Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3901-3950
  1. บาก : ก. ใช้สิ่งมีคมเช่นมีดหรือขวานเป็นต้นฟันสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นต้นไม้ ให้เป็นแผลเป็นรอยหรือเป็นทางเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า มุ่งหน้าไป เช่น อย่ารู้มากบากหนีแต่ที่ง่าย. (พาลีสอนน้อง).
  2. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  3. บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
  4. บาง ๒ : ว. ใช้ประกอบหน้านามหมายความว่า ไม่ใช่ทั้งหมด คือ เป็นส่วน ย่อยหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของส่วนรวม เช่น บางคน บางพวก บางถิ่น บางสิ่ง, ลาง ก็ใช้.
  5. บางสุ : (กลอน) น. บงสุ์, ฝุ่น, ละออง, ธุลี, (โบ) ใช้ว่า บางษุ ก็มี เช่น มหาบางษุกุลพัษตรจีวรา. (นันโท), เมื่อน้นนนางก็ลูบบท บางษุบาท. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ปํสุ; ส. ปําสุ).
  6. บาด : ก. ทําให้เกิดเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนอย่างของมีคมบาด เช่น มีดบาด แก้วบาด หญ้าคาบาด. น. แผล.
  7. บาต : ก. ตก, ตกไป, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น อสนีบาต = การตก แห่งสายฟ้า คือ ฟ้าผ่า, อุกกาบาต = การตกแห่งคบเพลิง คือ แสง สว่างที่ตกลงมาจากอากาศ. (ป. ปาต).
  8. บาท ๓ : น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคําประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่ง มี ๔ บาท.
  9. บาทบ : [บา-ทบ] (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารส วารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
  10. บาทบูรณ์ : [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมี ความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  11. บ้าน : น. ที่อยู่ เช่น เลขบ้าน เจ้าบ้าน, สิ่งปลูกสร้างสําหรับเป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า, บริเวณที่เรือนตั้งอยู่ เช่น เขตบ้าน, หมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน, ถิ่นที่มีมนุษย์อยู่ เช่น สร้างเป็นบ้านเป็น เมือง; (กฎ) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสําหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายความรวมถึงแพหรือเรือซึ่งจอด เป็นประจําและใช้เป็นที่อยู่ประจํา หรือสถานที่หรือยานพาหนะอื่น ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจําได้ด้วย. ว. ที่มีอยู่ตามบ้าน เช่น หนูบ้าน คู่กับ หนูนา หรือที่เลี้ยงไว้ เช่น หมูบ้าน คู่กับ หมูป่า.
  12. บาน ๑, บาน- : [บาน, บานนะ-] น. นํ้าสําหรับดื่ม, เครื่องดื่ม เช่น สุราบาน ชัยบาน อัฐบาน. (ป., ส. ปาน).
  13. บาน ๒ : น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บาน กระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้ บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
  14. บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
  15. บานชื่น : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zinnia violacea Cav. ในวงศ์ Compositae ลําต้นกลวง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน ไม่มีก้านใบ ดอกออกที่ยอด มีหลายสี เช่น ขาว แดง ม่วง ชมพู เหลือง.
  16. บานพับ : น. เหล็กหรือทองเหลืองที่ใช้ติดบานประตูหรือหน้าต่าง เป็นต้น เพื่อให้พับเข้ามาหรือเปิดออกได้, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานพับเครื่องแต่งตัวละคร บานพับขา.
  17. บ้านเมืองมีขื่อมีแป : (สํา) น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมาย คุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทํากับอ้ายแก่เช่นนี้ได้. (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมือง ไม่มีขื่อ ไม่มีแป.
  18. บานเย็น : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Mirabilis jalapa L. ในวงศ์ Nyctaginaceae รากอวบ ใบเดี่ยว โคนดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็น ๕ แฉก บานใน เวลาเย็น มีหลายสี เช่น ขาว แดงอมม่วง เหลือง รากใช้ทํายาได้. ว. สีแดงอมม่วง.
  19. บ้าบ่น : น. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทําตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.
  20. บาบี : (แบบ) น. คนมีบาป, คนมีความชั่ว, เช่น ชนะแต่บาบีพรรค์ พรั่งพร้อม. (ตะเลงพ่าย). ( ป. ปาปี; ส. ปาปินฺ).
  21. บาปเคราะห์ : [บาบปะ-] ว. เคราะห์ร้าย. น. ดาวพระเคราะห์ที่ให้ โทษ เช่น พระราหู. (ส. ปาปคฺรห).
