Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 801-850
  1. กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
  2. กัก : ก. ไม่ให้ล่วงพ้นเขตที่กําหนดไว้, กำหนดเขตให้อยู่, เช่น กักตัว, กักกัน ก็ว่า; ยึดไว้, ไม่ปล่อยไป, เช่น กักรถ กักน้ำ. ว. หยุดชะงัก เช่น หยุดกัก.
  3. กักการุ : (แบบ) น. ดอกฟัก เช่น อิกกักการุดิเรกอเนกดิบุษปวัน อ้อยลำแลใหญ่ครัน คือหมาก. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  4. กังกะ : (แบบ) น. เหยี่ยว เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อน ก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
  5. กังก้า : ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียก ข้าไทย. (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง).
  6. กังวาน : ว. ก้องอยู่ได้นาน เช่น เสียงระฆังกังวาน, มีกระแสเสียงก้องและแจ่มใส.
  7. กังเวียน : น. ขอบผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้. (ตําราช้างคําโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑).
  8. กังสดาล : [-สะดาน] น. ระฆังวงเดือน เช่น แว่วสําเนียงเสียงระฆังกังสดาล. (อิเหนา).
  9. กังสะ : (แบบ) น. สัมฤทธิ์ เช่น ดั่งดามพะกังสกล่อมเกลา. (สมุทรโฆษ). (ป.).
  10. กังหัน : น. สิ่งที่ประกอบด้วยใบพัดหมุนได้ด้วยกําลังลม, จังหัน ก็ว่า, โดยปริยายเรียกเครื่องหมุนบางชนิดมีรูปทํานองกังหัน ทําให้เกิดกําลังงาน เช่น กังหันน้ำ คือเครื่องหมุนด้วยกําลังน้ำ, กังหันลม คือเครื่องหมุนด้วยกําลังลม, กังหันไอน้ำ คือเครื่องหมุน ด้วยกําลังไอน้ำ; (วิทยา) ใช้เรียกเครื่องจักรที่หมุนอย่างกังหัน; ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่าต้น. (ข. กงฺหาร).
  11. กัจฉปะ : [กัดฉะปะ] (แบบ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ป., ส.).
  12. กัญ : (แบบ) น. กันย์, ชื่อราศีหนึ่งใน ๑๒ ราศี เช่น อีกกัญเป็นชื่อราศี. (ไวพจน์ประพันธ์). (ป. กญฺ?า).
  13. กัณฐกะ : [-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือ กลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  14. กัณฐี : [กันถี] (แบบ) น. เครื่องประดับคอ เช่น แก้วกัณฐีถนิมมาศนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  15. กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
  16. กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
  17. กัด ๓ : (โบ) น. พิกัด. ก. กะ เช่น ซ้นนกัดค่าพระราชกุมาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
  18. กัดติด, กัดไม่ปล่อย : ก. ติดตามอย่างไม่ละวาง, ทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างจริงจัง เช่น เขาทำงานแบบ กัดไม่ปล่อย.
  19. กัตรทัณฑ์ : [กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).
  20. กัทลี : [กัดทะลี] (แบบ) น. กล้วย เช่น คิดพ่างผลกัทลี ฆ่ากล้วย. (โลกนิติ). (ป., ส. กทลี).
  21. กั้น : ก. กีดขวางหรือทําสิ่งกีดขวางเพื่อบัง คั่น หรือกันไว้ไม่ให้เข้ามา เช่น กั้นกลด ภูเขากั้นเขตแดน กั้นถนน.
  22. กัน ๒ : ว. คําประกอบท้ายกริยาของผู้กระทําตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทําร่วมกัน อย่างเดียวกันหรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.
  23. กัน ๓ : ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่าย ในสิ่งที่จําเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ ป้องกันและล้อมทัพ, ช้างดั้ง ก็เรียก, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวน เสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขา มีหลายลำ ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง และกันอยู่ท้ายกระบวนระหว่างเรือของเจ้านายที่ตามเสด็จ ว่า เรือกัน.
  24. กัน ๔ : ก. โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว กันคอ กันหน้า. (ข. กาล่).
  25. กันแซง ๒ : น. กระแชง เช่น หลังคากันแซง. (พงศ. ร. ๓/๘).
  26. กันดอง : (โบ) น. ถ่องแถว เช่น เทเพนทรพฤกษนุกันดอง. (กล่อมช้างของเก่า).
  27. กันดาร : [-ดาน] ว. อัตคัด, ฝืดเคือง, เช่น กันดารข้าว กันดารน้ำ, ลําบาก, แห้งแล้ง, คํานี้มักใช้แก่เวลา ท้องที่ หรือถิ่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น คราวกันดาร ทางกันดาร ที่กันดาร. น. ป่าดง, ทางลําบาก. (ป. กนฺตาร).
  28. กันดาล : [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
  29. กันแดด : น. ชื่อหมวกชนิดหนึ่ง ทรงคลุ่ม มีปีกแข็งโดยรอบ โครงทำด้วยไม้ก๊อกหรือไม้ฉำฉาหรือไม้โสน หุ้มด้วยผ้า, หมวกกะโล่ ก็เรียก. ว. ที่ลดความเข้มของแสง เช่น แว่นกันแดด หมวกกันแดด.
  30. กันได : น. หลักฐานที่ยึดถือ เช่น กรมธรรม์กันได. (กฎหมาย เล่ม ๒).
  31. กันต์ : ก. ตัด, โกน, เช่น เกศากันต์ (ตัดผม, โกนผม); ยินดี, พอใจ, เช่น สุนทรกันต์ มุทุกันต์. ว. น่าใคร่, น่าพอใจ, งดงาม, เช่น กันตาภิรมย์ หมายถึง ยินดียิ่งในสิ่งที่น่าพอใจ.
  32. กันทะ : (โบ) น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา. (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์).
  33. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  34. กันลง, กันลอง ๑ : น. แมลงภู่ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. กนฺลง่); ของที่เหลือ, มูลฝอย; การกบฏ, การบุกรุก.
  35. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  36. กันลึง : (โบ) ก. จับ เช่น กันลงกันลึงคลึงคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน).
  37. กันและกัน : ส. คําใช้แทนชื่อในลักษณะที่มีการกระทําร่วมกัน หรือต่อกันโดยมีบุรพบทประกอบหน้า เช่น รักซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ของกันและกัน.
  38. กันเอง : ว. เป็นพวกเดียวกัน, สนิทสนมกัน, เช่น ราคากันเอง.
  39. กันเอา : ว. กรรเอา, กลมกล่อม, เช่น สรวญเสียงกันเอาเอา มโนเทพรังรักษ์. (อนิรุทธ์).
  40. กับ ๒ : เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือ เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
  41. กับบุเรศ : [-เรด] (แบบ; กลอน) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน). (ป. กปฺปุร).
  42. กัป : [กับ] น. อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จ จนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กัลป์ เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. (ป. กปฺป; ส. กลฺป). (ดู กัลป-, กัลป์).
  43. กัปนก : [กับปะหฺนก] (แบบ) ว. กําพร้า, น่าสงสาร, เช่น อันว่าพราหมณชรา ชีณกัปนก. (ม. คําหลวง ชูชก). (ป. กปณก).
  44. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  45. กัปปิยโวหาร : น. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
  46. กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
  47. กัมพู : (แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กําพู กําภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).
  48. กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
  49. กัมลาศ : [กํามะลาด] (แบบ) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส. กมลาสน).
  50. กัลชาญ : [กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1697 sec)