Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พนักงานรักษาความปลอดภัย, พนักงาน, ปลอดภัย, รักษา, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พนักงานรักษาความปลอดภัย, 3572 found, display 51-100
  1. ครอง : [คฺรอง] ก. ปกครองรักษาโดยความเป็นใหญ่ เช่น ครองเมือง; ดํารงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว; นุ่งห่ม (ใช้แก่นักบวช) เช่น ครองจีวร ครองผ้า; ถือสิทธิเป็นเจ้าของ เช่น เอาไปครองเสียหลายวัน. ครองราชสมบัติ ก. เสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์.
  2. คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  3. จรรยาบรรณ : [จันยาบัน] น. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
  4. จับ : ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกําไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราส จับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะ กุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มี อํานาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทําขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
  5. จิตแพทย์ : [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดง ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
  6. เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  7. ฉุกเฉิน : ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
  8. ซึ่ง : ส. คําใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น บ้านของเขา อยู่ในป่าซึ่งห่างจากชุมชน. บ. คําสําหรับนําหน้านามที่เป็น ผู้ถูกกระทํา เช่น รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม.
  9. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  10. ตระลาการ : [ตฺระ-] (โบ) น. ตําแหน่งพนักงานศาลผู้มีหน้าที่ชําระเอาความเท็จจริง.
  11. ทหารผ่านศึก : (กฎ) น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตําแหน่งหน้าที่ใน ราชการทหารหรือบุคคลซึ่งทําหน้าที่ทหารตามที่กระทรวง กลาโหมกําหนด และได้กระทําหน้าที่นั้นในการสงครามหรือ ในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการ ปราบปรามการจลาจล; ทหารหรือบุคคลซึ่งทําการป้องกันหรือ ปราบปรามการกระทําอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความ ปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสํานัก นายกรัฐมนตรีกําหนด.
  12. แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
  13. นายทะเบียน : ( น. พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน.
  14. นำจับ : (กฎ) ก. นําความมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทําการจับกุม ผู้กระทําความผิด.
  15. บันทึก : ก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือ ถ่ายทําไว้เพื่อช่วยความจําหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงาน การประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทําให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วย ความทรงจํา; หรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นํามาจดย่อ ๆ ไว้ เพื่อให้รู้เรื่องเดิม(กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ จดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึก คําร้องทุกข์และคํากล่าวโทษด้วย.
  16. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  17. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  18. ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
  19. ผู้นำจับ : (กฎ) น. บุคคลผู้มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งนำความมาแจ้ง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด.
  20. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  21. ภารโรง : [พาน–] น. ผู้รักษาและทําความสะอาดสถานที่.
  22. ภาวะฉุกเฉิน : น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัย แห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทําให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือ ภาวะการรบหรือการสงคราม.
  23. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  24. ยมบาล : น. เจ้าพนักงานเมืองนรก มีหน้าที่ลงโทษทรมานคนที่ตกนรก ตามคําสั่งของพญายม. (ป. ยมปาล ว่า ผู้รักษานรก).
  25. ยัก ๑ : ก. อาการที่คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, ทําให้คิ้ว ไหล่ หรือก้น เป็นต้น ยกขึ้นยกลง, เช่น ยักคิ้ว ยักไหล่ เดินก้นยักไปยักมา; อาการที่ของ บางอย่างเยื้องไม่ได้ระดับกัน เช่น สวมเสื้อไหล่ยักไปข้างหนึ่ง; ย้ายข้าง ไปมา เช่น ยักเอว ว่าวปักเป้ายักไปยักมา; แว้งแทงด้วยเงี่ยง เช่น ปลาดุก ยัก; แยกหรือกันเอาไว้เสียเอง เช่น ยักเงิน; ย้ายที่จากที่เขาแทงไว้เดิมไป ลงที่ใหม่ (ใช้ในการแทงถั่วโปเป็นต้น) เช่น ยัก ๒ ไป ๓ ยัก ๓ ไป ๔ ซึ่ง เรียกว่า ยัก ๓ ไปครบ; เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตน ไปโดยทุจริต, ยักยอก ก็ว่า.
  26. ยักยอก : ก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดย ทุจริต, ใช้เพียง ยัก คําเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบัง เอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความ ครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.
