Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6401-6450
  1. ละคร : [–คอน] น. การแสดงประเภทหนึ่ง ผู้แสดงเรียกว่า ตัวละคร มีเวที หรือสถานที่ใช้ในการแสดง มีบทให้ตัวละครแสดงตามเนื้อเรื่อง โดยมากมีดนตรีประกอบ มีลักษณะแตกต่างกันออกไปหลายชนิด; การเล่นที่ใช้สัตว์เป็นตัวแสดง เช่น ละครลิง ละครสัตว์, โดยปริยาย หมายถึงความเป็นไปของชีวิต เช่น ละครชีวิต โลกคือละครโรงใหญ่.
  2. ละครดึกดำบรรพ์ : น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการ ตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยา อาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และ ใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะ งดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).
  3. ละครพันทาง : น. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติ ต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.
  4. ละครพูด : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครพูดบทของตนในการดำเนินเรื่อง อาจพูดเป็นถ้อยคำ ธรรมดา คำกลอน คำฉันท์ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัย ที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครพูดเรื่องหัวใจนักรบ ละครพูดคำ กลอนเรื่องพระร่วง ละครพูดคำฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.
  5. ละครเพลง : น. ละครที่ผู้แสดงร้องเพลงดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง ใช้เพลงและดนตรีสากลประกอบ ไม่มีลูกคู่ จัดฉากและแต่งกาย แบบสมัยนิยมตามเนื้อเรื่อง เช่น ละครเพลงเรื่องราชินีบอด เรื่อง เปลวสุริยา.
  6. ละครร้อง : น. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจา ตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตาม สมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
  7. ละครเล็ก : น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็ก เรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  8. ละครสังคีต : น. ละครแบบหนึ่ง รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องและพูดบทของตน การร้องเพลงและการพูดมีความ สำคัญเท่ากัน ตัดส่วนใดออกเนื้อเรื่องจะขาดไป ดนตรีประกอบ ไพเราะ มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครสังคีตเรื่องวิวาหพระสมุท เรื่องมิกาโด, บางทีเรียกว่า ละคร พูดสลับลำ.
  9. ละทิ้ง : ก. ละด้วยวิธีทิ้ง เช่น ละทิ้งหน้าที่.
  10. ละม่อม : ว. สุภาพ, อ่อนโยน, (ใช้แก่กิริยาอาการที่เรียบร้อย งดงาม ไม่ขัดเขิน ไม่กระด้าง), มักใช้เข้าคู่กับคํา ละมุน เป็น ละมุนละม่อม หมายความ ว่า อ่อนโยน นิ่มนวล; โดยไม่มีการขัดขืน (ใช้แก่การจับกุม) เช่น ตำรวจจับผู้ร้ายได้โดยละม่อม.
  11. ละม้าย : ว. คล้าย, เกือบจะเหมือน, เช่น หน้าตาละม้ายไปทางแม่.
  12. ละมุน : ว. อ่อนนุ่ม, นุ่มนวล, เช่น ผ้ากำมะหยี่เนื้อนิ่มละมุนมือ.
  13. ละมุนละม่อม : ว. อ่อนโยน, นิ่มนวล, เช่น เขามีกิริยาท่าทางละมุน ละม่อม.
  14. ละมุนละไม : ว. อ่อนนุ่มพอดี ๆ ไม่สวยและไม่แฉะ เช่น หุงข้าวได้ ละมุนละไม ข้าวเหนียวมูนได้ละมุนละไม; เรียบร้อย, นุ่มนวล, เช่น เด็กคนนี้มีกิริยามารยาทละมุนละไม.
  15. ละเม็ด : น. ชนชาวเขาจําพวกข่า อยู่ทางแคว้นสิบสองจุไทย.
  16. ละเมอ : ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
  17. ละเมียดละไม : ก. สุภาพนุ่มนวล เช่น กิริยามารยาทละเมียดละไม สำนวนละเมียดละไม, แนบเนียนไม่ขัดเขิน เช่น เข้าพระเข้านาง ได้ละเมียดละไม.
  18. ละไม ๑ : ว. น่ารักน่าเอ็นดู, งามชวนดู, ชื่นบาน, เช่น ยิ้มละไม งามละไม.
  19. ละลด : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
  20. ละลนละลาน : ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
  21. ละลมละลาย : ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป.
  22. ละลวย : ก. งงงวย, ทําให้หลง, เช่น คาถามหาละลวย. ว. มีมาก, ได้มาก; อ่อน, นุ่ม.
  23. ละลานใจ : ก. ตื่นใจ, วุ่นวายใจ, เช่น เห็นเพชรเม็ดงามละลานใจ.
