Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 251-300
  1. กระโจมอก : ก. นุ่งผ้าสูงปิดอก. ว. อาการที่นุ่งผ้าสูงปิดอก ในความว่า นุ่งผ้ากระโจมอก.
  2. กระฉอก : ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก.
  3. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  4. กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  5. กระซิบกระซาบ : ก. บอกความหรือคุยกันด้วยเสียงเบา ๆ เพื่อไม่ให้ผู้อื่นได้ยิน.
  6. กระซี้กระซ้อ : ว. อาการที่พูดสนิทชิดเชื้อเพื่อความเสน่หา.
  7. กระซุง : น. พนักงาน, ตําแหน่ง. (พจน). (เทียบ กระทรวง).
  8. กระดาก ๑ : ก. รู้สึกขวยเขิน, วางหน้าไม่สนิท, ตะขิดตะขวงใจไม่กล้าพูด หรือไม่กล้าทําเพราะเกรงจะได้รับความอับอาย.
  9. กระดานหก : น. เครื่องดักสัตว์อย่างหนึ่งทําด้วยไม้กระดาน หกได้; เครื่องเล่นสำหรับเด็กอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นไม้กระดาน ระหว่าง กึ่งกลางความยาวของไม้มีขาซึ่งตรึงติดกับแผ่นไม้ ผู้เล่นนั่งที่ปลายไม้ ทั้ง ๒ ข้างผลัดกันกระดกไม้กระดานให้ขึ้นลง.
  10. กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
  11. กระเดือกๆ : ว. กระเสือกกระสนไปด้วยความลำบาก เช่น ว่ายน้ำกระเดือก ๆ.
  12. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  13. กระโดดโลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหน เพราะความดีอกดีใจเป็นต้น.
  14. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  15. กระทงแถลง : (กฎ; เลิก) น. ส่วนสําคัญในสํานวนความที่เป็นประเด็น และที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
  16. กระทำโดยประมาท : (กฎ) ก. กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความ ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่.
  17. กระแท่น : ก. แทบถึง, ถึงทีเดียว, กระทั่ง, คําใช้ในบทร้องของเด็ก ในความว่า พายเรืออกแอ่นกระแท่นต้นกุ่ม, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระท่อน เป็น กระท่อนกระแท่น.
  18. กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
  19. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  20. กระเบื้องกาบกล้วย : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น กระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบน เพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและ แผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
  21. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  22. กระเป๋า ๒ : (ปาก) น. พนักงานเก็บค่าโดยสารรถหรือเรือประจำทาง.
  23. กระมัง ๑ : ว. คําแสดงความไม่แน่ใจ, คําแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอน ใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี.
  24. กระลัมพร : น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
  25. กระลำ : (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).
  26. กระลำพร : (โบ) น. กระลัมพร, โทษใหญ่, ความฉิบหาย. (ดู กลัมพร).
  27. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  28. กระเวยกระวาย : ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง.
  29. กระโวยกระวาย : ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความ ไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.
  30. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  31. กระเสือกกระสน : ว. ดิ้นรนเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากเป็นต้น.
  32. กระแส : ไม่ขาดสาย เช่น กระแสน้ำ กระแสลม, โดยปริยายหมายถึง อาการเช่นนั้น; เส้น, สาย, แนว, ทาง, เช่น กระแสความ กระแสความคิด; เส้นวัดที่ดินทำด้วยหวายหรือเหล็กเป็นต้น เรียกว่า เส้นกระแส. (เทียบ ข. แขฺส = เชือก).
  33. กระแสจิต : น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิด ที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกัน ระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้อง อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
  34. กระเหม่น : [-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).
  35. กระเหี้ยนกระหือรือ : ก. แสดงความกระตือรือล้นเอาจริงเอาจังอย่างออกนอกหน้า.
  36. กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
  37. กราดเกรี้ยว : ก. แสดงกิริยาท่าทางพร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเป็นต้น อย่างรุนแรงด้วยความโกรธ, เกรี้ยวกราด ก็ใช้.
  38. กราบ ๒ : [กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็น กราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบ ติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็น คําแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. กราบพระ (โบ) น. ผ้ากราบ.
  39. กราฟ : น. แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเป็นต้น เพื่อแสดงความ เปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลง ค่าของตัวแปรตัวอื่น; (คณิต) เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบ ตามที่กําหนดขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. (อ. graph).
  40. กริบ : [กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือ มีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและ แนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ;โดยปริยาย หมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
  41. กริยาวิเศษณ์ : (ไว) น. คําวิเศษณ์ใช้ประกอบคํากริยา หรือคําวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.
  42. กริยาวิเศษณ์วลี : (ไว) น. ท่อนความที่มีคํากริยาวิเศษณ์ ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี.
  43. กรี๊ด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องดังเช่นนั้นด้วยความตกใจหรือโกรธเป็นต้น.
  44. กรีดกราด : [-กฺราด] ว. อาการที่ร้องอุทานเพื่อเรียกร้อง ความสนใจเป็นต้น.
  45. กรี๊ดกร๊าด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องอุทานแสดงความพอใจเป็นต้น.
  46. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  47. กรีส : [กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ) มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน. (ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).
  48. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  49. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  50. กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.1043 sec)