  27. รังสีแพทย์ : น. แพทย์ที่วิเคราะห์และรักษาโรคโดยใช้ความรู้ทางรังสีวิทยา.
  28. รางวัล : น. สิ่งของหรือเงินที่ได้มาเพราะความดีความชอบหรือความสามารถ เช่น รางวัลผู้มีมารยาทงามรางวัลสังข์เงิน รางวัลตุ๊กตาทอง หรือเพราะชนะ ในการแข่งขันเช่น รางวัลชนะเลิศในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนา แก่เด็กรางวัลชนะเลิศฟุตบอล หรือเพราะโชค เช่นถูกสลากกินแบ่งรางวัล ที่ ๑; (กฎ) เงินตราที่จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทําความผิด; ค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้ซึ่งกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งสําเร็จตามที่บ่งไว้. ก. ให้สิ่งของโดยความชอบหรือเพื่อเป็นสินนํ้าใจเป็นต้น.
  29. เล็ดลอด : ก. แอบซ่อนไป, ลอบเข้าไปหรือออกมาได้ด้วยความยาก ลําบาก แม้สถานที่นั้นจะมีผู้พิทักษ์รักษาและการป้องกัน เช่น มด เล็ดลอดเข้าไปในถุงน้ำตาลจนได้ ขโมยเล็ดลอดเข้าไปในบ้าน.
  30. วางผังเมือง : ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมือง และสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชน เป็นส่วนรวม.
  31. วิสามัญฆาตกรรม : [วิสามันคาดตะกํา] (กฎ) น. ฆาตกรรมที่ผู้ตาย ถูกซึ่งเจ้าพนักงานอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือถูกฆ่า ตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่.
  32. เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
  33. เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
  34. ไว้ใจ : ก. มอบความเชื่อความมั่นใจให้, วางใจ, เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน, ไว้วางใจ ก็ว่า.
  35. ไว้หน้า : ก. รักษาเกียรติฐานะของผู้อื่นไม่ให้ต้องได้รับความอับอาย ขายหน้า เช่น ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไรควรต้องไว้หน้าผู้หลักผู้ใหญ่บ้าง ติเตียนศิษย์ต้องไว้หน้าครู.
  36. ศรัทธา : [สัดทา] น. ความเชื่อ, ความเลื่อมใส, เช่น สิ้นศรัทธา ฉันมีศรัทธาใน ความดีของเขา บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ ประสาทะ เป็น ศรัทธาประสา ทะ. ก. เชื่อ, เลื่อมใส, เช่น เขา ศรัทธาในการรักษาแบบแพทย์แผน โบราณ. (ส. ศฺรทฺธา; ป. สทฺธา).
  37. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  38. ศุจิกรรม : น. การรักษาความบริสุทธิ์. (ส.; ป. สุจิกมฺม).
  39. สถานการณ์ฉุกเฉิน : (กฎ) น. สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ ในภาวะคับขัน หรือภาวะการรบหรือการสงคราม.
  40. สนม ๒ : [สะหฺนม] น. ข้าราชการในพระราชสํานักทําหน้าที่เกี่ยวกับพิธีศพ ทําสุกําศพหีบ จัดดอกไม้ ดูแลรักษาเครื่องนมัสการ โกศ หีบ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานสนมพลเรือน. (ข. สฺนุํ).
  41. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  42. สวัสดิภาพ : น. ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ตำรวจออกตรวจท้องที่ในเวลากลางคืนเพื่อสวัสดิภาพของประชาชน.
  43. สวัสดิ, สวัสดิ์ ๑, สวัสดี ๑ : [สะหฺวัดดิ, สะหฺวัด, สะหฺวัดดี] น. ความดี, ความงาม, ความเจริญ รุ่งเรือง; ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ขอให้มี ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ขอให้มีความสุขสวัสดี ขอให้สวัสดี มีชัย. (ส. สฺวสฺติ; ป. โสตฺถิ).
  44. สอบสวน : (กฎ) ก. รวบรวมพยานหลักฐานและดําเนินการอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทําไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะ ทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทําผิด มาฟ้องลงโทษ.
  45. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  46. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  47. สันติบาล : น. ผู้รักษาความสงบ.
  48. สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
  49. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  50. หมอยา : (ปาก) น. ผู้มีความรู้ในการใช้ยารักษาโรค.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3572

(0.0984 sec)