Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 2401-2450
  1. ละ ๒ : ว. คําใช้ประกอบหน้าคํา ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้.
  2. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  3. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  4. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  5. ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  6. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  7. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  8. ละหุ่ง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ricinus communis L. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ นํ้ามันที่ได้จากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อนใช้ทํายาได้.
  9. ละเอียดอ่อน : ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับ ซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่อง การเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
  10. ลักทรัพย์ : (กฎ) ก. ชื่อความผิดอาญาฐานเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือ ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต.
  11. ลักลั่น : ว. ขาดความเป็นระเบียบทําให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตาม กฎตามแบบตามลําดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุด ต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
  12. ลักษมี : [ลักสะหฺมี] น. โชคลาภ, ความเจริญ, ทรัพย์; ความงาม, เสน่ห์, สิริ; ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. (ส.).
  13. ลัชชา : [ลัด–] น. ความละอาย, ความกระดาก. (ป., ส.).
  14. ลัชชี : [ลัด–] น. ผู้มีความละอาย, ผู้มีความกระดาก. (ป.; ส. ลชฺชินฺ).
  15. ลัดวงจร : (ไฟฟ้า) ก. ลักษณะที่วงจรไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าไหล ผ่าน มีตัวนําซึ่งมีความต้านทานตํ่ากว่าความต้านทานของวงจร ไฟฟ้านั้นมากมาแตะพาด เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าจํานวนมาก ไหลผ่านตัวนําที่มาแตะพาดนั้น ทําให้เกิดความร้อนสูงมากจน เกิดไฟไหม้ได้ เรียกว่า ไฟฟ้าลัดวงจร.
  16. ลัทธิ : น. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและ ปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิ ทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
  17. ลับ ๒ : ว. ที่อยู่ในที่พ้นตา, ที่อยู่ในที่ซึ่งแลไม่เห็น, เช่น ที่ลับ ประตูลับ หายลับ, ที่ปกปิดหรือควรปกปิด เช่น ความลับ หนังสือลับ ห้องลับ, มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบังอยู่ เช่น ของอยู่ลับฝา พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขา.
  18. ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
  19. ลัยคต : [ไลยะคด] ว. ถึงความแตกดับ, อันตรธานไป. (ส. ลยคต).
  20. ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
  21. ลากเสียง : ก. อาการที่พูดยานคางในความว่า พูดลากเสียง.
  22. ล้างซวย : ก. ทำพิธีหรือประกอบความดีอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อล้าง ความซวยให้หมดไป เช่น อาบน้ำมนต์ล้างซวย ทำบุญล้างซวย.
  23. ล้างโลก : ก. ทำลายโลก เช่นสงครามล้างโลก; (ศาสนา) ทำให้โลก หมดความชั่วเช่น ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก.
  24. ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
  25. ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
  26. ลาวัณย์ : น. ความงาม, ความน่ารัก. (ส.).
  27. ล้าหลัง : ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น ความคิดล้าหลัง.
  28. ลำแข้ง : น. กำลังความสามารถในการทำมาหากินด้วยตนเองไม่ต้อง พึ่งใคร เช่น หากินด้วยลำแข้งของตนเองจนมั่งมี, ปลีแข้ง ก็ว่า.
  29. ล้ำยุค, ล้ำสมัย : ว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียน มีความคิดล้ำยุค.
  30. ลำเลิก : ก. กล่าวทวงบุญคุณ, กล่าวคําตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตน ทําไว้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สํานึกถึงบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น.
  31. ล้ำหน้า : ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้า เพื่อนฝูงอยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า ทํางานลํ้าหน้า.
  32. ลิกไนต์ : น. ถ่านหินชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลเข้มหรือสีดําแกมนํ้าตาล มีปริมาณ สารไฮโดรคาร์บอนสูงกว่าถ่านหินธรรมดา ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ แต่ให้ปริมาณความร้อนตํ่ากว่าถ่านหินธรรมดา. (อ. lignite).
  33. ลิงโลด : ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความดีอก ดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขา ก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  34. ลิ้นพัน : ว. อาการที่พูดเร็วรัวจนจับความไม่ได้.
  35. ลิ่ม : น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
  36. ลิ้ม : ก. ชิม, ลองรสดูด้วยลิ้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลิ้มรสความลําบาก.
  37. ลีฬหา : [ลีนหา] น. การเยื้องกราย; (แบบ) ความงาม, ความสง่า. (ป.).
  38. ลึก : ว. ตํ่าลงไปจากขอบมากกว่าปรกติ เช่น ชามก้นลึก, ไกลตํ่าลงไป จากผิวหน้าหรือขอบบน เช่น ทะเลลึก นํ้าลึก เหวลึก, ไกลเข้าไป จากขอบเป็นต้น เช่น ป่าลึก ซอยลึก; หยั่งรู้ได้ยาก เช่น ความคิดลึก; ตรงข้ามกับ ตื้น.
  39. ลื่น : ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจน จับไม่ติด.
  40. ลืม : ก. หายไปจากความจํา, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก, เช่น เขาลืมความหลัง ลืมชื่อเพื่อน, ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น เช่น ลืม ทำการบ้าน ลืมรดน้ำต้นไม้.
  41. ลืมตน : ก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตน ไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่ง ของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิง อำนาจจนลืมตน.
  42. ลืมต้น : ว. ลักษณะที่ผลไม้มีส้มโอเป็นต้น ซึ่งเก็บเอามาผึ่งไว้นานวัน เพื่อให้เปลือกเหี่ยวจะได้คลายความเปรี้ยวจัด เรียกว่า ลูกไม้ลืมต้น.
  43. ลืมตัว : ก. ขาดสติไปชั่วคราว, เผลอตัวไปชั่วคราว, เช่น เวลาโกรธ เขาลืมตัวไม่กลัวตาย; ลืมตน, ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, เช่น เมื่อเป็นใหญ่เป็นโตขึ้นมา มีคนประจบสอพลอมาก ทำให้เขา ลืมตัว.
  44. ลืมตา : ก. เปิดกลีบตา, ใช้ตรงข้ามกับ หลับตา; โดยปริยายหมาย ความว่า เกิด เช่น ตั้งแต่ลืมตาดูโลกก็สบายมาตลอด.
  45. ลืมเลือน : ก. ลืมไปบ้างหรือค่อย ๆ ลืมไปจากความทรงจำ เช่น เรื่องนี้ลืมเลือนไปบ้างแล้ว.
  46. ลืมหูลืมตา : ก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.
  47. ลุ : ก. ถึง (ในลักษณะที่ต้องใช้ความพยายาม) เช่น ลุความสําเร็จ, ถึง เช่น ลุศักราช, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ถึง เป็น ลุถึง; (โบ) รู้ความ เช่น ลุท้องตรา ลุหนังสือ.
  48. ลุ่มลึก : ว. ลึกซึ้งมาก เช่น พระพุทธพจน์มีความหมายลุ่มลึก.
  49. ลุล่วง : ก. สำเร็จ (ในสิ่งที่ต้องใช้ความพยายามบ้าง) เช่น โครงการนี้ ลุล่วงไปด้วยดี.
  50. ลุโสดา : ก. บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน; (ปาก) หมดกิเลส, รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ฉันยังไม่ลุโสดานี่; บรรลุโสดา ก็ว่า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | [2401-2450] | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.1050 sec)