  24. ละลานตา : ก. ตื่นตา เช่น ผู้คนมากมายละลานตา.
  25. ละลาบละล้วง : ก. ล่วงเกิน, อาจเอื้อม, เช่น การถามเรื่องส่วนตัวถือเป็นการละลาบ ละล้วง.
  26. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  27. ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
  28. ละล้าว : ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
  29. ละเลง : ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
  30. ละเลงเลือด : ว. อาการที่ต่อสู้กันจนเลือดออกมากเปรอะไปด้วยกัน เช่น ทั้ง ๒ ฝ่ายต่อสู้กันถึงขั้นละเลงเลือด.
  31. ละเลย : ก. เพิกเฉย, ทอดทิ้ง, เช่น ละเลยไม่เอาธุระ
  32. ละเลิง : ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลําพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิง จนลืมอันตราย.
  33. ละเลียด : ก. กินทีละน้อย ๆ เช่น มัวละเลียดอยู่นั่นแหละ.
  34. ละโลก : ก. ตาย เช่น เขาละโลกไปแล้ว.
  35. ละวาง : ก. ปล่อยวาง เช่น ละวางกิเลส.
  36. ละเว้น : ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคน ถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น.
  37. ละแวก ๒ : น. เขตบริเวณ เช่น ละแวกบ้าน.
  38. ละห้อย : ว. อาการที่พูดเว้าวอนด้วยน้ำเสียงอ่อย ๆ ก่อให้เกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ เช่น เสียงละห้อย; โศกเศร้าเพราะความผิดหวังหรือ คิดถึง เช่น หน้าละห้อย.
  39. ละห้อยละเหี่ย : ว. อาการที่อ่อนอกอ่อนใจเพราะผิดหวังหรือเหนื่อย มากเป็นต้น เช่น เดินละห้อยละเหี่ย.
  40. ละเหี่ย : ก. อ่อนใจ, อิดโรย, เช่น กินยาลมแก้ใจละเหี่ย, ละเหี่ยใจ ก็ว่า.
  41. ละออง : น. สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นผงเป็นฝอยละเอียดยิบ เช่น ละอองฝน ละอองน้ำ ละอองฟาง ละอองข้าว; ฝ้าขาวที่ขึ้นในปากเด็กเล็ก ๆ เมื่อไม่สบาย เช่น เด็กท้องเสียลิ้นเป็นละออง.
  42. ละอาย : ก. รู้สึกอายที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด, ละอายใจ ก็ว่า.
  43. ละเอียด : ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้า ละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือ แจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดย ละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
  44. ละเอียดลออ : ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย.
  45. ละเอียดอ่อน : ว. ประณีต, นิ่มนวล, เช่น การรำไทยเป็นศิลปะที่ ละเอียดอ่อน ศิลปะและดนตรีมีความละเอียดอ่อน; ลึกซึ้ง, สลับ ซับซ้อน, ยากที่จะเข้าใจได้, เช่น ศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน; อ่อนไหวง่าย, สะเทือนใจง่าย, เช่น บางคนถือเรื่องส่วนตัว เรื่อง การเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน.
  46. ลัก : ก. เอาสิ่งของที่เขาไม่ให้ไปด้วยอาการซ่อนเร้น, ขโมย, เช่น ลักทรัพย์, แอบทำ, ลอบทำ, เช่น ลักกินขนมในห้องเรียน ลักสูบบุหรี่ในห้องน้ำ. ว. เว้นข้ามไปทำให้เสียระเบียบ เช่น รถไฟลักหลีก ทำให้รถ ๒ ขบวนชนกัน.
  47. ลักไก่ : (ปาก) ก. หลอกล่อให้หลงเข้าใจผิด, ใช้อุบายลวงให้หลง, (มักใช้แก่การกีฬา) เช่น ยิงลูกลักไก่, ถือไพ่แต้มต่ำ แต่เพิ่มเค้า เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจผิดว่าตนถือไพ่แต้มสูง (ใช้แก่การเล่น โป๊กเกอร์หรือเผ).
  48. ลักลอบ : ก. ลอบกระทำการบางอย่าง เช่น ลักลอบได้เสียกัน ลักลอบ เข้าเมือง ลักลอบเล่นการพนัน.
  49. ลักลั่น : ว. ขาดความเป็นระเบียบทําให้เกิดเหลื่อมลํ้าไม่เป็นไปตาม กฎตามแบบตามลําดับเป็นต้น เช่น ทำงานลักลั่น เครื่องใช้ต่างชุด ต่างสำรับใช้ปนกันดูลักลั่น.
  50. ลักษณนาม : (ไว) น. คํานามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | [6401-6450] | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2040 sec)