Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 2651-2700
  1. เวช, เวช : [เวด, เวดชะ] น. หมอรักษาโรค. (ป. เวชฺช; ส. ไวทฺย).
  2. เวชศาสตร์ : [เวดชะสาด] น. ชื่อตํารารักษาโรคแผนโบราณ, วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา.
  3. เวทคู : [เวทะคู] น. ผู้บรรลุถึงซึ่งความรู้ คือ พระอรหันต์. (ป.).
  4. เวทนา ๑ : [เวทะ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).
  5. เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
  6. เวมัต : น. ความต่าง, ความแปลกไป. (ป. เวมตฺต).
  7. เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
  8. เวร ๑ : น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่น เวรย่อมระงับด้วยการ ไม่จองเวรคําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรม ของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).
  9. เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
  10. เวโรจน์ : น. ความรุ่งเรือง, ความสุกใส. (ป.; ส. ไวโรจน).
  11. เวสมะ : [เวสะ] น. ความไม่เสมอกัน. (ป. วิสม).
  12. เวสารัช : น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
  13. แวดล้อม : ก. เฝ้าระวังรักษาอยู่โดยรอบ เช่น ตำรวจแวดล้อมบุคคล สำคัญ ผู้มีอำนาจไปไหนก็มีมือปืนแวดล้อม; ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อมพอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม.
  14. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  15. แวม ๆ, แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด.
  16. แวว : ว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัด เสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็น ว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็น นักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัด เป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้ แกะสลักปิดทอง.
  17. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  18. โวทาน : น. การทําให้สะอาด; ความบริสุทธิ์. (ป.).
  19. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  20. โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
  21. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  22. ไว้เกียรติ : ก. รักษาเกียรติ, ให้เกียรติดำรงอยู่.
  23. ไว้ชื่อ : ก. แสดงความรู้ความสามารถเป็นการฝากชื่อเสียงไว้ให้ปรากฏ เช่น ชาติชายต้องไว้ชื่อ.
  24. ไว้เชิง : ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย.
  25. ไว้ท่า : ก. ทำท่าทางเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ หรือมีเกียรติสูง.
  26. ไว้ฝีมือ : ว. อาการที่แสดงความสามารถในด้านศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นการฝากฝีมือไว้อย่างเต็มที่ เช่น ออกแบบบ้านอย่างไว้ฝีมือ วาดภาพอย่างไว้ฝีมือ.
  27. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  28. ไวไฟ : ว. ที่ติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก เช่น น้ำมันไวไฟ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความประพฤติหละหลวมในทางชู้สาว มีลักษณะดังสิ่งไวไฟ.
  29. ไว้ภูมิ : ก. ทำท่าเสมือนว่าเป็นผู้มีความรู้สูง.
  30. ไว้ยศ : ก. รักษายศรักษาเกียรติ.
  31. ไวยาวัจกร : [วัดจะกอน] น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต และมีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้า อาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. (ป. เวยฺยาวจฺจกร).
  32. ไว้ลาย : ก. แสดงความกล้าหาญหรือความสามารถอันเป็นลักษณะ พิเศษของตนฝากไว้ให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย.
  33. ไว้อาลัย : ว. อาการที่แสดงความระลึกถึงเพราะมีใจผูกพันกับผู้ที่ จากไป เช่น ยืนไว้อาลัย กล่าวคำไว้อาลัย.
  34. ศงกา : น. ความสงสัย. (ส. ศงฺกา; ป. สงฺกา).
  35. ศมะ : [สะ-] น. ความสงบ, ความนิ่ง. (ส.; ป. สม).
  36. ศร้าสลด : ว. มีความรู้สึกรันทดใจ เช่น อุบัติเหตุตายหมู่ ทำให้ผู้ พบเห็นเศร้าสลด.
  37. ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
  38. ศฤงคาร : [สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บําเรอ ความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).
  39. ศฤงคารรส : [สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของ วรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมี เนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.
  40. ศักดิ, ศักดิ์ : น. อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).
  41. ศักราช : [สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกําหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สําคัญ เรียงลําดับกัน เป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, .. จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คํา ศักราชในคํา เช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราชจะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คํา เช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคําว่า รัตนโกสินทรศกไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้น เหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.
  42. ศังกร : [สังกอน] น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. (ส.).
  43. ศังกา : น. ความสงสัย, ความลังเล. (ส.; ป. สงฺก).
  44. ศัพท์บัญญัติ : น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะ เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. ศัพทมูลวิทยา [สับทะมูนละ, สับทะมูน] น. วิชาว่าด้วยที่มา และประวัติของคํา. (อ. etymology).
  45. ศัลยกรรม : [สันละยะกำ] น. การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  46. ศัลยกรรมตกแต่ง : น. การผ่าตัดอวัยวะเพื่อรักษาหรือปรับปรุง รูปร่างของอวัยวะให้สวยงามและเหมาะสม โดยอวัยวะนั้น ๆ คงทำหน้าที่ได้ตามปรกติ รวมทั้งเป็นการบูรณะส่วนที่ผิดปรกติ ให้กลับสู่สภาพปรกติด้วย.
  47. ศัลยศาสตร์ : [สันละยะสาด] น. วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด.
  48. ศาฐยะ : [สาถะ] น. สาไถย, ความคดโกง. (ส.; ป. สาเถยฺย).
  49. ศานตรส : น. รสของคําประพันธ์ที่แสดงถึงความสงบจิต. (ส.).
  50. ศานติ : น. ความสงบ, ความระงับ. (ส.; ป. สนฺติ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | [2651-2700] | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.0918 sec)