Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 1001-1050
  1. กี๋ : น. ฐานสําหรับรองสิ่งของหรือสำหรับนั่ง ทําด้วยวัตถุต่าง ๆ มีรูปต่าง ๆ กัน เช่น กี๋รองแจกัน กี๋รองกระถางต้นไม้; ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สําหรับใส่เครื่องน้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน.
  2. กี่ ๒ : ว. คําประกอบหน้าคําอื่น หมายความว่า เท่าไร เช่น กี่วัน กี่บาท, ใช้ตามหลังคําว่า ไม่ เป็น ไม่กี่ หมายความว่า ไม่มาก ไม่หลาย เช่น ไม่กี่วัน ไม่กี่บาท. (โบ ว่า ขี หรือ ขี่).
  3. กึก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน; ทันที เช่น หยุดกึก; (กลอน) ดังก้อง เช่น กึกฟ้าหล้าหล่มธรณี. (สมุทรโฆษ).
  4. กุ ๓ : (โบ) ก. กรุ เช่น กุกดดดาน คือ กรุกระดาน. (จารึกสยาม).
  5. กุ๊กกิ๊ก, กุ๊ก ๆ กิ๊ก ๆ : ก. พูดหรือเล่นกันเงียบ ๆ; ประจบ เช่น ไปกุ๊กกิ๊กกับแม่ไม่นานก็ได้เงินมา.
  6. กุกกุฏ- : [-กุตะ-] (แบบ) น. ไก่, ไก่ป่า, เช่น กุกกุฏ สังวัจฉร (ปีระกา). (ป.).
  7. กุกกุร- : [-กุระ-] (แบบ) น. สุนัข, ลูกสุนัข, เช่น กุกกุร สังวัจฉร (ปีจอ). (ป.).
  8. กุก่อง : (โบ) ว. รุ่งเรือง, สุกใส, เช่น กุก่องกนกมี. (สมุทรโฆษ).
  9. กุกะ : ว. ขรุขระ เช่น ทั้งน้ำใจก็ดื้อดันดุกุกะไม่คิดกลัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  10. กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
  11. กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง โดยมีก้ามข้างหนึ่งโตกว่า สามารถงับก้ามทําให้เกิดเสียงดังโดยเฉพาะ เมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัย หลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในน้ำเค็มและน้ำกร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus ที่พบอยู่ในน้ำจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก.
  12. กุงอน : [-งอน] น. นกช้อนหอย เช่น มีกุโงกกุงานและกุงอน. (สมุทรโฆษ).
  13. กุงาน : น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
  14. กุจี : (แบบ) น. หญิงค่อม เช่น ทฤษฎีกุจีจิตจํานง. (สุธน).
  15. กุฎ, กุฎา : [กุด, กุดา] (กลอน) น. ยอด เช่น มัชฌิมากุฎาประมาณ. (สมุทรโฆษ). (ป., ส. กูฏ).
  16. กุฎาคาร : น. เรือนยอดเช่นปราสาท เช่น ธก็แต่งกุฎาคาร ปราสาท. (ลอ.).
  17. กุฎาธาร : น. ยอด เช่น กุฎาธารธาษตรี. (ยอพระเกียรติ ร. ๒).
  18. กุฎี : น. กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ, เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส. กุฏิ).
  19. กุฏไต : (แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสําหรับทหาร).
  20. กุณฑ์ : น. ไฟ เช่น เกิดกุณฑ์วุ่นวายทั้งเวียงชัย. (อิเหนา). (ส.).
  21. กุณฑี : [-ที] น. คนที, หม้อน้ำ, หม้อน้ำมีหู, เต้าน้ำ, เช่น พลูกัดชลกุณฑี ลูกไม้. (โลกนิติ). (ป., ส.).
