Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 851-900
  1. ชาติธรรม : [ชาติทํา] ว. มีความเกิดเป็นธรรมดา. (ส. ชาติธรฺม ว่า หน้าที่ของตระกูล).
  2. ชาตินิยม : [ชาดนิยม] น. ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่, ความรักชาติ.
  3. ชาติพันธุ์วิทยา : [ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับ การแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กําเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
  4. ชาลา ๑ : น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
  5. ช่ำ : ว. มากพอแก่ความต้องการจนสมอยาก เช่น เที่ยวเสียชํ่า กินเสียชํ่า.
  6. ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
  7. ชำนัญ : ก. รู้. ชำนัญพิเศษ น. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใด เรื่องหนึ่งโดยเฉพาะว่า ผู้ชํานัญพิเศษ; เรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติว่า ทบวงการชํานัญพิเศษ.
  8. ชำระ : ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชําระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชําระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชําระความ; ใช้ในคําว่า ชําระหนี้.
  9. ช้ำรั่ว : น. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของ กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทําให้ไม่สามารถ กลั้นปัสสาวะได้เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออก เป็นครั้งคราวหรือตลอดเวลาก็ได้.
  10. ชำลา : ว. ที่ผึ่งแดดยังไม่แห้งสนิท (ใช้แก่ปลา). (ต. ชมฺร ออกเสียงว่า เจมเรียะ ว่า เหี่ยว, ความเหี่ยว).
  11. ชิงช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วย ล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกันหมุนด้วยแรงกลในแนวตั้ง รอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่ เป็นช่วงระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, กระเช้าสวรรค์ ก็ว่า.
  12. ชิงดีชิงเด่น : ก. แย่งกันเอาหน้าหรือเอาดีเอาเด่น, ขัดขวาง ความเจริญก้าวหน้าของผู้อื่น เพื่อให้ตนดีเด่นแต่ผู้เดียว.
  13. ชิงทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้ กําลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กําลัง ประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือ การพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือ เอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทําความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.
  14. ชี ๑ : น. นักบวช เช่น ชีปะขาว; คําเรียกหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้วโกนผมถือศีล, แม่ชี ก็เรียก. (ส. ชี ใช้พูดต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง).
  15. ชี้แจง : ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน.
  16. ชีพิต : น. ความเป็นอยู่. (ป., ส. ชีวิต).
  17. ชีว, ชีวะ : [ชีวะ] น. ชีพ, ความเป็นอยู่; พระพฤหัสบดี เช่น ชีววาร. (ป., ส.).
  18. ชีวิต : น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).
  19. ชุติ : (แบบ) น. ความโพลง, ความรุ่งเรือง, ความสว่างไสว; ดวงดาว. (ป.; ส. ชฺยุติ).
  20. ชุติมา : น. ผู้มีความรุ่งเรือง. (ป.; ส. ชฺยุติมตฺ).
  21. ชุบชีวิต : ก. ทําให้เป็นขึ้น เช่น ชุบชีวิตคนตายให้เป็น, ทํา ให้มีชีวิตขึ้น เช่น ชุบชีวิตรูปหุ่น; อุปถัมภ์บํารุงให้มีความ เป็นอยู่ดีขึ้น.
  22. ชุบตัว : ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้น อย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟ เพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้ กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรม เพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงใน ยุโรปและอเมริกาเช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.
  23. เช็คไปรษณีย์ : (กฎ) น. ตราสารสําหรับขายแก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการส่งเงิน โดยเจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการ ไปรษณีย์แห่งหนึ่ง ให้เจ้าพนักงาน ณ ที่ทําการไปรษณีย์ แห่งใดแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งระบุ นามไว้หรือผู้ถือตราสารนั้น.
  24. เชย : ก. สัมผัสเบา ๆ หรือช้อนขึ้นเบา ๆ ด้วยความเอ็นดูหรือรักใคร่ เช่น เชยแก้ม เชยคาง; โปรยปรายลงมา ในคําว่า ฝนเชย; พัดมา เฉื่อย ๆ (ใช้แก่ลม); สกัดงาเอานํ้ามันเรียกว่า เชยนํ้ามันงา; (ปาก) ว. ไม่ทันสมัย, เปิ่น.
