Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 2751-2800
  1. สงกา : น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).
  2. สงค์ : น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค).
  3. สงคร : [คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).
  4. ส่งใจ : ก. ส่งน้ำใจที่มีความปรารถนาดีเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ผู้รับ เช่น ส่งใจไปช่วยทหารในแนวหน้า.
  5. สงบราบคาบ : ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้าง กระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
  6. สงบเสงี่ยม : ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลา อยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
  7. ส่งพระเคราะห์ : (โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวง ที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทาง โหราศาสตร์.
  8. สงวน : [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว
  9. สงวนท่าที, สงวนทีท่า : ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้งเพื่อไม่ให้ ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทาย ใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  10. สงวนปากสงวนคำ : ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
  11. สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. : ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน.
  12. ส่งวิญญาณ : ก. ทำพิธีเพื่อให้วิญญาณผู้ตายไปเกิดในสุคติตามคติความ เชื่อถือของพระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน.
  13. ส่งสายตา : ก. มองโดยมีเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าตนมีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ อ้อนวอน หรือเพื่อเป็นการปรามเป็นต้น เช่น ส่งสายตาปราม ไม่ให้เพื่อนพูด.
  14. สงสาร ๒ : [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึก สงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  15. สดับตรับฟัง : ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรม เทศนา.
  16. สดี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี).
  17. สตัฟฟ์ : [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธี ทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
  18. สติ : [สะติ] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, เช่น ได้สติ ฟื้นคืนสติ สิ้นสติ, ความรู้สึกผิดชอบ เช่น มีสติ ไร้สติ, ความระลึกได้ เช่น ตั้งสติ กำหนดสติ. (ป.; ส. สฺมฺฤติ).
  19. สติวินัย : น. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจําเลยไว้ซึ่ง เรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).
  20. สติสัมปชัญญะ : น. ความระลึกได้และความรู้ตัว, ความรู้สึกตัวด้วย ความรอบคอบ, เช่น จะทำอะไรต้องมีสติสัมปชัญญะ.
  21. สติอารมณ์ : น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
  22. สตี : [สะ] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี; ธรรมเนียมที่ผู้หญิงชาวฮินดู เผาตัวบนกองไฟพร้อมกับศพสามีเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีและ ความบริสุทธิ์.(ส.).
  23. สถาน ๑ : [สะถาน] น. ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น สถานบริบาลทารก, ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง, เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน; ประการ เช่น มีความผิดหลายสถาน. (ส.; ป. ?าน).
  24. สถาน ๒, สถานะ : [สะถานะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่, เช่น เขาอยู่ในสถานะ ยากไร้ เศรษฐกิจของประเทศไทยมีสถานะมั่นคง น้ำมีสถานะปรกติ เป็นของเหลว.
  25. สถานี : [สะถานี] น. หน่วยที่ตั้งเป็นที่พักหรือที่ทําการ เช่น สถานีตํารวจ สถานีรถไฟ สถานีตรวจอากาศ สถานีขนส่ง; ฐานส่งกำลังบำรุง ของกองทัพเรือที่ประจำอยู่บนบก มีฐานใหญ่ ๆ ๓ แห่ง เรียกว่า สถานีทหารเรือ คือ สถานีทหารเรือกรุงเทพ สถานีทหารเรือสงขลา สถานีทหารเรือพังงา, ฐานส่งกำลังบำรุงหน่วยย่อยสำหรับการ ปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เรียกว่า สถานีเรือ เช่น สถานีเรือ อำเภอเชียงคาน สถานีเรืออำเภอโขงเจียม สถานีเรืออำเภอธาตุพนม; ตำแหน่งของเรือขณะอยู่ในรูปกระบวน เช่น เรือ ก รักษาสถานีทาง ขวาของเรือ ข ระยะ ๕๐๐ หลา; ที่ที่กำหนดให้ทหารเรือประจำเพื่อ ปฏิบัติการตามภารกิจต่าง ๆ เช่น สถานีรบ สถานีจอดเรือ สถานี ออกเรือ สถานีช่วยคนตกน้ำ สถานีรับส่งสิ่งของทางทะเล; ที่ที่มี หน่วยปฏิบัติการเฉพาะ เช่น สถานีสื่อสารดาวเทียม สถานีสมุทรศาสตร์ สถานีตรวจอากาศ.
  26. สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
  27. สถาพร, สถาวร : [สะถาพอน, วอน] ว. ยืนยง, มั่นคง, เช่น ขอให้มีความสุขสถาพร สถิตสถาพร. (ส. สฺถาวร; ป. ถาวร).
