Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8151-8200
  1. หายตัว : ก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น; โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัว ไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.
  2. หายหกตกหล่น : (สำ) ก. หายไปบางส่วนหรือทั้งหมด เช่น เอาสตางค์ใส่ กระเป๋ามาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าหายหกตกหล่นเสียที่ไหน.
  3. หายหน้า : ก. ไม่ได้พบหน้ากัน เช่น ไม่ได้พบกันเสียนาน หายหน้าไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น ตั้งแต่ยืมเงินไปแล้ว เขาก็หายหน้าไปเลย, หายตัว ก็ว่า; บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หายตา เป็น หายหน้าหายตา, หายหัว ก็ว่า.
  4. หายห่วง : ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้ มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก) นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่น เขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.
  5. หายหัว : ก. หายไปนาน เช่น ใช้ให้ไปซื้อของใกล้ ๆ แค่นี้ หายหัวไปไหน มา, หลบลี้หนีหน้า เช่น พอจะใช้ให้ทำงานก็หายหัวไปเลย, หายตัว หรือ หายหน้า ก็ว่า.
  6. หาร ๒ : [หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนําไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).
  7. หาริน, หารี : ว. ถือเอา, นําไป, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อทินหารี ว่า ผู้ถือเอาของ ที่เขาไม่ได้ให้. (ส.).
  8. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  9. ห่าลง : ก. เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค. (ปาก) น. คนที่มากันเป็นจำนวนมาก เช่น งานนี้คนมากันอย่างกับห่าลง.
  10. หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
  11. ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
  12. ห้าวหาญ : ก. กล้าอย่างยอมเสี่ยงอันตราย เช่น ทหารไทยออกรบอย่าง ห้าวหาญ.
  13. หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
  14. หาเหตุ : ก. คอยยกข้อผิด, จับผิด, เช่น เขาชอบหาเหตุฉันอยู่ตลอดเวลา; หาสาเหตุ, หาที่มา, เช่น ไฟไหม้ครั้งนี้หาเหตุไม่ได้; ข้ออ้าง เช่น เขาหา เหตุลาหยุดงาน.
  15. หิ้ง : น. ที่วางของซึ่งแขวนหรือติดไว้ข้างฝา เช่น หิ้งพระหิ้งหนังสือ.
  16. หิน ๒ : (ปาก) ว. ยากมาก เช่น ข้อสอบหิน, เข้มงวดมาก เช่น ครูคนนี้หิน, เหี้ยม มาก, แข็งมาก, เช่น เขาเป็นคนใจหิน.
  17. หิน ๔, หิน- : [หิน, หินนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า, ใช้ว่า หืน ก็มี เช่น โหดหืน. (ป., ส. หีน).
  18. หินชาติ : [หินนะชาด] ว. มีกําเนิดตํ่า, เมื่อใช้เข้าคู่กับคํา ทมิฬ เป็น ทมิฬ หินชาติ หมายความว่า โหดเหี้ยม เช่น ใจทมิฬหินชาติ.
  19. หินทราย : น. หินชั้นชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเศษหินที่มีลักษณะกลมหรือ เหลี่ยมขนาดเม็ดทราย อาจมีวัตถุประสาน เช่น ซิลิกา เหล็กออกไซด์ หรือ แคลเซียมคาร์บอเนต ประสานเม็ดเศษหินต่าง ๆ ให้เกาะกันแน่นแข็ง มีสีต่าง ๆ เช่น แดง เหลือง น้ำตาล เทา ขาว.
  20. หิว : ก. อยากกิน, อยากดื่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หิวเงิน.
  21. หีบ ๒ : ก. บีบเค้นให้ส่วนที่ต้องการออกมา เช่น หีบอ้อย หีบฝ้าย.
  22. หึ่ง ๑ : ว. อาการที่กลิ่นกระจายไป (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เหม็นหึ่ง ได้กลิ่นหึ่ง มาแต่ไกล.
  23. หึง ๒ : (โบ) ว. นาน เช่น บ่มิหึง คือ ไม่นาน.
  24. หึ่ง ๒, หึ่ง ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงฆ้อง เสียงผึ้งหรือแมลงภู่เป็นต้นบิน เช่น เสียง ฆ้องดังหึ่ง เสียงผึ้งบินหึ่ง ๆ.
