Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6101-6150
  1. รูปถ่าย : น. ภาพที่บันทึกไว้ด้วยวิธีให้แสงผ่านฟิล์มรูปเป็นต้นลงบน แผ่นวัสดุไวแสง เช่น กระดาษอัดรูป แล้วนำไปล้างตามกรรมวิธีเพื่อ ให้รูปปรากฏ.
  2. รูปทรง : น. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อน หรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.
  3. รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
  4. รูปธรรมนามธรรม : น. ลักษณะที่เป็นเองอย่างนั้นตามธรรมชาติ (ใช้แก่รูปร่างหน้าตาของคน) เช่น หน้าตาสวยหรือไม่สวยก็เป็น เรื่องของรูปธรรมนามธรรม.
  5. รูปแบบ : น. รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ เช่น รูปแบบร้อยกรอง; (ศิลปะ) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ๆ อย่างรูปคน รูปบ้าน รูปปลา รูปใบไม้ เช่น รูปแบบผู้หญิง รูปแบบเป็ด รูปแบบวัด.
  6. รูปพยัญชนะ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, พยัญชนะ ก็เรียก.
  7. รูปพรรณ : [รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทําเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.
  8. รูปพรรณสัณฐาน : น. รูปร่างลักษณะ เช่น เขามีรูปพรรณสันฐานอย่างไร สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว.
  9. รูปภาพ : น. รูปที่วาดหรือเขียนขึ้นเป็นต้น เช่น เขาเปิดร้านขายรูปภาพ มีทั้งภาพสีน้ำมันและสีน้ำ; (ศิลปะ) สิ่งที่ปรากฏบนพื้น กระดาษ ผนัง ผ้าใบ เป็นต้น เกิดขึ้นจากการวาดหรือระบายสีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ เป็นต้น.
  10. รูปร่าง : น. ลักษณะร่างกาย เช่น เขามีรูปร่างสูงโปร่ง, ทรวดทรง, ทรง, เช่น หลังคานี้รูปร่างเหมือนเก๋งจีน; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นแต่เพียงขอบนอก เป็นกำหนด มีลักษณะจำกัดเพียงความกว้างกับสูง เช่น รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม เป็นต้น.
  11. รูป, รูป– : [รูบ, รูบปะ–] น. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยตา เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ร่าง เช่น โครงรูป, ร่างกาย เช่น รูปตัวคน รูปตัวสัตว์, เค้าโครง เช่น ขึ้นรูป, แบบ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปรี รูปไข่; ลักษณนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น พระรูปหนึ่ง สามเณร ๒ รูป. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๑. (ป., ส.).
  12. รูปสมบัติ : [รูบปะสมบัด, รูบสมบัด] น. รูปงาม เช่น เขามีทั้งรูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติ.
  13. รูปสระ : น. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, สระ ก็เรียก.
  14. รู้ไม่จริง : ก. รู้ไม่ถ่องแท้, รู้ไม่มากพอ, เช่น เขาชอบเล่าเรื่องส่วนตัวของ เพื่อน ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้ไม่จริง.
  15. รู้ไม่ถึง : ก. รู้ไม่ลึกซึ้งพอ เช่น หลักธรรมะขั้นสูงเช่นนี้ ฉันยังรู้ไม่ถึง.
  16. รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
  17. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  18. รูเล็ตต์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือใช้ลูกงากลมใส่ในวงล้อที่หมุนอย่างเร็ว วงล้อนั้นแบ่งเป็นช่อง ๆ สีแดงสลับดํา มีเลขกํากับทุกช่อง ผู้เล่นจะต้อง แทงว่าลูกกลมนั้นจะตกที่ช่องใด โดยจะแทงแต่ละหมายเลขหรือจะแทง เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มเลข คู่–คี่ กลุ่มเลข สูง–ตํ่า หรือจะแทงสีก็ได้. (อ. roulette).
  19. รู้แล้วรู้รอด : ก. เสร็จสิ้นกันที เช่น เรื่องนี้จะว่าอย่างไรก็ว่ากัน จะได้ รู้แล้วรู้รอดไปเสียที.
  20. รู้สำนึก : ก. รู้สึกตัวว่าผิด เช่น ถูกลงโทษอย่างหนักแล้วยังไม่รู้สำนึก.
  21. รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
  22. รู้เส้น : ก. รู้ใจ เช่น เขารู้เส้นนายดี ลูกเขยรู้เส้นพ่อตาว่าชอบกินเหล้า.
  23. รู้หนเหนือหนใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือ หนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.
  24. รู้เห็น : ก. รู้และเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง เช่น เขาเป็นพยานที่รู้เห็น.
