Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2001-2050
  1. เงี้ยว ๔ : ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร).
  2. เงื้อ : ก. ยกมือขึ้นทําท่าจะทุบจะตี ในคำว่า เงื้อมือ, อาการที่มือยกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ขึ้นทําท่าจะตีหรือฟันเป็นต้น เช่น เงื้อไม้ เงื้อมีด.
  3. เงือก ๑ : (โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. (แช่งนํ้า).
  4. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  5. เงือกหงอน : (โบ) น. พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล. (รําพันพิลาป).
  6. เงือด, เงือดงด : ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
  7. เงื่อน ๑ : น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือ เงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อน ที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย.
  8. เงื่อน ๒ : ว. เหมือน เช่น เขี้ยวโง้งเงื่อนงาคชกรรม. (คําพากย์).
  9. เงื้อม : น. สิ่งที่สูงยื่นงํ้าออกมา เช่น เงื้อมผา.
  10. แง่ ๑ : น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
  11. แง่ ๒ : (โบ) น. ตัว เช่น แต่งแง่. (จารึกสยาม), มิแต่งแง่ให้แม่ชม มิหวีผม ให้แม่เชย. (ลอ).
  12. แง้ม : ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลอง บางกอกน้อยแง้มขวา.
  13. โง : ก. ยก (ใช้แก่หัว) เช่น โงหัวไม่ขึ้น.
  14. โง้ง : ว. โค้งเข้าหากัน เช่น ควายเขาโง้ง, โค้งขึ้น เช่น หนวดโง้ง.
  15. โง่เง่าเต่าตุ่น : (สํา) ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จํานงหมาย. (นิ. ทวาราวดี).
  16. : พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็น ตัวสะกดในแม่กดในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตํารวจ จอร์จ.
  17. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  18. จง : เป็นคําช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือ บอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
  19. จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
  20. จงอร : [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่ง พระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คําหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  21. จญ : (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
  22. จดทะเบียน : (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกําหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
  23. จดูร- : [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  24. จตุบริษัท : น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.).
  25. จตุรงค์ : ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
  26. จตุรถ- : [จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
  27. จตุลังคบาท : [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  28. จ้น : ว. ถี่ ๆ เช่น กินออกจ้นมิได้หยุดช่างสุดแสน. (นิ. ลอนดอน).
  29. จน ๑ : ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทําได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  30. จน ๒ : สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า.
  31. จนกว่า : สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย.
  32. จนได้ : ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้.
  33. จบ ๑ : น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
  34. จบ ๓ : ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
  35. จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  36. จมูก : [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สําหรับ ว. ซีดเซียว, หงอยเหงา, สลด, เช่น หน้าจ๋อย. โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อ ร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
  37. จร ๑, จร- : [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจํา เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้าย สมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบ กับคําไทยก็มี.
  38. จรกลู่ : [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้น กลางโพยมากาศ. (ม. คําหลวง ทศพร).
  39. จรจรัล : [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  40. จรบน, จรบัน : [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  41. จรรจา : [จัน-] (กลอน) ก. พูด, กล่าว, เช่น อันว่าคนจรรจาลิ้นล่าย กล่าวสองฝ่ายให้ดูดี. (ม. คำหลวงกุมาร). (ส. จฺรจา).
  42. จรรโจษ : [จันโจด] ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, เช่น จรรโจษประชามี พลพิรียชาญชม. (สมุทรโฆษ), จันโจษ ก็ว่า.
  43. จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
  44. จรรยา : [จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความ ประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).
  45. จรรโลง : [จัน-] (แบบ) ก. พยุงไว้ไม่ให้เซหรือไม่ให้ล้มลง, ผดุง, ค้ำชู, เช่น จรรโลงประเทศ, บำรุงรักษาและเชิดชูไว้ไม่ให้เสื่อม เช่น จรรโลงศาสนา.
  46. จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
  47. จรล่ำ, จรหล่ำ : [จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อ ชีชูชกเถ้ามหลกอการไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่า ทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อ กลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).
  48. จรลิ่ว : [จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).
  49. จรวดไจร : [จะหฺรวดจะไร] (แบบ) ก. ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง จรวจไจร. (ยวนพ่าย).
  50. จรส : [จะหฺรด] ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | [2001-2050] | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1749 sec)