Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6251-6300
  1. ฤๅ ๒ : [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้ง แหล่งสยาม.
  2. : พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน อย่างตัว น ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
  3. ล่ก ๆ : ว. อาการที่ทำอย่างรีบร้อนหรืออย่างลวก ๆ เช่น ทำงานล่ก ๆ เพื่อ ให้ทันเวลา ทำงานล่ก ๆ เอาดีไม่ได้.
  4. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  5. ลงขัน : ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็น ไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
  6. ลงคอ : ว. อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบาก ลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
  7. ลงเงิน : ก. เอาเงินมารวมกันเพื่อทํากิจการต่าง ๆ เช่น ลงเงินกัน จัดรถไปทัศนาจร.
  8. ลงดาบ : ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
  9. ลงตัว : ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ ลงตัวแล้ว.
  10. ลงทอง : ก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง.
  11. ลงทะเบียน : ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อ รายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อ แสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
  12. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  13. ลงทุน : ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดย ปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขา ลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  14. ลงโบสถ์ : ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
  15. ลงมือ : ก. เริ่มทํา, ตั้งต้นทํา, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ.
  16. ลงราก : ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้าง ส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
  17. ล้งเล้ง : (ปาก) ก. ต่อว่าหรือดุว่าด้วยเสียงเอ็ดอึง เช่น ฉันทำแก้วแตกเขามา
  18. ล้งเล้งเอากับฉันใหญ่. : ว. อาการที่ส่งเสียงเอ็ดอึงราวกับทะเลาะ วิวาทกัน เช่น พูดกันล้งเล้ง.
  19. ลงศอก : ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอก ยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
  20. ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
  21. ลงหัว : ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ ในความปฏิเสธ เช่นไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
  22. ลงหิน : ว. เรียกเครื่องใช้ประเภทหนึ่ง เช่น ขัน พาน ทัพพี ที่ทำด้วย ทองแดงเจือดีบุก เนื้อเปราะ ว่า เครื่องลงหิน หรือ ทองลงหิน.
  23. ลงเอย : ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที.
  24. ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  25. ลดชั้น : ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถม ปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
  26. ลดตัว : ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่น หัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
  27. ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
  28. ลดรูป : ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียง สระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  29. ลดละ : ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
  30. ลดเลี้ยว : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไป ตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
  31. ลดหย่อน : ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อน ดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
  32. ลดหลั่น : ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
  33. ลน : ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้งลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบคําอื่นว่า
  34. ล้น : ก. พ้นหรือเลยระดับที่เปี่ยมอยู่แล้วจนไหลออกมา เช่น น้ำล้นตุ่ม ข้าวสารล้นกระสอบ, เกินกำหนดจนคงอยู่ไม่ได้ เช่น คนมากจนล้น ห้องประชุม. ว. ยิ่ง เช่น งานล้น สวยล้น; (ปาก) ค่อนข้างทะลึ่ง, เกินพอดี, เช่น เด็กคนนี้พูดจาล้น.
  35. ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
  36. ล้นตลาด : ว. มากจนเกินความต้องการของตลาด เช่น สินค้าล้นตลาด.
  37. ล้นพ้น : ว. ยิ่งยวด, ไม่มีอะไรเปรียบ, เช่น ยากจนเป็นล้นพ้น พ่อแม่มี พระคุณเป็นล้นพ้น.
  38. ล้นฟ้า : ว. มากมายสุดคณานับ เช่น รวยล้นฟ้า.
  39. ล้นมือ : ว. มากเกินกว่าจะทำไหว เช่น มีงานล้นมือ.
  40. ลนลาน : ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  41. ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. : ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
  42. ล้นหลาม : ว. มากมายเหลือประมาณ เช่น ประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ อย่างล้นหลาม.
  43. ล้นเหลือ : ว. มากมายเหลือเฟือ เช่น มีอาหารกินล้นเหลือ.
  44. ลบ : ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทําลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.
  45. ลบม : [ละบม] (แบบ) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกําสรด ไปมา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  46. ลบล้าง : ก. ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น ลบล้างความผิด, ทำให้เป็นโมฆะ ทางกฎหมาย เช่น ลบล้างหนี้สิน ลบล้างมลทิน.
  47. ลบเลือน : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนเห็นหรือจําได้แต่ราง ๆ เช่น ตัวหนังสือลบเลือน ความจําลบเลือน.
  48. ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
  49. ลบเหลี่ยม : ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน.
  50. ลม ๆ : ว. ไม่เป็นแก่น, ไม่เป็นสาระ; อาการเป็นไปแห่งจิตใน ขณะหนึ่ง ๆ บางทีก็ดี บางทีก็ร้าย. ลมกรด น. กระแสลมแรงจัดในบรรยากาศชั้นบนในระดับสูง ตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นลําคล้ายท่อรูปรี ขนาดใหญ่, โดยปริยายหมายความว่า เร็วมาก เช่น นักวิ่งลมกรด. ลมกระโชก น. ลมแรงที่เกิดในทันทีทันใดชั่วขณะหนึ่ง, ลมที่พัด แรงเป็นพัก ๆ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | [6251-6300] | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2005 sec)