  28. สธุสะ, สาธุสะ : คําเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคําอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคํา ศุภมัสดุ.
  29. สนตะพาย : ก. กิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ซึ่งเรียกว่า ตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทําตามด้วยความจําใจ ความหลง หรือ ความโง่เขลาเบาปัญญา.
  30. สนธิสัญญา : น. หนังสือสัญญาที่สําคัญยิ่งและทําเป็นตราสาร สมบูรณ์แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทําขึ้น ระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
  31. สนม ๓ : [สะหฺนม] (โบ) น. เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์ แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่โดยอยู่ในความ ควบคุมดูแลของพวกสนม, เรียกลักษณะที่ถูกกักบริเวณเช่นนั้นว่า ติดสนม.
  32. สนิทใจ : ว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึง รังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.
  33. สบาย : [สะบาย] ว. อยู่ดีกินดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาสบายขึ้น ลูก ๆ ทำงานหมดแล้ว, เป็นสุขกายสุขใจ เช่น เวลานี้เขาสบายแล้ว เพราะมีฐานะดีขึ้น ไม่มี วิตกกังวลใด ๆ; สะดวก เช่น ทำตามสบายไม่ต้องเกรงใจ มีรถส่วนตัว สบายกว่าไปรถประจำทาง, มักใช้เข้าคู่กับคำ สุข หรือ สะดวก เป็น สุขสบาย หรือ สะดวกสบาย; พอเหมาะพอดี เช่น เก้าอี้ตัวนี้นั่งสบาย; ไม่ลำบากกาย เช่น เขาทำงานสบายขึ้น ไม่ต้องแบกหามเหมือน เมื่อก่อน; ไม่เจ็บไม่ไข้ เช่น เวลานี้เขาสบายดี ไม่ป่วยไข้; มีความ พอใจเมื่อได้สัมผัส เช่น สบายหู สบายตา สบายกาย. (ป. สปฺปาย).
  34. สภาพ : น. ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ เช่น สภาพความ เป็นอยู่ สภาพดินฟ้าอากาศ, ลักษณะในตัวเอง; ภาวะ, ธรรมชาติ. (ป. สภาว; ส. สฺวภาว).
  35. สภาพธรรม : น. หลักแห่งความเป็นเอง.
  36. สม ๑ : ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสม ฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้ แต่งตัวไม่สมวัย, รับกัน เช่น หัวแหวนสมกับเรือนแหวน; ตรงกับ เช่น สมคะเน สมปรารถนา สมความตั้งใจ. (ปาก) สมน้ำหน้า เช่น สมแล้ว ที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก.
  37. สม ๒ : ใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.
  38. สมการ : [สะมะกาน, สมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงความ เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ เฉพาะบางค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏ ในนิพจน์นั้น ๆ หรือการเหมือนกันของข้อความย่อย ๒ ข้อความที่ ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย =. (อ. equation).
  39. สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
  40. สมถ, สมถะ : [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
  41. สมบัติ ๑ : น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. (ป., ส. สมฺปตฺติ).
  42. สมบัติผู้ดี : น. มารยาทของผู้ที่มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และ ความคิด.
  43. สมบุกสมบัน : ว. ทนลําบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบัน จึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนา อย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.
  44. สมประดี, สมปฤดี, สมปฤๅดี : [สมปฺระ, สมปะรึ, สมปะรือ] น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
  45. สมเพช : [เพด] ก. สงสารสลดใจ, ควรได้รับความกรุณา, เช่น เห็นคนอนาถา แล้วอดสมเพชไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ เวทนา เป็น สมเพชเวทนา. (ป., ส. สํเวชน ว่า สยดสยอง, สังเวช).
  46. สมโภช : [โพด] น. การกินร่วม, การเลี้ยงอาหาร; งานเลี้ยง, งานฉลองในพิธี มงคลเพื่อความยินดีร่าเริง เช่น งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี งานสมโภชพระสุพรรณบัฏ (ใช้เฉพาะแต่ในงานพระราชพิธีเท่านั้น). (ป.; ส. สมฺโภชน).
  47. สมรรถนะ : [สะมัดถะนะ] น. ความสามารถ (ใช้แก่เครื่องยนต์) เช่น รถยนต์แบบนี้ มีสมรรถนะดี เยี่ยมเหมาะสำหรับเดินทางไกล.
  48. สมรรถภาพ : [สะมัดถะ, สะหฺมัดถะ] น. ความสามารถ เช่น เขา เป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.
  49. สมฤดี, สมฤๅดี : [สมรึดี, สมรือดี] น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
  50. สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | [2751-2800] | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.1899 sec)