  22. กุณาล : [-นาน] (แบบ) น. นกดุเหว่า เช่น การวิกระวังวน กุณาล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  23. กุณิ, กุณี : น. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ?กุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  24. กุด : ก. ตัด ในคําว่า กุดหัว ว่า ตัดหัว. ว. ด้วนสั้นหรือเหี้ยนเข้าไป เช่น ยอดกุด นิ้วกุด หางกุด. (ถิ่น-อีสาน) น. บึง, ลําน้ำที่ปลายด้วน.
  25. กุดั่น : น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทําด้วยไม้จําหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจํายาม.
  26. กุดา : (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์. (ม. คําหลวง มัทรี).
  27. กุนที : [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่น้ำ).
  28. กุม : ก. เอาอุ้งมือปิด ป้อง กัน หรือ จับไว้ เช่น กุมขมับ กุมมือ กุมดาบ; คุม เช่น กุมตัว กุมสติ กุมอํานาจ.
  29. กุ่ม : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Crateva วงศ์ Capparidaceae ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเป็นช่อ กลีบดอกสีขาวแล้วกลายเป็นสีเหลือง ผลกลมหรือรูปไข่ ผิวนอกแข็งและสาก ๆ สีเขียวนวล เช่น กุ่มบก [C. adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs] กุ่มน้ำ [C. magna (Lour.) DC. และ C. religiosa Forst.f.].
  30. กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ : [-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).
  31. กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
  32. กุมารา : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  33. กุย ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. หมัด, กําปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคํา ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี. (ขุนช้างขุนแผน).
  34. กุรระ, กุรุระ : [กุระระ, กุรุระ] (แบบ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. กุรร).
  35. กุรุง : (โบ) น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์
  36. กุรุพินท์ : น. ทับทิม, เขียนเป็น กรพินธุ์ ก็มี เช่น ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (ส. กุรุวินฺทุ ว่า แก้วทับทิม).
  37. กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
  38. กุลา ๒ : น. ชนชาติต้องสู้และไทยใหญ่, กุหล่า หรือ คุลา ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ) ใช้เรียกชนต่างประเทศ เช่น เรียกชนชาติฝรั่งว่า กุลาขาว, เรียก ชนชาติแขกว่า กุลาดํา.
  39. กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  40. กุลี ๒ : เพี้ยนมาจาก กลี เช่น เกิดการกุลี. (กฎ. ราชบุรี).
  41. กุศราช : [กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).
  42. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  43. กุหลาบ : [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่น (R. damascena Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาใน ระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (R. simsii Planch.) กุหลาบขาว (R. ludwigianum Hoss.).
  44. กู่ ๑ : (โบ) น. วิหาร เช่น ในกู่แก้วเกษมมฤคทายพนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร); (ถิ่น-พายัพ) อนุสาวรีย์, กุฏิ, เจดีย์.
  45. กู้ ๑ : ก. ทําให้กลับคืนดีอย่างเดิม เช่น กู้เรือ กู้ชาติ กู้ชื่อ; เก็บเข้าที่ เช่น กู้ข้าว กู้ผ้า; เอาเครื่องจับปลาขึ้นจากน้า เช่น กู้ไซ กู้ลอบ.
  46. กูด ๑ : น. ชื่อเฟินหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ ชนิดที่กินได้ เช่น กูดขาว หรือ ผักกูด (Diplazium esculentum Sw.) กูดกิน [Pteridium aquilinum (L.) Kuhn var. yarrabense Domin] กูดแดง (Stenochlaena palustris Bedd.);ทางเหนือและอีสาน เรียกเฟินว่า กูด.
  47. กูด ๒ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน, ปักษ์ใต้) ว. หงิก เช่น ผักกูด คือ ผักยอดใบหงิก.
  48. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  49. เก่ : (ปาก) ว. เข้าที เช่น ว่าไม่เป็นเก่ คือ ว่าไม่เข้าที.
  50. เกก : ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกันว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไปว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง. (ตําราช้างคําโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออกว่า เขื่อนเกก.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | [1001-1050] | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1375 sec)