  25. หือ ๒ : ก. เถียง, คัดค้าน, เช่น อย่ามาหือนะ เขาไม่กล้าหือ.
  26. หือรือโหด : (กลอน) ก. หฤโหด, ชั่วร้าย, เลวทราม, เช่น แม้อันว่าเฒ่าหือรือโหดหีนชาติ ทาสเมถุน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  27. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  28. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  29. หุงขี้ผึ้ง : ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยว กับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สี ปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.
  30. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  31. หุ้นบุริมสิทธิ : [-บุริมมะสิด] (กฎ) น. หุ้นที่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิพิเศษ เหนือผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งผลกําไรก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ. (อ. preference share).
  32. หุ้นส่วน : น. ทุนที่เข้ากันเพื่อทําการต่าง ๆ เช่น ค้าขายเป็นต้น; (ปาก) ผู้เป็น หุ้นส่วน.
  33. หุบ : ก. อาการรวมเข้าของสิ่งที่ขยายออก เช่น หุบร่ม ใบไม้หุบ; อาการที่แสง อาทิตย์ถูกเมฆบดบัง เรียกว่า แดดหุบ.
  34. หุ้ม : ก. เอาสิ่งที่เป็นแผ่นโอบคลุมอีกสิ่งหนึ่ง, อาการที่สิ่งซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่น กาบหรือเปลือกเป็นต้น โอบคลุมของอีกสิ่งหนึ่ง เช่น หนังหุ้มกระดูก กาบกล้วยหุ้มหยวกเปลือกหุ้มกระพี้ รองเท้าหุ้มส้น.
  35. หู : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่สําหรับฟังเสียง; ส่วนแห่ง สิ่งของที่ทําไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทําเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและ กระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.
  36. หูเข้าพรรษา : ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
  37. หูฉี่ : (ปาก) ว. มากเหลือเกิน เช่น แพงหูฉี่ เผ็ดหูฉี่.
  38. หูช้าง ๒ : น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Platax วงศ์ Platacidae ลําตัวกว้างแบนข้างมาก รูปร่างคล้ายรูปไพ่โพดํา มีแถบสีดําพาดขวางลําตัว เช่น ชนิด P. orbicularis หูช้างครีบยาว (P. teira). (รูปภาพ ปลาหูช้าง)
  39. หูตัน : ว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยาย หมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร.
  40. หูตูบ : น. ใบหูตกห้อยลงมา (ใช้แก่หมา); โดยปริยายหมายถึงทํางานอย่าง หนักหรือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น ถูกใช้จนหูตูบ วิ่งจนหูตูบ.
  41. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  42. หูไว : ว. ตื่นง่าย เช่น เขาเป็นคนหูไว พอได้ยินเสียงแว่ว ๆ ก็ตื่นทันที, มี ประสาทหูไว เช่น เขาเป็นคนหูไว ใครพูดเสียงเบา ๆ ยังได้ยิน; (ปาก) รู้ ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ.
  43. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  44. เห : ก. เบนไป เช่น เหหัวเรือ, เขว เช่น เขาเหไปเข้าข้างศัตรู, เฉ เช่น รถยนต์ เหออกนอกทาง.
  45. เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
  46. เหง้า : [เหฺง้า] น. ลําต้นที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เช่น ขิง กระวาน ที่จมอยู่ใต้ดิน; ต้นเดิม, ต้นวงศ์.
  47. เห็จ : (กลอน) ก. เหาะ, ไปในอากาศ, เช่น รณบุตรเห็จเข้าโจมฟัน รณาภิมุขผัน หฤทัยเสาะสุดแรง. (สมุทรโฆษ). ว. เร็ว, เลือนมาจาก ระเห็จ.
  48. เห็ด : น. ส่วนของเชื้อราที่ออกเป็นดอก แบ่งเป็น ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งไม่มีพิษ กินได้ เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง อีกชนิดหนึ่งมีพิษ บางชนิดกินแล้วถึงตาย เช่น เห็ดระโงกหิน.
  49. เห็นแก่ : ก. มุ่งเฉพาะเพื่อ เช่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวก เห็นแก่ได้.
  50. เหน่ง ๑ : [เหฺน่ง] ว. มีลักษณะใสเป็นมัน (มักใช้แก่ศีรษะโล้นหรือล้าน) เช่น หัวล้าน เหน่ง โกนหัวจนใสเหน่ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | [8151-8200] | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2230 sec)