Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2151-2200
  1. จาป ๑ : [จาบ, จาปะ] (แบบ) น. ธนู, ศร, หน้าไม้, เช่น ชักกุทัณฑกำซาบ ด้วยลูกจาปแล่นลิ่ว. (อนิรุทธ์). (ป., ส.).
  2. จาป ๒ : [จาบ] (แบบ) น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จากจาปน้อยแนบอก แลนา. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ป. จาป; ส. ศาว).
  3. จาม ๒ : ก. อาการของลมที่พุ่งออกมาทางจมูกและปาก มักจะเป็นห้วง ๆ ใน ทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจ เพราะเกิดระคายเคืองในจมูก; ฟันลงไปเต็มที่ เช่น เอาขวานจามหัว.
  4. จ่ามงกุฎ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วย ใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).
  5. จ่าย : ก. เอาออกใช้หรือให้ เช่น จ่ายเครื่องแบบ, โดยปริยายหมายความว่า ซื้อ ก็มี เช่น จ่ายกับข้าว.
  6. จาร ๑ : [จาน] ก. ใช้เหล็กแหลมเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นให้เป็นตัวหนังสือ เช่น จึงจารจารึกอันนี้ไว้อีกโสด. (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ). (จารึกสมัยสุโขทัย). น. เรียกเหล็กแหลมสำหรับเขียนลงบนใบลานหรือศิลาเป็นต้นว่า เหล็กจาร. (ข.).
  7. จาร- ๒ : [จาระ-] น. ผู้สอดแนม, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นในคำว่า จารกรรม จารชน จารบุรุษ จารสตรี. (ป., ส.).
  8. จารี : น. ผู้ประพฤติ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ธรรมจารี สัมมาจารี. (ป.).
  9. จารึก ๒ : ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
  10. จาว ๆ : ว. ห่าง ๆ เช่น เนาผ้าจาว ๆ, จะจะ เช่น วางเครื่องข้าวยำจาว ๆ ให้เลือกกิน.
  11. จาว ๑ : น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย. (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์. (ทวาทศมาส).
  12. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  13. จาว ๓ : ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา. (ทวาทศมาส). (ไทยขาว จาว ว่า ตกลง, ยอมตาม; จ่าว ว่า คล้อย ตามคำแนะนำ).
  14. จาว ๔ : น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยาย หมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
  15. จาว ๕ : ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี. (ม. คำหลวง มหาพน). (ลาว จาว ว่า กำลังบาน).
  16. จาว ๖ : ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  17. จ่าหน้า : ก. เขียนบอกไว้ข้างหน้า เช่น จ่าหน้าซอง, เขียนบอกไว้ที่ ต้นเรื่อง เช่น จ่าหน้าเรื่อง.
  18. จำ ๑ : ก. กําหนดไว้ในใจ, ระลึกได้, เช่น จําหน้าได้.
  19. จ้ำ ๑ : ก. พายเรือแจวถี่ ๆ เช่น เขาจ้ำเรือข้ามฟาก, ฟันหรือแทงถี่ ๆ เช่น ผู้ร้ายจ้ำแทง. ว. อาการที่ทำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายเรือจ้ำเอา ๆ เขียนหนังสือจ้ำเอา ๆ.
  20. จำ ๒ : ก. ลงโทษด้วยวิธีเอาโซ่ตรวนล่ามไว้ เช่น จําโซ่ จําตรวน, ลงโทษด้วย วิธีขังเช่น จําคุก.
  21. จำ ๓ : ก. อาการที่ต้องฝืนใจทํา เช่น จำใจจากแม่เปลื้อง ปลิดอก อรเอย. (นิ. นรินทร์).
  22. จ้ำ ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Ardisia วงศ์ Myrsinaceae บางชนิดดอกและยอดอ่อนกินได้เรียก ผักจํ้า เช่น ชนิด A. arborescens Wall. ex A. DC.
  23. จำ ๔ : (โบ) น. ชายผ้า เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (อะหม จํา ว่า ชายผ้า).
  24. จำกัด : ก. กําหนดหรือขีดคั่นไว้โดยเฉพาะ เช่น จํากัดอายุ จํากัดความรู้.
  25. จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
  26. จำทวย ๒ : (กลอน) ก. ถือ, ถืออาวุธร่ายรํา, เช่น จําทวยธนูในสนาม. (สมุทรโฆษ).
