Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 401-450
  1. กระย่อน : ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง, กระหย่อน ก็ใช้; ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อนก็กระย่อนอยู่ยานโยน. (สมุทรโฆษ); ขยับ เช่น ยกค้อนกระย่อนดูบริพาร. (สมุทรโฆษ).
  2. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  3. กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
  4. กระยาจก : (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก).
  5. กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย : (โบ) น. สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน.
  6. กระยาหงัน : น. วิมาน, สวรรค์ชั้นฟ้า, เช่น อวยชัยให้พรแล้วเทวัญ กลับคืนกระยาหงันชั้นฟ้า. (อิเหนา). (ม. กะยางัน ว่า สวรรค์, ที่อยู่ของเทวดา).
  7. กระรอก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor).
  8. กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  9. กระลด : [-หฺลด] (กลอน; แผลงมาจาก กลด) น. ร่ม เช่น เทียวทองธงชัย และแซงกระลดชุมสาย. (สมุทรโฆษ).
  10. กระลบ : [-หฺลบ] (กลอน; แผลงมาจาก กลบ) ก. ตระหลบ. ว. ฟุ้ง เช่น ก็หอมกระลบอบองค์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  11. กระลอก : [-หฺลอก] (กลอน) แผลงมาจาก กลอก เช่น พื้นบรรพตเลื่อมล้วนมณีผา กระลอกรุ่งพรุ่งพรายถึงเมฆา. (สมบัติอมรินทร์), ใช้เข้าคู่กับคํา กระลับ หรือ กระลาย เป็น กระลับกระลอก หรือ กระลายกระลอก.
  12. กระละหล่ำ : ก. กล้า, เกือบ, เช่น กระละหล่าจกกเป็นแต่กี้. (ทวาทศมาส).
  13. กระลัด : [-หฺลัด] (กลอน; แผลงมาจาก กลัด) ว. เข้มแข็ง เช่น กระลัดในกลางสงคราม. (สมุทรโฆษ).
  14. กระลับ : [-หฺลับ] (กลอน) แผลงมาจาก กลับ เช่น ก็กระลับกระลอกแทง. (อนิรุทธ์).
  15. กระลัมพร : น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น ก็ทํากระลัมพรกาล. (สมุทรโฆษ), (แผลงมาจาก กลัมพร), เขียนเป็น กระลําพร ก็มี.
  16. กระลา ๑ : (โบ) น. ท่วงที. (อนันตวิภาค); ที่, กอง, เช่น กระลาบังคลคนผจง. (ดุษฎีสังเวย). (เทียบ ข. กฺรฬา).
  17. กระลา ๒ : น. องค์ของการบูชา เช่น กระลาพิธีกรกุณฑ์. (เสือโค). (แผลงมาจาก กลา). (ส. กลา มีองค์ ๓ คือ มนตร์ สัมภาระ และ ศรัทธา).
  18. กระลาการ : (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไป โดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
  19. กระลาพิม : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย. (กำสรวล).
  20. กระลายกระลอก : [-หฺลอก] (โบ; กลอน; แผลงมาจาก กลายกลอก) ก. สับสน เช่น เสือสีห์หมีควาย กระลายกระลอกซอกซอน. (สมุทรโฆษ).
  21. กระลาศรี : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล).
  22. กระลำ : (กลอน; ย่อมาจาก กระลําพร) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น จะเกิดกระลีกระลําแต่ล้วนร้อนใจ. (โชค-โบราณ). (ดู กลัมพร).
  23. กระลี : น. สิ่งร้าย, โทษ. ว. ร้าย เช่น กระลีชาติ กระลียุค.
  24. กระลึง : (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ).
  25. กระลุมพุก ๒ : (กลอน) น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง. (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก๒).
  26. กระลุมพู : น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน. (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู).
  27. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  28. กระลู่น์ : ว. น่าสงสาร เช่น กระลู่น์แลดูดาลแสยง. (สุธน).
  29. กระเลียด : [-เหฺลียด] (กลอน) แผลงมาจาก เกลียด เช่น ไยเยาวเคียดและ กระเลียด ฤเหลือบพระพักตร์ผิน. (สรรพสิทธิ์).
  30. กระวน : (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
  31. กระวัด : [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
  32. กระว่า : (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
  33. กระวาน ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระวานกระแวนแกลนกลัว. (สมุทรโฆษ).
  34. กระวาย : (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
  35. กระวายกระวน : ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวน ด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
  36. กระวิน ๒ : (โบ) ว. สีน้ำตาล เช่น โคกระวิน. (ทมิฬ = กระวิล แผลงมาจาก ป. กปิล).
  37. กระวี ๑ : น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระ พินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์ อยู่ในศีลสัจ. (สามดวง). (แผลงมาจาก กวี).
  38. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  39. กระเวน ๒ : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
  40. กระเวน ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
  41. กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
  42. กระแวน : น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน).
  43. กระษาปณ์ : [-สาบ] น. เงินตราที่ทําด้วยโลหะ เช่น เหรียญกระษาปณ์ โรงกระษาปณ์, กษาปณ์ ก็ใช้. (ส. การฺษาปณ; ป. กหาปณ).
  44. กระษิร : [-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. น้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).
  45. กระเษียร : (โบ; กลอน; แผลงมาจาก เกษียร) น. น้ำนม เช่น เนาในกระเษียรนิทรบันดาล. (สรรพสิทธิ์).
  46. กระสรวล : [-สวน] (กลอน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ. (นิ. นรินทร์).
  47. กระสวน : น. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสําหรับสร้างหรือทําของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.
  48. กระสอบทราย : น. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้าง ขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของ นักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้าย ร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.
  49. กระสัง ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจ ใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
  50. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1517 sec)