Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 1051-1100
  1. ถ่อมตัว : ก. แสดงฐานะหรือความรู้ความสามารถตํ่ากว่าที่เป็นจริง.
  2. ถ้อย : น. คําพูด, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ถ้อยคำ เจ้าถ้อยหมอความ เป็นถ้อยร้อยความ.
  3. ถั่งถ้อย : (กลอน) ก. พูดพลั่ง ๆ ออกมา, เบิกความ.
  4. ถัมภ์ : (แบบ) น. หลัก, เสา; ความดื้อ, ความกระด้าง. (ป.).
  5. ถ้า : สัน. คําแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก. ถ้าว่า, ถ้าหากว่า สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
  6. ถามค้าน : (กฎ) ก. การที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซักถามพยาน เมื่อคู่ความ ฝ่ายที่อ้างพยานได้ซักถามพยานเสร็จแล้ว, ซักค้าน ก็ใช้.
  7. ถามติง : (กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
  8. ถามปากคำ : (กฎ) ก. ซักถามเพื่อให้บุคคลให้การ โดยพนักงาน สอบสวนหรือพนักงานอัยการ เช่น ถามปากคําพยาน ถามปากคํา ผู้ต้องหา, (ปาก) สอบปากคํา.
  9. ถีน : [ถีนะ] (แบบ) น. ความง่วงเหงา, ความคร้านกาย. (ป.).
  10. ถึง : ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง; รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก; โดยปริยาย หมายความว่า เท่าทัน, ทัดเทียม, เช่น เขาถึงกัน มีความรู้ไม่ถึง ฝีมือไม่ถึง. ว. มากพอ เช่น ถึงเกลือ ถึงนํ้าตาล ถึงเครื่อง. บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่นไปถึงบ้าน; จนกระทั่ง เช่น ถึงนํ้าตาตก ถึงลุกไม่ขึ้น, ถึงแก่ ถึงกับ ถึงกะ ก็ว่า; ใช้เป็นคําจ่าหน้าในจดหมายระบุตัวผู้รับ. สัน. แม้ เช่น ถึงเขาจะเป็นเด็ก เขาก็มีความคิด; (ปาก) จึงเช่น ทําอย่างนี้ถึงจะดี.
  11. ถึงว่า : (ปาก) คํากล่าวแสดงความคล้อยตาม เช่น คนหนึ่งพูดด้วยความ แปลกใจว่า ไม่นึกเลยว่าเขาจะเป็นคนเกะกะ'' อีกคนหนึ่งก็คล้อยตามว่า ''ถึงว่าซี''.
  12. ถือผิว : ก. ถือว่าเป็นคนละเชื้อชาติ (โดยเฉพาะใช้แก่พวกผิวขาวที่มี ความรู้สึกรังเกียจพวกผิวดํา).
  13. ถือศีล : ก. รักษาศีล.
  14. ถูก ๑ : ก. โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น ถูกเนื้อถูกตัว; เหมาะกัน, เข้ากัน, เช่น ถูกนิสัย; ตรงกันกับ เช่น ถูกกฎหมาย ถูกลอตเตอรี่; เป็นกริยาช่วย แสดงว่าประธานของประโยคเป็นผู้ถูกทํา (มักใช้ในข้อความที่ทําให้ ผู้ถูกทําเดือดร้อนหรือไม่พอใจ) เช่น ถูกเฆี่ยน ถูกลงโทษ.
  15. เถย- : [เถยยะ-] น. ความเป็นขโมย (มักใช้นําหน้าสมาส). (ป. เถยฺย).
  16. เถยจิต : น. จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย, จิตคิดขโมย. (ป. เถยฺยจิตฺต).
  17. เถยเจตนา : น. เจตนาในทางเป็นขโมย, ความตั้งใจจะขโมย. (ป. เถยฺยเจตนา).
  18. เถลือกถลน : [ถะเหฺลือกถะหฺลน] ว. ลุกลน, ลนลาน, รีบร้อนจนขาดความระมัดระวัง, ถลีถลํา ก็ว่า.
  19. เถอะ : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
  20. เถอะน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
  21. เถ้ารึง : น. กองเถ้าที่ไม่มีถ่านไฟ แต่ยังมีความร้อนระอุอยู่, เท่ารึง ก็ใช้.
  22. เถิด : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถิด มาเถิด กินเถิด, เถอะ ก็ว่า.
  23. เถิดน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถิดน่า, เถอะน่า ก็ว่า.
  24. เถียง ๑ : ก. พูดโต้, พูดแย้ง, พูดโต้แย้ง; ขัดกัน เช่น เรื่องนี้ความตอนต้นกับตอน ปลายเถียงกัน.
  25. เถื่อน : น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. ว. ห่างไกลจากที่อยู่ของคน, ห่างไกล จากความเจริญ, มักใช้ประกอบคํา ป่า เป็น ป่าเถื่อน; ไม่ถูกต้องตาม กฎหมาย เช่น เหล้าเถื่อน ฝิ่นเถื่อน ปืนเถื่อน หมอเถื่อน.
  26. โถ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.
  27. ไถย : [ไถยะ] น. ความเป็นขโมย เช่น ไถยจิต. (ป. เถยฺย).
  28. ทด : ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็น ตอบแทน, บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
  29. ทดสอบ : ก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบ เครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.
  30. ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  31. ทนายเรือน : (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
  32. ทยา ๑ : [ทะ-] (แบบ) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ. (ป., ส.).
  33. ทยาลุ, ทยาลุก : (แบบ) ว. มีความเอ็นดู, มีความสงสาร. (ป., ส.).
  34. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  35. ทรรป : [ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).
  36. ทรรศนะ : [ทัดสะนะ] น. ความเห็น, การเห็น, เครื่องรู้เห็น, สิ่งที่เห็น, การแสดง, ทัศนะ ก็ใช้. (ส. ทรฺศน; ป. ทสฺสน).
  37. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  38. ทรเหล : [ทอระเหน] (กลอน) น. ความลําบากในการเดินทางไป เช่น เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  39. ทราบ : [ซาบ] ก. รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว เรียนมาเพื่อทราบ.
  40. ทฤษฎี : [ทฺริดสะดี] น. ความเห็น; การเห็น, การเห็นด้วยใจ; ลักษณะที่คิดคาด เอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์ หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ. (ส.; ป. ทิฏฺ??). (อ. theory).
  41. ทลาย : [ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทําให้พัง เช่น กําแพงทลาย ทลายกําแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.
  42. ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
  43. ท้องขาว ๒ : น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด Rattus rattus ในวงศ์ Muridae ตัวสี นํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือ ดําพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดํายาวไล่เลี่ย กับความยาวของส่วนหัวและลําตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย.
  44. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  45. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  46. ทองแดง ๑ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓?ซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็น แผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้า ได้ดี. (อ. copper).
  47. ท้องที่ : น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัด ท้องที่อําเภอ ท้องที่ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ ภายในเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่ในเขตอํานาจของ พนักงานสอบสวนหรือศาล.
  48. ทองหมั้น : น. ทองคําที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ฝ่ายหญิง แสดงความ มั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  49. ทอดสนิท : ก. ผูกไมตรี, สร้างความสัมพันธ์, เช่น ซื้อของ มาฝากบ่อย ๆ เพื่อทอดสนิทให้เขารัก.
  50. ทอดสะพาน : ก. ใช้สื่อสายเข้าไปติดต่อทําความสนิทสนมกับผู้ที่ ต้องการคุ้นเคย, แสดงกิริยาท่าทางเป็นทํานองอยากติดต่อด้วย.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | [1051-1100] | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.1884 sec)