Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 1651-1700
  1. ควัก : [คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทําอาการเช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.
  2. ควั่ก : [คฺวั่ก] ว. วุ่น, ชุลมุน, เช่น วิ่งหากันให้ควั่ก.
  3. ควักกระเป๋า : ก. จ่ายเงินหรือออกเงิน เช่น ควักกระเป๋าเลี้ยงเพื่อน.
  4. ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
  5. ควั่งคว้าง : [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
  6. คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
  7. คว้าง : [คฺว้าง] ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เช่น ลอยคว้าง หมุนคว้าง; ลักษณะที่ละลายเหลวอย่างนํ้า เช่น ทองละลายคว้างอยู่ในเบ้า.
  8. คว้างเคว้ง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินคว้างเคว้งไม่รู้จะไปไหนดี, เคว้งคว้าง ก็ว่า.
  9. ควาญ : [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
  10. คว้าน : [คฺว้าน] ก. เอาสิ่งที่มีคมแหวะให้กว้าง, แขวะให้เป็นช่องเพื่อเอาส่วน ข้างในออก เช่น คว้านผลมะปราง คว้านไส้, ทําให้กว้าง เช่น คว้านคอเสื้อ.
  11. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  12. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  13. ความถี่ : (ฟิสิกส์) น. จํานวนไซเกิล, การแกว่งกวัด, การสั่นสะเทือนหรือคลื่น ใน ๑ วินาที เช่น ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่ ๕๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล; (สถิติ) จํานวนคะแนนในกลุ่มของ ข้อมูลที่มีสมบัติเหมือนกัน. (อ. frequency).
  14. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  15. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  16. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  17. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  18. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  19. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  20. คว่ำ : [คฺวํ่า] ก. พลิกเอาด้านบนลงล่าง เช่น รถคว่ำ เรือคว่ำ; กิริยาที่เอาด้าน หน้าลง เช่น นอนคว่ำ, กิริยาที่เอาด้านบนลงล่าง เช่น คว่ำชาม, ตรงข้าม กับ หงาย; เรียกใบหน้าที่แสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้า ขึ้นมองดูว่า หน้าคว่ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้อีกฝ่ายหนึ่ง พ่ายแพ้ เช่น คว่ำคู่ต่อสู้.
  21. คว่ำกระดาน : ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกัน โดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้ กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง การที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการ คว่ำกระดานเสีย,'' ล้มกระดาน ก็ว่า.
  22. ควิว ๆ : [คฺวิว–] (กลอน) ว. อาการที่ใจหวิว ๆ เช่น ควิวควิวอกควากคว้าง ลมลอยแลแม่. (นิ. นรินทร์).
  23. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  24. คห- : [คะหะ-] (แบบ) น. เรือน, ใช้เป็นคําหน้าสมาส เช่น คหกรรม. (ป.).
  25. คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
  26. คอก : น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา. ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
  27. คอคอด : น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่ กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
  28. คอเดียวกัน : ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหน ไปด้วยกันเสมอ.
  29. ค่อน ๒ : ว. มากกว่าครึ่ง, เกือบเต็ม, เช่น ข้าวค่อนหม้อ นั่งคอยมาค่อนวัน.
  30. ค่อน ๓ : ก. ตัด, ทอน, เช่น บั่นเรือขาดเปนท่อน ค่อนพวนขาดเปนทุ่น. (ตะเลงพ่าย); ตี, ทุบ, ข้อน ก็ใช้.
  31. ค่อนข้าง : ว. หนักหรือกระเดียดไปทางใดทางหนึ่ง เช่น ค่อนข้างดี.
  32. คอบ ๑ : (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
  33. คอบ ๒ : (โบ; กลอน) ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํฯ. (กำสรวล).
  34. คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
  35. ค้อม : ก. น้อมลง, ก้มหลัง, โน้มลง เช่น ไม้ค้อมมีลูกน้อม นวยงาม. (โลกนิติ).
  36. ค่อม ๑ : ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมากว่า หลังค่อม; ที่มีพันธุ์เตี้ยกว่าธรรมดา (ใช้แก่สัตว์หรือต้นไม้) เช่น ช้างค่อม กล้วยหอมค่อม. ค่อม ๒ น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hypomeces squamosus ในวงศ์ Curculionidae ลําตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวยื่นออกไปเป็นงวงสั้น ๆ ตัวและ ปีกสีเขียวเหลือบทอง, ค่อมทอง หรือ ทับเล็ก ก็เรียก.
  37. คอย ๑ : ก. มุ่งรออยู่, รอ; เฝ้า, เฝ้าดู, เช่น คอยจับผิด.
  38. ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๑ : ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.
  39. ค่อย ๓ : ว. คํานําหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่ กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
  40. ค้อยค้อย : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
  41. คอเสื้อ : น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้, ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ.
  42. ค่ะ : ว. คํารับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอก ให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ.
  43. คะ ๑ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
  44. คะ ๒ : ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
  45. คะไขว่ : [-ไขฺว่] (กลอน) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
  46. คะค้อย : (กลอน) ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อย ไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร. (ตะเลงพ่าย).
  47. คะคาน : ก. ค้านกัน, ยังตกลงกันไม่ได้, เช่น จะเอาชนะคะคานอะไรกัน.
  48. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  49. คะเน : ก. กะ, คํานวณเอาอย่างหยาบ ๆ, เช่น คะเนให้พอดี.
  50. คะใน : (โบ) บ. ข้างใน, ในกลอนเขียนเป็น คใน เช่น ปางพระไปนอน คในพนานต์ พระเอาภูบาล ไปสมกัลยา. (สมุทรโฆษ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | [1651-1700] | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1832 sec)