Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 4901-4950
  1. พิศวาส : [พิดสะหฺวาด] ว. รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).
  2. พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  3. พิสดาร : [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
  4. พิสมัย : [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
  5. พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
  6. พี่ : น. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดก่อน, ผู้ที่มีศักดิ์เสมอพี่; คํานําหน้าชื่อคนที่มีอายุคราวพี่หรือมีศักดิ์เสมอพี่ เช่น พี่นั่น พี่นี่.
  7. พี่เลี้ยง : น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
  8. พึง : ว. คําช่วยกริยาอื่น หมายความยอมตาม แปลว่า ควร เช่น พึงไป ว่าควรไป, หมายความจําเป็น แปลว่า ต้อง เช่น กิจที่สงฆ์จะพึงทํา ว่า กิจที่สงฆ์จะต้องทํา.
  9. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  10. พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
  11. พึ่บ, พึ่บพั่บ : ว. ทันทีทันใด เช่น ไฟลุกพึ่บ ลุกกันพึ่บพั่บ; เสียงดังเช่นนั้นอย่าง เสียงนกกระพือปีกเป็นต้น.
  12. พึม : ว. เสียงบ่นเบา ๆ เช่น นักเรียนบ่นกันพึมเลย.
  13. พึมพำ : ก. พูดค่อย ๆ จับความไม่ได้ เช่น เขาพึมพำอยู่คนเดียว.
  14. พืชชั้นต่ำ : น. พืชเซลล์เดียว และเซลล์นั้นทําหน้าที่เลี้ยงตัวเองได้ เช่น ไข่หินหรือดอกหินผักไก.
  15. พืชชั้นสูง : น. พืชหลายเซลล์ แต่ละเซลล์ทําหน้าที่ต่างกันและต้อง อาศัยซึ่งกันและกัน ได้แก่ ไม้ดอกและไม้ผล เช่น กล้วยตานี มะม่วง.
  16. พืชพันธุ์ : น. เมล็ดพันธุ์ไม้, สิ่งที่จะเป็นพันธุ์ต่อไป; (โบ; กลอน) กําพืด เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย. (ขุนช้างขุนแผน).
  17. พืด : น. แผ่นหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น พืดเขา, โดย ปริยายหมายถึงอาการของสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รถติดกันเป็นพืด; เรียกเหล็กเหนียวชนิดหนึ่งที่เป็นแผ่นยาวอย่าง เหล็กทําปลอกถังว่า แถบเหล็กพืด.
  18. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  19. พื้น ๆ : ว. เรียบ ๆ เช่น งามอย่างพื้น ๆ คือ งามอย่างเรียบ ๆ ไม่ ฉูดฉาดดีอย่างพื้น ๆ คือ ดีอย่างเรียบ ๆ ไม่โลดโผน, ธรรมดา ๆ เช่น กับข้าวพื้น ๆ.
  20. พื้นฐาน : น. รากฐาน เช่น เขามีพื้นฐานวิชาภาษาอังกฤษดี, หลัก ความรู้เบื้องต้น เช่น วิชาพื้นฐาน.
  21. พื้นเดิม : น. รกรากเดิม เช่น พื้นเดิมเป็นคนมั่งมี.
  22. พื้นที่ : น. ขนาดของผิวพื้น เช่น หาพื้นที่, อาณาบริเวณ เช่น ตรวจ พื้นที่, ลักษณะของพื้นดิน เช่น พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม.
  23. พื้นบ้าน : ว. เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน, มักใช้เข้าคู่กับคำ พื้นเมือง เป็น พื้นบ้านพื้นเมือง.
  24. พื้นเพ : น. หลักแหล่ง เช่น พื้นเพเป็นคนนครปฐม, อาชีพของ วงศ์ตระกูล เช่น พื้นเพเป็นพ่อค้า.
  25. พื้นเมือง : ว. เฉพาะเมือง, เฉพาะท้องที่, เช่น ของพื้นเมือง คนพื้นเมือง นิทานพื้นเมือง.
