Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 451-500
  1. ขยับเขยื้อน : [-ขะเยื่อน] ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ใน ความปฏิเสธ).
  2. ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
  3. ขยุกขยิก : [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดง ถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
  4. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  5. ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
  6. ขวาด ๒ : [ขฺวาด] ว. วุ่น, ยุ่ง, เช่น มันจะมาเตือนตั้งก่อความขวาด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  7. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  8. ข้อไข : น. ข้อเฉลย, ข้ออธิบายขยายความ.
  9. ข้อความ : น. เนื้อความตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง.
  10. ข้อคัดย่อ : น. ข้อความที่ย่อแต่ใจความสําคัญ, บทคัดย่อ ก็ว่า. (อ. abstract).
  11. ข้อคิดเห็น : น. ความเห็น.
  12. ข้องแวะ : ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยค ที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
  13. ของสด : น. ของที่มิได้สุกด้วยความร้อน.
  14. ของไหว้ : น. ของที่ผู้น้อยนําไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะ ในบางโอกาส; เครื่องเซ่น.
  15. ขอนิสัย : ก. ขอฝากตัวอยู่ในความปกครองของพระอุปัชฌาย์ (ใช้แก่ กุลบุตรในเวลาอุปสมบท).
  16. ขอบ ๒ : ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายใน สองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
  17. ขอบข่าย : น. ขอบเขตงานหรือความรู้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ.
  18. ขอบคุณ, ขอบพระคุณ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคําที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่).
  19. ขอบใจ : คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคํา ที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).
  20. ขอบไร : (โบ) น. ใช้โดยปริยายว่า ความรอบคอบ, ความทั่วถึง.
  21. ขอยืม : ก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้นมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้ หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษา บาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการ ลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจาก หลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ใน ที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
  22. ขอรับกระผม, ขอรับผม : คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่).
  23. ข้อสอบ : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นในการสอบความรู้.
  24. ข้อหา : น. คํากล่าวโทษ; (กฎ) คํากล่าวหาบุคคลว่าได้กระทําความผิด อาญา; คํากล่าวหาเกี่ยวกับข้อโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลใน ทางแพ่ง.
  25. ข้ออ้าง : น. สิ่งที่นํามาอ้างสนับสนุนความคิดเห็นหรือการกระทําของตน.
  26. ขันติ, ขันตี : น. ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ, ความอดทน. (ป. ขนฺติ = ความอดทน เป็นบารมี ๑ ในบารมี ๑๐.
  27. ขัย : [ไข] น. ความสิ้นไป, เขตอายุของคนที่นิยมกันว่าสูงสุด เรียกว่า อายุขัย. (ป. ขย; ส. กฺษย).
  28. ขาก ๒ : (โบ) ก. ภูมิใจ เช่น ความยินลากขากดีจะมีไหน. (อภัย). (ไทยใหญ่).
  29. ขาดน้ำใจ : ก. ไม่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่.
  30. ข้าพระ : (โบ) น. ผู้ที่นายเงินทำหนังสือสำคัญยกให้เป็นคนใช้ของสงฆ์, คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์ เพื่อรักษาวัดและ ปฏิบัติพระสงฆ์.
  31. ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า : (สํา) ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและ ความลําบากต่าง ๆ กว่าจะได้ผลสําเร็จ.
  32. ข่ายงาน : น. วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลและประสานกัน.
  33. ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
  34. ขายทอดตลาด : (กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทําโดยเปิดเผยแก่บุคคล ทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอด ตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีต ประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.
  35. ขายผ้าเอาหน้ารอด : (สํา) ก. ยอมเสียสละแม้แต่ของจําเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทําให้สําเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียง ของตนไว้.
  36. ข้าราชการอัยการ : (กฎ) น. ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการ ดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงาน อัยการ, ถ้ารวมถึงข้าราชการธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการ. (ดู อัยการ).
  37. ข้าวนึ่ง : น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบ ด้วยความร้อนแล้ว; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ข้าวเหนียวนึ่ง.
  38. ข่าวพาดหัว : น. ข่าวสําคัญที่นํามาพิมพ์เป็นหัวเรื่องในหน้าแรกของ หนังสือพิมพ์ด้วยอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความสนใจ.
  39. ขำ ๒ : น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัย ไม่ควรเปิดเผย เช่น แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกาย เข้าไปให้ใกล้ชิด. (คาวี).
  40. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  41. ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ : (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา.
  42. ขีดขั้น : น. ระดับแห่งความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ขีดขั้นแห่งสติปัญญา.
  43. ขี้เท่อ : ว. ไม่คม, ไม่ฉลาด, เซ่อ. น. ความโง่ เช่น ขยายขี้เท่อ.
  44. ขี้หน้า : น. หน้า (ใช้ในความหมั่นไส้ รังเกียจ หรือ ดูหมิ่น) เช่น เกลียดขี้หน้า ขายขี้หน้า.
  45. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  46. ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  47. ขึ้นสนิม : ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
  48. ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  49. ขุก ๑ : ว. พลัน, ทันทีทันใด, เช่น ขุกเข็ญ ว่า เกิดความลําบากขึ้นทันที. ก. คิดขึ้นได้ทันที, เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วน, เช่น อาวุธอย่าวางไกล ขุกคํ่า คืนแฮ. (โลกนิติ).
  50. ขุนศาล : (โบ) น. ผู้พิพากษาความ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.0986 sec)