Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 2551-2600
  1. วัฒนา : น. ความเจริญ, ความงอกงาม. ก. เจริญ, งอกงาม.
  2. วัด ๓ : ก. สอบขนาดหรือปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เช่นวัดส่วนยาว ส่วนกว้าง ส่วนสูง หรือความรู้เป็นต้น.
  3. วัต : น. วตะ, พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  4. วัตถุนิยม : น. ทฤษฎีหรือความเชื่อที่ว่าวัตถุเท่านั้นมีอยู่จริง; การให้ คุณค่าแก่สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม, สสารนิยม ก็ว่า.
  5. วัตถุประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น วัตถุประสงค์ของ มัธยมศึกษาก็เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และมีคุณธรรม, จุดประสงค์ ก็ว่า.
  6. วัตถุวิสัย : ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
  7. วัตนะ : [วัดตะนะ] น. ความเป็นไป, ความเป็นอยู่. (ป. วตฺตน; ส. วรฺตน).
  8. วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
  9. วัน ๆ : ไม่มีความหวัง.
  10. วัน ๑ : น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึง เที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ,เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทําการตามที่ได้กําหนดขึ้นโดยกฎหมาย คําสั่งศาล หรือ ระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทําการตามปรกติของกิจการนั้นแล้ว แต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).
  11. วันมาฆบูชา : น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทาง พระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึง ดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก.
  12. วับ : ว. ฉับพลัน, ฉับไว, ใช้ประกอบอาการของแสงหรือสิ่งมีรูปร่าง ซึ่งปรากฏให้เห็น แล้วหมดสิ้นหรือลับหายไปอย่างรวดเร็วใน ทันทีทันใด เช่น แสงหายวับ พูดขาดคําก็หายตัววับลับตาไป, บางทีก็เป็นคําซ้อน เพื่อเน้นหรือเพื่อความไพเราะ เป็น หายวับ ไปฉับพลัน หายวับไปกับตา เป็นต้น.
  13. วับ ๆ หวำ ๆ : ว. รู้สึกวาบ ๆ ในใจด้วยความหวาดหวั่น เช่น ใจวับ ๆ หวำ ๆ เวลาจะเข้ารับการผ่าตัด.
  14. วัยวุฒิ : [ไวยะวุดทิ, ไวยะวุด] น. ความเป็นผู้ใหญ่โดยอายุ. (ป. วย + วุฑฺฒิ).
  15. วัยสาว : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี, ใช้แก่หญิง.
  16. วัยหนุ่ม : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย.
  17. วัยหนุ่มสาว : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี.
  18. วัวสันหลังหวะ : น. คนที่มีความผิดติดตัวทําให้คอยหวาดระแวง, วัวสันหลังขาด ก็ว่า.
  19. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  20. ว้า ๑ : อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คําออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.
  21. วากยสัมพันธ์ : น. ชื่อตําราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็น ประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคําในประโยค.
  22. วางยา : ก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้ ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร; โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.
  23. วางสาย : ก. ติดตั้งสายไฟฟ้าสายโทรศัพท์เป็นต้น; โดยปริยายหมายความว่า จัดคน เข้าไปสืบความลับของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น วางสายเข้าไปปล้นธนาคาร.
  24. ว่าต่าง : (กฎ) ก. ว่าความแทนโจทก์, ใช้คู่กับ แก้ต่าง ซึ่งหมายถึง ว่าความแทนจําเลย.
  25. วาท, วาท : [วาด, วาทะ] น. คําพูด, ถ้อยคํา; ลัทธิ, ความเห็น. (ป., ส.).
  26. วาทศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
  27. ว่าไม่ได้ : (ปาก) ว. ยังลงความเห็นไม่ได้, ยังไม่แน่นอน, เช่น ว่าไม่ได้เขาอาจจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ ก็ได้.
  28. ว่าไม่ไว้หน้า : ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอาย โดยไม่เกรงใจ.
  29. วายามะ : น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
  30. ว่าอะไรว่าตามกัน : (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
  31. วิกลจริต : [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
  32. วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  33. วิการ : ว. พิการ, ที่ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ, มักใช้เข้าคู่กับคำ วิกล เป็น วิกลวิการ. . ความผันแปร. (ป., ส.).
  34. วิฆนะ : [วิคะ] น. การขัดขวาง, เครื่องขัดขวาง, อุปสรรค, ความขัดข้อง. (ส.).
  35. วิฆเนศ, วิฆเนศวร : [วิคะเนด, วิคะเนสวน] น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่า ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือพิฆเนศวร ก็เรียก. (ส. วิฆน + อีศ; วิฆน + อีศฺวร).
  36. วิ่งเต้น : ก. พยายามติดต่ออย่างเต็มที่เพื่อขอความสนับสนุน ช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์ เช่น วิ่งเต้นฝากงาน.
  37. วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
  38. วิจิกิจฉา : [กิดฉา] น. ความสงสัย, ความเคลือบแคลง, ความลังเล, ความไม่ แน่ใจ. (ป.; ส. วิจิกิตฺสา).
  39. วิจิตรศิลป์ : [จิดตฺระสิน, จิดสิน] น. ศิลปะที่มุ่งแสดงในด้าน คุณภาพของความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย.
  40. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  41. วิชย, วิชัย : [วิชะยะ-,วิไข] น. ความชนะ, ชัยชนะ, (ป., ส.)
  42. วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  43. วิชาการ : น. วิชาความรู้สาขาใดสาขาหนึ่งหรือหลายสาขา เช่น บทความวิชาการสัมมนาวิชาการ การประชุมวิชาการ.
  44. วิชานนะ : น. ความรู้, ความเข้าใจ. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  45. วิญญาณ : น. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺ?าน).
  46. วิญญูภาพ : น. ความเป็นผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ.
  47. วิตก, วิตก : [วิตกกะ, วิตก] ก. เป็นทุกข์, ร้อนใจ, กังวล, เช่น วิตกว่าจะเกิด สงคราม, มักใช้เข้าคู่กับคำกังวล เป็น วิตกกังวล เช่น อย่าวิตกกังวล ไปนักเลยพรุ่งนี้สถานการณ์คงจะดีขึ้น. น. ความตรึก, ความตริ, ความคิด. (ป. วิตกฺก; ส. วิตรฺก ว่า ลังเลใจ).
  48. วิถีทาง : น. ทาง เช่น ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางกว่าจะประสบ ความสำเร็จ.
  49. วิทยฐานะ : น. ฐานะในด้านความรู้ เช่น สอบเทียบวิทยฐานะ มีวิทยฐานะในระดับปริญญาตรี.
  50. วิทยา : [วิดทะยา] น. ความรู้, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น วิทยากร วิทยาคาร จิตวิทยา สังคมวิทยา. (ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | [2551-2600] | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.1414 sec)