  26. พุ : ว. อาการที่น้ำหรือแก๊สเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น น้ำร้อนพุขึ้นมา แก๊ส ธรรมชาติพุขึ้นมา, อาการที่น้ำเหลืองเป็นต้นผุดขึ้นมา เช่น ฝีฝักบัว พุ. น. นํ้าที่พุขึ้นมา เรียกว่า นํ้าพุ. (ดู นํ้าพุ ที่ นํ้า).
  27. พุก ๒ : น. ไม้ที่ตอกประกับไว้สําหรับรับสิ่งที่หนัก ๆ เช่น รอดเรือนเป็นต้น.
  28. พุง : น. ท้อง เช่น นอนตีพุง พุงปลิ้น, เรียกเครื่องในท้องของปลาบาง ชนิดรวมกัน มีกระเพาะและไส้เป็นต้น ว่า พุง เช่น พุงปลาช่อน.
  29. พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
  30. พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
  31. พุทธศาสนิกชน : [พุดทะสาสะนิกกะชน] น. ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา.
  32. พุทธาวาส : น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจาก ส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
  33. พุ่ม : น. ลักษณะกิ่งก้านของต้นไม้ที่รวมกัน มีทรงเกือบกลมยอดนูน คล้ายกระพุ่มมือ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้นมะขามแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม พุ่มต้นเข็ม, ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่ง ใช้ดอกไม้เทียนเสียบซี่ไม้เป็นชั้น ๆ กลางพองเป็นรูปพุ่ม.
  34. พุ่มดอกไม้ : น. ดอกไม้ที่จัดบนพานให้มีลักษณะเป็นพุ่มยอดแหลม สำหรับบูชาพระเป็นต้น นิยมใช้ดอกไม้สด เช่น ดอกบานไม่รู้โรย ดอกผกากรอง.
  35. พู่ : น. กลุ่มหรือกระจุกที่ประกอบด้วยขนสัตว์ ไหม ด้าย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้ายกัน โดยมากใช้ห้อย เช่น พู่เรือสุพรรณหงส์ พู่ม่าน, ที่ใช้ชู ก็มีบ้าง เช่น พู่หมวกเครื่องยศทหารบางเหล่า.
  36. พู ๑ : น. เรียกสิ่งที่มีลักษณะนูนออกมา เช่น พูทุเรียน.
  37. พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ : (สํา) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่อง เหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.
  38. พูน : ก. เพิ่มให้สูงขึ้นให้มากขึ้น เช่น พูนดิน. ว. เต็มจนนูน เช่น ตักข้าว จนพูนจาน.
  39. เพ็ง : ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
  40. เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
  41. เพ็จ ๒ : ก. เผล็ด, ผลิ, เช่น พิเภทเพ็จผกากาญจน. (ม. คําหลวง จุลพน).
  42. เพชร, เพชร : [เพ็ด, เพ็ดชะ] น. ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีนํ้าแวววาวมากกว่าพลอย อื่น ๆ ใช้ทําเครื่องประดับหรือใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม; โดยปริยายหมายความว่า แข็งที่สุด เช่น เหล็กเพชร ใจเพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
  43. เพชรลูก : น. เพชรที่เจียระไนให้มีเหลี่ยมมุมลักษณะต่าง ๆ เช่น เหลี่ยมเกสร เหลี่ยมกุหลาบ.
  44. เพณี : น. เวณิ, ผมซึ่งเกล้าไว้, สายที่ถัก เช่น อันว่าสร้อยสังวาลเพณี. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. เวณิ).
  45. เพดาน ๑ : น. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม, ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า; โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน. (ป., ส. วิตาน).
  46. เพ้ย : ว. คําขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คํารับในเวลา พากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.
  47. เพรง : [เพฺรง] ว. ก่อน, เก่า, เช่น แต่เพรงกาล.
  48. เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
  49. เพราะ ๑ : ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
  50. เพริด : [เพฺริด] ก. กระเจิดกระเจิง, เตลิดไป, เช่น วัวเพริด ใจเพริด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | [4901-4950] | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2323 sec)