Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 4451-4500
  1. เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
  2. เป๋าฮื้อ ๑ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวในสกุล Haliotis วงศ์ Haliotidae เปลือก เป็นมุกรูปเหมือนใบหู ด้านข้างมีรูทะลุจํานวน ๖-๗ ช่องเรียงเป็น แถว เกาะอยู่ตามโขดหินในทะเล เนื้อกินได้ เปลือกทําเป็นเครื่อง ประดับและของใช้ เช่น กระดุม ด้ามมีดพับ พบจํานวนน้อยใน น่านนํ้าของประเทศไทย, โข่งทะเล ก็เรียก.
  3. เปาะเปี๊ยะ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง โดยนําแป้งสาลีมาทําให้สุกเป็นแผ่นกลม บาง ๆ เรียกว่า แผ่นเปาะเปี๊ยะ แล้วห่อถั่วงอกลวก หมูตั้งหรือกุนเชียง ชิ้นเต้าหู้ต้มเค็ม และแตงกวา ราดด้วยน้ำปรุงรสข้น ๆ รสหวานเค็ม โรยหน้าด้วยเนื้อปูและไข่หั่นฝอย หรือห่อรวมไว้ในแผ่นเปาะเปี๊ยะ ก็ได้ กินกับต้นหอมและพริกสด เรียกว่า เปาะเปี๊ยะสด, ชนิดที่ใช้ แผ่นเปาะเปี๊ยะห่อไส้ที่ประกอบด้วยวุ้นเส้น ถั่วงอก เนื้อไก่หรือหมูสับ เป็นต้นที่ลวกสุก แล้วนำไปทอด กินกับผักสดต่าง ๆ เช่น ใบโหระพา สะระแหน่ และน้ำจิ้มใสรสหวานอมเปรี้ยว เรียกว่า เปาะเปี๊ยะทอด. (จ.).
  4. เปิก : ว. ปอกหรือเลิกออก เช่น เล็บเปิก หนังเปิก.
  5. เปิง : ว. ยับเยิน, พัง, ทลาย, เช่น หลังคาเปิง ด่าเสียเปิง.
  6. เปิง ๆ : ว. ดังเต็มที่ เช่น เสียงร้องเปิง ๆ, เตลิดไป เช่น วิ่งเปิง ๆ.
  7. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  8. เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
  9. เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
  10. เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
  11. เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
  12. เปิ่น : (ปาก) ว. แสดงกิริยาอาการหรือกระทําการใด ๆ ผิดแปลกไปจาก ปรกติที่เป็นอยู่ในหมู่พวกหรือที่นิยมกันตามประเพณี เช่น แต่งตัวเปิ่น ทำท่าเปิ่น.
  13. เปียก ๑ : ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
  14. เปียก ๒ : ก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียก ข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าว ที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรส เค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า ตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรย ถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.
  15. เปียกแฉะ : ก. มีน้ำชุ่มอยู่มาก เช่น ถนนเปียกแฉะ.
  16. เปียกชื้น : ก. เปียกพอหมาด ๆ เช่น ผ้าเปียกชื้น.
  17. เปียกโชก : ก. เปียกชุ่มทั่วตัว เช่น น้ำเปียกโชก เหงื่อเปียกโชก.
  18. เปียกปอน : ก. เปียกมาก เช่น ถูกสาดน้ำจนเปียกปอน.
  19. เปี๊ยบ : (ปาก) ว. ที่สุด เช่น แหลมเปี๊ยบ เหมือนเปี๊ยบ.
  20. เปี่ยม : ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่, บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
  21. เปียว : (โบ) ก. เป่า เช่น เปียวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
  22. เปื้อน : ก. ติดสิ่งที่ทําให้เกิดสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการ เช่น เปื้อนโคลน เปื้อนแกง เปื้อนเลือด. ว. มีสิ่งสกปรก น่ารังเกียจ หรือไม่ต้องการติดอยู่ เช่น มือเปื้อน ผ้าเปื้อน.
  23. เปื่อย : ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย.
  24. แป้งสด : น. นํ้าอบกับแป้งรํ่านํ้าดอกไม้เทศใช้ชุบผ้าห่อใบตอง สําหรับแจก; แป้งที่ทําขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก.
  25. แปบ ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล Paralaubuca และ Oxygaster วงศ์ Cyprinidae ลําตัวแบนข้างมาก สันท้องคม ไม่มีหนวด ขนาด ยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด P. riveroi, แปบขาว (O. oxygastroides) ทั้งยังหมายถึงปลาท้องพลุ (Cultrops siamensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกันด้วย.
  26. แปร๊ด : [แปฺร๊ด] ว. จัด, มาก, (ใช้แก่รสบางรสหรือสีบางสี) เช่น เปรี้ยวแปร๊ด แดงแปร๊ด.
  27. แปรปรวน : ก. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อยู่ที่เป็นปรกติ เช่น อากาศ แปรปรวน, รวนเร เช่น ใจแปรปรวน, ปรวนแปร ก็ว่า.