  25. เชาวน์ : [เชา] น. ปัญญาหรือความคิดฉับไว, ปฏิภาณไหวพริบ. (แผลงมาจาก ป., ส. ชวน).
  26. เชิญ : ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเทวดา เชิญมารับประทาน อาหาร; ถือ อุ้ม ชู หรือนําไปเป็นต้นด้วยความเคารพเช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง เชิญขันหมาก; กล่าว อนุญาตให้ทําอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความสุภาพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญเถิด เชิญครับ เชิญตามสบาย.
  27. เชี่ยวชาญ : ว. สันทัดจัดเจน, ชํ่าชอง, มีความชํานิชํานาญมาก.
  28. เชื้อเชิญ : ก. เชิญด้วยความสุภาพ, เชิญด้วยความอ่อนน้อม.
  29. เชื่อมือ : (ปาก) ก. เชื่อฝีมือ, เชื่อความรู้ความสามารถ.
  30. แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
  31. แชสซี : น. โครงของรถยนต์ตามความยาวตัวถังรถ ทำด้วยโลหะ แข็งแรง ซึ่งไม่รวมตัวถังเครื่องยนต์ และล้อ, คัสซี ก็ว่า (อ. chassis).
  32. โชดึก : น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป. โชติก).
  33. โชติก : [โชติกะ] น. ผู้มีความรุ่งเรือง, ผู้มีความสว่างไสว. (ป.).
  34. โชติ, โชติ : [โชด, โชติ] น. ความรุ่งเรือง, ความโพลง, ความสว่าง. (ป.; ส. โชฺยติสฺ).
  35. ไชโย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพรเป็นต้น.
  36. ซวดเซ : ก. เอนไป, เอียงไป, จวนล้ม, เสียหลัก, (มักใช้แก่ฐานะความเป็นอยู่) เช่น ฐานะซวดเซ.
  37. ซองขาว : น. จดหมายให้ออกจากงานโดยไม่มีความผิด; ซองบรรจุ เงินสินบนหรือค่าสินจ้างเพื่อให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะเป็นไป ในทางมิชอบ.
  38. ซ้อม ๒ : ก. ทําทดลองเพื่อให้ชํานาญหรือให้แน่นอน เช่น ซ้อมรบ ซ้อมความเข้าใจ.
  39. ซักฟอก : ก. ชําระให้หมดมลทิน; ซักถามให้ได้ความจะแจ้ง.
  40. ซักแห้ง : ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
  41. ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
  42. ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
  43. ซึ้ง ๑ : น. ภาชนะสำหรับนึ่งของ ทำด้วยโลหะมีลักษณะกลมคล้ายหม้อ ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ๒–๓ ชั้น ชั้นล่างใส่น้ำสำหรับต้มให้ความร้อน ชั้นที่ซ้อนที่ก้นเจาะเป็นรู ๆ เพื่อให้ไอน้ำร้อนผ่านให้ของในชั้นที่ซ้อน สุก มีฝาครอบคล้ายฝาชี, ลังถึง ก็ว่า. (จ. เล่งซึ้ง).
  44. ซึ่งหน้า, ซึ่ง ๆ หน้า : ว. ต่อหน้า เช่น กระทําความผิดซึ่งหน้า.
  45. ซึมเศร้า : ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
  46. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ, ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว : (สํา) ก. ซื้อของไม่คํานึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทําอะไรไม่เหมาะ กับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.
  47. ซื้อรำคาญ : ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นเพื่อตัดความรําคาญ.
  48. ซื้อรู้ : ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นโดยถูกลวง แต่ได้เป็นความรู้ไว้.
  49. ซุ่มคม : ก. ซ่อนความฉลาดไว้, ไม่อวดดี.
  50. ซุ่มซ่าม : ว. กิริยาที่กระทำไปโดยไม่ใช้ความระมัดระวังหรือไม่ถูกกาลเทศะ เช่น เดินซุ่มซ่ามชนสิ่งของจนเสียหาย ซุ่มซ่ามเข้าไปในสถานที่ ที่ไม่ควรจะเข้าไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | [851-900] | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.0859 sec)