรรยาท, กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ. (ส. มรฺยาทา; ป. มริยาท).
  16. มิจฉา : [มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).
  17. มิด : ว. อาการที่ลับหายไปหรือทำให้ลับหายไปจนหมดสิ้นอย่างปิดมิด จมมิด บังมิดเป็นต้น, สนิท เช่น ปิดประตูให้มิด; ใช้เป็นกริยาหมายถึง อาการอย่างนั้น เช่น มิดนํ้า มิดหัว.
  18. มิถยา : [มิดถะหฺยา] ว. มิจฉา. (ส. มิถฺยา; ป. มิจฺฉา).
  19. มือ ๒ : น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing. ในวงศ์ Rutaceae ซึ่งส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทํายาดมได้ เรียกว่า ส้มมือ.
  20. มูลจิต : [มูนละ-] น. ชื่อยาแก้ลมซางชนิดหนึ่ง.
  21. เมนทอล : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C10H20O ลักษณะเป็นผลึกสีขาว หลอมละลายที่ ๔๒?ซ. มีกลิ่นหอมเย็น มีอยู่ในนํ้ามันหอมระเหยที่ได้จาก พืชบางชนิด เช่น นํ้ามันมินต์ซึ่งสกัดจากใบมินต์ ใช้ประโยชน์ในทางยา ปรุงกลิ่นและปรุงรส. (อ. menthol).
  22. เมา : ก. เอาไปวางสุมไว้. ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.
  23. เม่า ๒ : น. เรียกปลวกในระยะที่มีปีก ซึ่งบินออกผสมพันธุ์กัน ลําตัวขนาดต่างกัน ยาวตั้งแต่ ๕ มิลลิเมตร ถึง ๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลําตัว ลักษณะ เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อหุบปีก ปีกจะแบนราบไปบนหลัง สลัดปีกได้ง่าย ลําตัวสีนํ้าตาล ว่า แมลงเม่า.
  24. แมงลัก : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ocimum americanum L. ในวงศ์ Labiatae ใบคล้ายใบโหระพาแต่มีขน ใบและเมล็ดกินได้และใช้ทํายาได้.
  25. แม่หินบด : น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา, คู่กับ ลูกหินบด.
  26. โมกใหญ่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม เปลือกใช้ทํายาได้, มวกใหญ่ หรือ มูกหลวง ก็เรียก.
  27. ไม้เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum petasites S. Moore ในวงศ์ Labitae ดอกสีขาว ใบใช้สูบแทนกัญชา รากใช้ทํายาได้, พญารากเดียว ก็เรียก.
  28. ยะ ๒ : ว. คําออกเสียงลงท้ายวลีหรือประโยค ถือว่าไม่สุภาพ เช่น ของกินนะยะ ของถวายพระนะยะ จะรีบไปไหนยะ.
  29. ยักกระสาย : (ปาก) ก. เปลี่ยนน้ำกระสายยาไปตามอาการของโรค, โดย ปริยายหมายความว่า เปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือวิธีอื่นแทน.
  30. ยักยี่ยักเหยา : [เหฺยา] ก. พูดเซ้าซี้จะเอาให้ได้.
  31. ยากวาด : น. ยาที่ใช้ป้ายในลำคอเด็กเล็ก ๆ แก้หละ ละออง ซาง.
  32. ยาง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลําต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง.
  33. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  34. ยาดา : น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตร ก็ดี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส. ยาตา).
  35. ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
  36. ยาแดง : น. ยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง; ยาผงชนิดหนึ่งสีแดงใช้ชง กินแก้ร้อนใน; ยาน้ำชนิดหนึ่งสีแดง สําหรับใส่แผลสด.
  37. ยาธาตุ : น. ยาคุมให้ท้องเป็นปรกติ.
  38. ย่านพาโหม : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยา ได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
  39. ย่านาง ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tiliacora triandra (Colebr.) Diels ในวงศ์ Menispermaceae ใช้ต้มหน่อไม้แก้รสขื่น รากใช้ทํายาได้, เถาวัลย์เขียว ก็เรียก.
  40. ยาแฝด : น. ยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียว.
  41. ยาม, ยา : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยายามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  42. ยาสั่ง : น. ยาพิษจําพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กําหนดหรือตามเวลาที่กําหนดไว้.
  43. ยาสูบ : น. ยาสำหรับสูบ มีทั้งที่เป็นมวนและที่เป็นเส้นสำหรับสูบกล้อง; (กฎ) บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง รวมตลอดถึงยาเคี้ยว ด้วย.
  44. ยาเส้น : น. ยาสูบชนิดหนึ่งที่หั่นใบยาเป็นเส้น ๆ หรือเป็นชิ้นเล็ก ๆ สําหรับมวนสูบหรือใส่กล้องสูบ; (กฎ) ใบของต้นยาสูบหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและแห้งแล้ว.
  45. ยาเส้นปรุง : (กฎ) น. ใบยาซึ่งมิใช่ใบยาพันธุ์ยาสูบพื้นเมืองหรือยาอัด ซึ่งได้หั่นเป็นเส้นและปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำ.
  46. ยาหมู่ : น. ยาที่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง มีแก่นไม้ เขี้ยวงา กระดูก เป็นต้น ใช้ฝนกินแก้ร้อนในและผิดสำแลง.
  47. ย่าหยา : [หฺยา] น. เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า.
  48. เยี่ยวอูฐ : น. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียม คาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้ อาการวิงเวียน.
  49. รกฟ้า : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex. Roth ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ ทํายาได้, กอง ก็เรียก.
  50. รง ๒ : น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยาง สีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยา และเขียนหนังสือหรือระบายสีรงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัว หนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | [601-650] | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1330

(0.1029 sec)