Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 301-350
  1. กระต่าย ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว อาศัยใน โพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.
  2. กระติก : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำติดตัวในเวลาเดินทาง เช่น กระติกของทหารหรือลูกเสือ, ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เพื่อเก็บความร้อนหรือรักษาความเย็นเป็นต้น, ถ้าใช้ใส่น้ำร้อน เรียกว่า กระติกน้ำร้อน, ถ้าใช้ใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กระติกน้ำแข็ง.
  3. กระติ๊ด ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Estrildidae ใช้หญ้าทํารังเป็นรูปกลม อยู่บนต้นไม้ ปากรังอยู่ด้านล่าง มีหลายชนิด เช่น กระติ๊ดเขียว หรือ ไผ่ (Erythrura prasina) กระติ๊ดแดง หรือ สีชมพูดง (Amandava amandava) กระติ๊ดท้องขาว (Lonchura leucogastra) กินเมล็ดพืช, กะทิ ก็เรียก.
  4. กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง : (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุมเม็ด กระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
  5. กระตุก : ก. ชักเข้ามาโดยเร็วทันที, งอเข้ามาโดยเร็ว, เช่น ขากระตุก, อาการที่กล้ามเนื้อหดและยืดตัวขึ้นมาเองทันที.
  6. กระตุ่น : น. ตัวตุ่น เช่น กระต่ายเต้นกระตุ่นขุด. (บุณโณวาท).
  7. กระตุ้น : ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทํางาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้า กระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป.
  8. กระเต็น : น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในวงศ์ Alcedinidae หัวโต คอสั้น ปากแหลมยาวตรงและแข็งแรง ส่วนใหญ่มีสีสวยสด สะดุดตา หากินโดยวิธีพุ่งตัวลงจับปลาในน้ำ มีหลายชนิด เช่น กระเต็นปักหลักหรือ ปักหลัก (Ceryle rudis) กระเต็นน้อยธรรมดา (Alcedo atthis)กระเต็นอกขาว (Halcyon smyrnensis).
  9. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  10. กระเตื้อง : ก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.
  11. กระแต ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Tupaiidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่อยู่ต่างวงศ์กันและมีขนาดเล็กกว่า ปากแหลม ไม่มีฟันแทะ กินทั้งสัตว์และผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระแตธรรมดา (Tupaia glis) กระแตเล็ก (T. minor) กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowi) เชื่อกันทางวิชาการว่า เป็นสัตว์กลุ่มต้นกําเนิดสายวิวัฒนาการของลิงและมนุษย์; ดอกไม้ประดิษฐ์เป็นรูปกระแตเกาะติดกับช่อใบแก้ว ทำด้วยดอกพุทธชาดเป็นต้น ใช้เป็นของชำร่วย.
  12. กระแตวับ : (วรรณ) ก. หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ. (อภัย).
  13. กระโตน : ก. กระโจน เช่น น้ำเชี่ยวเกลียวโยน กระโตนฉ่า ๆ. (สุบิน).
  14. กระไตร : (โบ; กลอน) น. ชื่อเหยี่ยวชนิดหนึ่ง เรียกว่า เหยี่ยวกระไตร เช่น กระไตรตระไนตรู. (เสือโค), เขาคุ่มกระตรุมกระไตร. (สรรพสิทธิ์), ตะไกร ก็เรียก.
  15. กระถอบ : น. แผ่นทองคําฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สําหรับเสียบห้อย ที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ.
  16. กระถิน : น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นไม่มีหนามชนิด Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ในวงศ์ Leguminosae ช่อดอกกลม สีนวล ฝักแบน ใบอ่อนและฝักอ่อนใช้เป็นอาหาร, กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินยักษ์ หรือสะตอเบา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ตอเบา; ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Acacia วงศ์ Leguminosae เช่น กระถินพิมาน (A. tomentosa Willd.).
  17. กระทก : ก. กระตุก เช่น เงื่อนกระทก, กระตุกเร็ว ๆ เช่น กระทกข้าว คือ เอาข้าวใส่กระด้งร่อนพลางกระตุกพลาง เพื่อให้กากข้าว แยกจากข้าวสาร.
  18. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  19. กระทงลอย : น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้เครื่องรับมโหรี ทําตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธี จับชาละวัน, กระทงน้อย หรือ บ้าบ่น ก็เรียก.
  20. กระทด : (โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตําราช้างคําโคลง), ไม้กระทดกระทําทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).
  21. กระทดกระทัน : (โบ) ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคด กระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย. (ม. ร่ายยาว มหาพน).
  22. กระทบ : ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  23. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  24. กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
  25. กระทวย : น. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).
  26. กระทอก : ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กําแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น. (ขุนช้างขุนแผน). (เทียบมลายู กระตอก ว่า ตอก).
  27. กระท้อมกระแท้ม : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใหญ่โต, เช่น หากินกระท้อมกระแท้ม ไปวันหนึ่ง ๆ.
  28. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  29. กระทา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและ แมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
  30. กระทาสี : (กลอน) น. ทาส เช่น เหมือนไพร่ชาติชั่วช้ากระทาสี. (นิ. สุรสีห).
  31. กระทิกกระทวย : ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวย รวยระรื่นจนสิ้นตัว. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  32. กระทึง : น. (๑) (โบ; กลอน) ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุบกระทึงทอง. (สุธน). (๒) ดู กระทิง.
  33. กระทุ้ง : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทกให้แน่นหรือให้ออก, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทําหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง, ทุ้ง ก็ว่า เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  34. กระทุงเหว : น. ชื่อปลาผิวน้ำทุกชนิดในวงศ์ Belonidae และ Hemirhamphidae ลําตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือ เฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมาก น้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล บางชนิดพบอาศัยอยู่ในน้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง (Xenentodon cancila) ส่วนใหญ่พบใน เขตน้ำกร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemirhamphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongylura และ Zenarchopterus ชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง (Ablennes hians) ซึ่งมีชุกชุมที่สุด, เข็ม ก็เรียก.
  35. กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
  36. กระทู้ ๑ : น. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลาย เป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสําหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็น เค้าเงื่อนนําหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.
  37. กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
  38. กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
  39. กระเทียมหอม : น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรําแย้ ก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  40. กระเทือน : ก. มีอาการเหมือนไหวหรือสั่นเพราะถูกกระทบกระทั่ง เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิด ทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า รู้สึกหวั่นไหว เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า.
  41. กระเทือนซาง : (ปาก) ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างรุนแรงเพราะมีสิ่งใด สิ่งหนึ่งมากระทบใจ เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิ อย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง.
  42. กระเทื้อม : ก. กระเทือน เช่น เสียงดังโครมใหญ่ไม่กระเทื้อม. (อภัย).
  43. กระแทก : ก. กระทบโดยแรง, กระทุ้ง; พูดกระชากเสียงให้ดังผิดปรกติ แสดงว่าไม่พอใจหรือโกรธ เช่น กระแทกเสียง, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระแทก.
  44. กระไทชาย : (โบ; มาจาก กระทาชาย) น. คนผู้ชาย เช่น อันว่ากระไทชายผู้หนึ่ง. (ม. คําหลวง กุมาร; มหาราช), กระทาชาย ก็ว่า.
  45. กระไน : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, ตระไน ก็ว่า เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  46. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  47. กระบวนกระบิด : (กลอน) น. ชั้นเชิง เช่น ทั้งกระบวน กระบิดติดปั้นปึ่ง. (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า.
  48. กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
  49. กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
  50. กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1550 sec)