  25. รู้เห็นเป็นใจ : ก. รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
  26. รู้เหนือรู้ใต้ : ก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงมาก ไปแล้วไม่รู้เหนือรู้ใต้, โดยปริยาย หมายความว่าไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้เหนือรู้ใต้, รู้หนเหนือ หนใต้ ก็ว่า.
  27. รู้อยู่แก่ใจ : ก. รู้ซึ้งอยู่ในใจของตน เช่น รู้อยู่แก่ใจว่าเพื่อนเป็นคนโกง แล้วยังคบกันอยู่ได้.
  28. เร่ : ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่ (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้าง ขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ, เตร่, เดินไปเดินมาอย่างไม่มี จุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง, อาการที่หันเหและ เวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น เดินกลับบ้านเห็นคนเล่น หมากรุกก็เลยเร่ไปเล่นด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่, เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่, เรียกเรือที่ ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่, เรียกพ่อค้าแม่ค้า ที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
  29. เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
  30. เร่ง : ก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้ แต่งตัวไปโรงเรียน.
  31. เร่งด่วน : ว. รวดเร็วมาก, รวดเร็วยิ่ง, เช่น งานนี้ต้องทำอย่างเร่งด่วน ให้เสร็จภายใน ๑๒ ชั่วโมง ย้ายเร่งด่วนภายใน ๒๔ ชั่วโมง.
  32. เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
  33. เร่งเร้า : ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะ แต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือ ก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
  34. เร่งวันเร่งคืน : ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวัน เร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม.
  35. เรดาร์ : น. ระบบการใช้ไมโครเวฟเพื่อหาตําแหน่งที่อยู่แสดงเอกลักษณ์ หรือ นําทิศทางของวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น เรืออากาศยาน ดาวเทียม จรวด. (อ. radar).
  36. เร้น : ก. หลบให้ลับตาคน, แฝง, เช่น เร้นกายเข้าไปในความมืด เร้นเข้าไป ในถ้ำไม่ให้คนเห็น, หลีกให้พ้นจากผู้คนเพื่อหาความวิเวก เช่น พระภิกษุหลีกไปเร้นอยู่ในป่า.
  37. เร้นลับ : ว. เหลือรู้เหลือเห็น เหลือที่จะเข้าใจ เช่น ซ่อนสมบัติไว้ในที่ เร้นลับ เชื่อกันว่าเมืองลับแลเป็นเมืองที่เร้นลับ.
  38. เรรวน : ว. เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน เช่น จิตใจเรรวน ใจคอเรรวน, รวนเร ก็ว่า.
  39. เร่ร่อน, เร่ร่าย : ก. อยู่หรือไปไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อแม่ตายก็ ต้องเร่ร่อนหาที่พักพิงไปเรื่อย ๆ. ว. ที่อยู่ไม่เป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น คนเร่ร่อน, ร่อนเร่ ก็ว่า.
  40. เร่ว : น. ชื่อไม้ล้มลุกมีเหง้าหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Zingiberaceae ต้น คล้ายข่า เช่น เร่วใหญ่ (Amomum xanthioides Wall.) ผลใช้ทํายา.
  41. เร็ว ๆ นี้ : ว. ไม่นาน (ใช้แก่อดีต) เช่น เขามาถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาเพิ่งบรรลุ นิติภาวะเร็ว ๆ นี้, ไม่ช้า (ใช้แก่อนาคต) เช่น เขาจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ เขาจะ แต่งงานเร็ว ๆ นี้.
  42. เร็ว, เร็ว ๆ : ว. ไว เช่น กินเร็ว หายเร็ว ๆ, รีบ เช่น เร็วเข้า เร็ว ๆ หน่อย, ด่วน, ไม่ ชักช้า, เช่น ขอให้มาโดยเร็ว.
  43. เร่อร่า : ว. อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวเร่อร่าผิด กาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินเร่อร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขาเร่อร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนันเลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางเร่อร่าอย่างนั้นเอง, กะเร่อกะร่า กะเล่อ กะล่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
  44. เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
  45. เร้า : ก. กระตุ้นเตือน เช่น เร้าอารมณ์; ปลุกใจ เช่น พูดเร้าใจ. ว. ที่กระตุ้น เตือน เช่น สิ่งเร้า.
  46. เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
  47. เราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
  48. เราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะ ทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
  49. เราะสะเก็ด : ก. เฆี่ยนซ้ำที่เดิม เช่น ถ้าทำผิดอีก จะถูกเราะสะเก็ด.
  50. เริงรมย์ : ว. ที่ทำให้รื่นเริงหรือบันเทิงใจ เช่น หนังสือเริงรมย์ สถาน เริงรมย์.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | [6101-6150] | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.3645 sec)