  27. จำแทง : (โบ) ก. เผ่นขึ้น, โผขึ้น, ตั้งขึ้น, ชูขึ้น, งอกขึ้น; ถืออาวุธร่ายรําท่าแทง, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง รำจำแทงองอาจ เผ่นผงาดขับสารสีห์. (ลอ).
  28. จำนวนตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษและส่วนต้องเป็นจํานวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซํ้าได้ เช่น เศษ ๑ ส่วน ๙ (เท่ากับ ๐.๑), เศษ ๑๒ ส่วน ๙๙ (เท่ากับ ๐.๑๒).
  29. จำนวนอตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยม ไม่รู้จบประเภทไม่ซํ้าได้ เช่น รากที่ ๒ ของ ๒ (= ๑.๔๑๔๒๑๓๕...), p (= ๓.๑๔๑๕๙๒๖...).
  30. จำนอง : ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กําหนด, จําไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง. (ลอ). (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคล คนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จํานอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ ผู้รับจํานอง. (แผลงมาจาก จอง).
  31. จำนัล : ก. แจจัน เช่น จํานัลจํานับรอบราย. (สมุทรโฆษ). (ข. จาล่, จัล, จำนัล ว่า ปะทะ). (ดู แจจน, แจจัน).
  32. จำเนียม : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ เช่น บรรจงภาพจําเนียม. (ลอ). (แผลงมาจาก เจียม).
  33. จำแนก : ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จําแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก แจก).
  34. จำบ่ม : ว. ผลไม้ที่แก่ยังไม่ได้ที่ เก็บเอามาบ่มให้สุก เรียกว่า ผลไม้จําบ่ม เช่น มะม่วงจําบ่ม.
  35. จำบัง ๑ : ก. รบ เช่น คชจําบังข้าศึก. (ตะเลงพ่าย). น. ศึก, สงคราม; นักรบ. (จารึกสยาม). (ข. จํบาง, จมฺบําง ว่า การรบ, สงคราม).
  36. จำบัง ๒ : ก. กำบังกาย, หายตัวไป, เช่น โจนจำบับจำบัง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  37. จำเบศ : ความหมายอย่างเดียวกับ จําบัง แต่เพื่อประโยชน์ในกลอนจึงใช้ ศ เข้าลิลิต เช่น หมู่โยธาโยเธศ รู้จําเบศจําบัง. (ม. คําหลวง มหาราช).
  38. จ้ำเบ้า : ว. อาการที่ก้นกระแทกพื้นลุกไม่ขึ้น เช่น หกล้มจํ้าเบ้า.
  39. จำเพาะ : ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จําเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจากบ้าน จึงไปไม่ได้.
  40. จำราย : (กลอน) ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจํารายศักดิ์ โสภิต. (ทวาทศมาส).
  41. จำรูญ : ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
  42. จำเริญ : ก. เติบโต, งอกงาม, มากขึ้น, สมบูรณ์; ทิ้ง เช่น จําเริญยา, ตัด เช่น จําเริญเกศา. (แผลงมาจาก เจริญ).
  43. จำลอง ๑ : ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง, ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
  44. จำแล่น : ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล. (ม. คำหลวง มหาราช).
  45. จำศีล : ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิด นอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล.
  46. จำหน่าย : ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จําหน่ายจากบัญชี. (แผลงมาจาก จ่าย).
  47. จำหลอก : [-หฺลอก] (กลอน) ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็น ลวดลาย, เช่น จําหลักจําหลอกกลม ภบังอวจจําหลักราย. (สมุทรโฆษ).
  48. จำหัน ๒ : ว. ฉัน, มีแสงกล้า; เฉกเช่น, ดังเช่น; โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉัน).
  49. จำหาย ๒ : ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).
  50. จำหุด : ก. แม่น, ปรากฏ, เที่ยง, แข็งแรง, เปรื่องปราด, ศักดิ์สิทธิ์, สําคัญ, เช่น อันหนึ่งให้จำหุดให้กระทำบุญ. (ไตรภูมิ). (ข. จํหุต ว่า ความถูกต้อง, ความเที่ยงตรง).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | [2151-2200] | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1764 sec)