  28. แประ : [แปฺระ] ว. อาการที่เพียบจวนจะจม (ใช้แก่เรือ) ในคำว่า เพียบแประ, เต็มที่ เช่น เมาแประ.
  29. แปล้ : [แปฺล้] ว. แบนราบ เช่น หวีผมแปล้, เพียบ, เต็มที่ เช่น อิ่มแปล้ หนักแปล้; เตี้ยลง.
  30. แปลก, แปลก ๆ : [แปฺลก] ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น แปลกตา แปลกใจ; ต่าง, เพี้ยนไป, ผิดปรกติ เช่น เป็นคนแปลก.
  31. แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
  32. แปลง ๒ : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
  33. แปลง ๓ : [แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
  34. แปลน ๑ : [แปฺลน] น. เรียกของที่มีเนื้อหรือเปลือกหุ้มไม่รอบ เช่น ทุเรียน แปลน คือ ทุเรียนมีเนื้อหุ้มไม่รอบเม็ด. ก. ปรากฏ, โผล่, ผุด, เช่น ทุเรียนเม็ดแปลน
  35. แปล้น้ำ : ก. ปริ่มน้ำ เช่น เรือแปล้น้ำ.
  36. แปลบ, แปลบ ๆ, แปล๊บ, แปล๊บ ๆ : [แปฺลบ] ว. ปลาบ, แวบ, วาบ, (ใช้แก่แสงสว่าง) เช่น ฟ้าแลบแปลบ; อาการที่รู้สึกเจ็บแวบแล่นเข้าไปในกาย, อาการที่รู้สึกวาบเข้าไปใน หัวใจ, อาการที่สะดุ้งวับขึ้น.
  37. แป้ว : ว. เบี้ยว, แฟบ, (มักใช้แก่ของที่มีลักษณะกลม ๆ) เช่น ขวดแป้ว ผลไม้แป้ว; อาการที่ใจฝ่อหรือหดหู่ลง ในคำว่า ใจแป้ว.
  38. โป้ : ก. โว, พูดอวดดี, เช่น บ้านํ้าลายพูดโอ้ออกโป้ไป. (คาวี). ว. ใหญ่.
  39. โป๊ : ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก) ว. เปลือย หรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ ควรปกปิด เช่น แต่งตัวโป๊.
  40. โป่ง : น. ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลมหรือแก๊ส เช่น ลูกโป่ง; พื้นดินที่มี เกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีโป่ง เรียกว่า ป่าโป่ง ดินโป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีโป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้าง คอยยิงสัตว์ที่มากินดินโป่งว่า นั่งโป่ง, ป่ง ก็ว่า; เรียกพื้นดินที่มีนํ้าผุด พุขึ้นมาว่า โป่งน้ำ โป่งนํ้า และเรียกนํ้าที่ผุดพุขึ้นมานั้นว่า นํ้าโป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ ป่ง ก็ว่า. โป่งค่าง น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบ ออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกัน ว่าเป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง.
  41. โป้ง : ว. อาการที่พูดโพล่งออกมาโดยไม่ระมัดระวังปาก หรือพูดเปิดเผย สิ่งที่ไม่สมควรออกมาโดยไม่คํานึงถึงความผิดพลาดเสียหาย; ใหญ่ เช่น หัวโป้ง; เสียงดังอย่างเสียงปืนเป็นต้น.
  42. โป๊ยเซียน ๑ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia milii Des Moul. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมเรียงเวียน รอบต้น มียางขาว ดอกเล็ก มีหลายสี เช่น สีแดง ชมพู เหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุก.
  43. โปร่ง : [โปฺร่ง] ว. มีลักษณะว่างหรือเปิดเป็นช่อง, ไม่ทึบ, เช่น ใต้ถุนโปร่ง ที่โปร่ง ป่าโปร่ง; แจ่มใสไม่อึดอัด เช่น สมองโปร่ง.
  44. โปรด : [โปฺรด] ก. ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น โปรดสิ่งสวยงาม, แสดงความ เมตตากรุณาโดยปลดเปลื้องความเดือดร้อนเป็นต้น เช่น โปรด ข้าพเจ้าสักครั้ง, ใช้ประกอบหน้ากริยา แสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น โปรดนั่งนิ่ง ๆ. ว. ที่ถูกใจหรือพอใจมาก เช่น คนโปรด ของโปรด. (ข. โปฺรส).
  45. โปรย : [โปฺรย] ก. ตกลงมาเป็นเม็ด ๆ กระจายทั่วไป เช่น ฝนโปรย, ทําให้ ตกลงมาด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โปรยข้าวตอกดอกไม้.
  46. โปะ : ก. พอกเข้าไป เช่น เอาดินโปะ; เพิ่ม, ทุ่ม, เช่น โปะเงินลงไป.
  47. โป๊ะแตก : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา.
  48. ไป : ก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคําประกอบท้าย กริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทําไป กินไป, เป็นคํา ประกอบท้ายคําวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
  49. ไป ๆ มา ๆ : ว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอ เงินพ่อใช้.
  50. ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | [4451-4500] | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2121 sec)