  22. บาป, บาป- : [บาบ, บาบปะ-] น. การกระทําผิดหลักคําสอนหรือข้อห้ามใน ศาสนา; ความชั่ว, ความมัวหมอง. ว. ชั่ว, มัวหมอง, เช่น คนใจบาป. (ป., ส. ปาป).
  23. บาปหนา : [บาบหฺนา] น. บาปมาก. ว. มีบาปมาก, มีบาปสั่งสม ไว้มาก, มีกรรมมาก, เช่น คนบาปหนา.
  24. บ่าย : น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  25. บ้าย : ก. ป้าย, ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการ ประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการ คล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ใน ความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.
  26. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  27. บ่ายหน้า : ก. หันหน้า เช่น บ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ, มุ่ง เช่น บ่ายหน้ากลับบ้าน.
  28. บาร์ ๒ : น. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้ ลูกค้า เต้นรําด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้าน เป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).
  29. บาล : (แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็น คําหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).
  30. บ้าลำโพ : ง ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลําโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโห โกรธา เช่น พูดจาบ้าลําโพงโป้งไป. (คาวี), ทําโมโหโกรธาบ้า ลําโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).
  31. บ่าวขุน ๒ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น บ่าวขุนกางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ).
  32. บาศ : น. บ่วง เช่น นาคบาศ เชือกบาศ. (ส. ปาศ; ป. ปาส).
  33. บำบัด : ก. ทําให้เสื่อมคลาย เช่น บําบัดทุกข์, ทําให้ทุเลาลง เช่น บําบัดโรค.
  34. บำเพ็ญ : ก. ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน, (มักใช้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนา) เช่น บําเพ็ญบุญ บําเพ็ญบารมี; ประพฤติ, ปฏิบัติ, เช่น บําเพ็ญตนให้เป็น ประโยชน์ บําเพ็ญพรต.
  35. บำรุง : ก. ทําให้งอกงาม, ทําให้เจริญ, เช่น บํารุงต้นไม้ บํารุงบ้านเมือง; รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น บํารุงสุขภาพ บํารุงร่างกาย เงินค่า บํารุง.
  36. บำรู : ก. ตกแต่ง, บํารุง; ประ เช่น บํารูงา ว่า ประงา.
  37. บำเรอ : ก. ปรนนิบัติให้เป็นที่ชอบใจ, เรียกหญิงที่ปรนนิบัติเช่นนั้นว่า นางบําเรอ; บูชา เช่น บําเรอไฟ.
  38. บำหยัด : ก. ประหยัด เช่น บําหยัดหยาบพึงเยงยํา. (กฤษณา).
  39. บำเหน็จ : น. รางวัล, ค่าเหนื่อย, ค่าความชอบเป็นพิเศษ, เช่น ปูนบําเหน็จ, เงินตอบแทนที่ได้ทํางานมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียว เมื่อออกจากงาน.
  40. บิ : ก. ทําให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง, แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  41. บิกู, บีกู : น. ภิกขุ เช่น พราหมณ์ชีบีกูน้อยใหญ่. (อิเหนา). (ช.).
  42. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  43. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  44. บิดเบี้ยว : ว. บิดจนผิดรูปผิดร่างไปมาก เช่น หน้าตาบิดเบี้ยว รูปร่างบิดเบี้ยว.
  45. บิดา : น. พ่อ (ใช้ในที่สุภาพ), โดยปริยายหมายความว่า ผู้ให้กําเนิด เช่น บิดาแห่งประวัติศาสตร์, บิดร ก็ว่า. (ป. ปิตา; ส. ปิตฺฤ).
  46. บิตุ : (แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).
  47. บิ่น : ก. แตกลิไปเล็กน้อย (ที่คม ที่แง่ หรือที่ยอด) เช่น มีดบิ่น ชามปากบิ่น. ว. บ้าอย่างหุนหันพลันแล่น, บ้าบิ่น ก็ว่า.
  48. บิน ๑ : ก. ไปในอากาศด้วยกําลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึงการไปโดยลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ขวัญบิน จานบิน; เรียกหน่อไม้ที่ขึ้นสูงจนเป็นลํา แต่ยอดยังมีกาบหุ้มอยู่แก่เกินกิน ว่า หน่อไม้บิน.
  49. บี้ ๑ : ก. กดหรือบีบให้แบนหรือผิดจากรูปเดิม. ว. แฟบผิดปรกติ เช่น จมูกบี้.
  50. บีบ : ก. ใช้มือเป็นต้นกดด้านทั้ง ๒ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหากัน เช่น บีบมะนาว, โดยปริยายหมายถึงกดดัน เช่น ถูกบีบ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | [3901-3950] | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2173 sec)