Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 7651-7700
  1. สัดส่วน : น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการ ผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วน ของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อ ปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่า เป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม๒ กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
  2. สัตถันดร, สัตถันดรกัป : [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคน เสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดร พึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
  3. สัตยวาที : น. ผู้พูดแต่ความจริง เช่น อันว่าพระมหาบุรุษรัตน ผู้อยู่ใน สัตยวาที. (ม. คําหลวงกุมาร). (ส. สตฺยวาทินฺ).
  4. สัตย, สัตย์ : [สัดตะยะ, สัด] น. ความจริง เช่น รักษาสัตย์, คำมั่นสัญญา, เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์ ลูกเสือให้สัตย์ปฏิญาณ. ว. จริง เช่น วาจาสัตย์, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น สัตย์ซื่อ ซื่อสัตย์ สัตย์จริง. (ส.; ป. สจฺจ).
  5. สัตยาธิษฐาน : น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
  6. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  7. สัตสดก : [สะดก] น. หมวดละ ๗๐๐ เช่น แล้วประจงจัดสัตสดกมหา ทานเป็นต้นว่าคชสารเจ็ดร้อย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (ป. สตฺตสตก).
  8. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  9. สัทอักษร : [สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียง ประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).
  10. สั่น : ก. ไหวถี่ ๆ เช่น กลัวจนตัวสั่น หนาวจนคางสั่น, ทําให้ไหวถี่ ๆ เช่น สั่นกระดิ่ง สั่นหัว.
  11. สั้น : ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกําหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้น ตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบ กัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.
  12. สัน ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น สันหลังคา สันหน้าแข้ง ดั้งจมูกเป็นสัน; ส่วนหนาของมีดหรือขวานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคม.
  13. สันดาน ๑ : น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ ไปในทางไม่สู้จะดี เช่น สันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).
  14. สันโดษ : [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
  15. สันโดษ. : (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).
  16. สันตติ : [ตะติ] น. ความสืบต่อ เช่น สืบสันตติวงศ์. (ป.; ส. สํตติ ว่า ลูกหลาน).
  17. สันติ : น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. (ป.; ส. ศานฺติ).
  18. สันติภาพ : น. ความสงบ เช่น โลกต้องการสันติภาพ จงร่วมมือกัน รักษาสันติภาพของโลก. (ป. สนฺติ + ภาว).
  19. สันติวิธี : น. วิธีที่จะก่อให้เกิดความสงบ เช่น เจรจาสงบศึกโดยสันติวิธี.
  20. สันติสุข : น. ความสุขที่เกิดจากความสงบ เช่น รัฐบาลบริหารประเทศ เพื่อสันติสุขของประชาชน.
  21. สันถวไมตรี : น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วย สันถวไมตรี ทูตสันถวไมตรี.
  22. สันทัด : ก. ถนัด, จัดเจน, เช่น เรื่องนี้เขาไม่สันทัด เขาสันทัดในด้านคำนวณ. ว. ปานกลาง, ไม่ใหญ่ไม่เล็ก, ไม่สูงไม่ตํ่า, (ใช้แก่รูปร่าง), เช่น รูปร่าง สันทัด.
  23. สันทัดกรณี : [สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
  24. สันธาน : น. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คําพวกที่เชื่อม ประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).
  25. สันนิบาต ๑ : น. การประชุม, ที่ประชุม, เช่น สังฆสันนิบาต สันนิบาตชาติ, งานชุมนุม เช่น รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาล.
  26. สันนิบาต ๒ : น. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).
  27. สันมือ : น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ.
  28. สันสกฤต : [สะกฺริด] น. ชื่อภาษาในตระกูลอินเดียยุโรป ซึ่งมีใช้ในวรรณคดี อินเดียโบราณ เช่น คัมภีร์ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท ต่อมาใช้ในวรรณคดี ของพราหมณ์โดยทั่วไป และในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน, ใช้ว่า สังสกฤต ก็มี. ว. ที่ทำให้ดีพร้อมแล้ว, ที่ทำให้ประณีตแล้ว, ที่ขัดเกลาแล้ว. (ส. สํสฺกฤต; ป. สกฺกฏ).
  29. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  30. สับ ๓ : ว. ถ้วน, พอดี, เช่น ห้าสองหนเป็นสิบสับ. (มูลบทบรรพกิจ).
  31. สับปลับ : ว. กลับกลอกเชื่อไม่ได้ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดสับปลับ เขา เป็นคนสับปลับ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ สับปลี้ เป็น สับปลี้สับปลับ.
  32. สับเปลี่ยน : ก. เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น สับเปลี่ยนตําแหน่ง.
  33. สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
  34. สับหว่าง : ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง.
  35. สัปดน : [สับปะดน] ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอก แบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมา แล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน.
  36. สัปดาห์, สัปดาหะ : [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่ม ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริม พระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
  37. สัปตศก : น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๗ เช่น ปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๓๔๗. (ส.).
  38. สัพเพเหระ : (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
  39. สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
  40. สัมบูรณ์ : ว. สมบูรณ์ยิ่ง เช่น ความชื้นสัมบูรณ์. (อ. absolute).
  41. สัมปทา : [สําปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).
  42. สัมปทาน : [สําปะทาน] (กฎ) น. การที่รัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดทําประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและ ตามเงื่อนไขที่รัฐกําหนด เช่น สัมปทานการเดินรถประจําทาง สัมปทาน ทําไม้ในป่าสัมปทาน. (ป.).
  43. สัมผัส : ก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายาม ให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คําในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไป ข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคํา เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้ เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).
  44. สัมผัสนอก : น. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่ง ฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน เช่น (รูปภาพ กลอน) (อภัย), (ตะเลงพ่าย).
  45. สัมผัสใน : น. สัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเพื่อเพิ่มเสียงไพเราะ มีได้ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษร เช่น (รูปภาพ ถึงโคกฆ้องหนองสะพานบ้านกะเหรี่ยง เห็นโรงเรียงไร่ฝ้ายทั้งซ้ายขวา). (ขุนช้างขุนแผน), ในโคลงหมายรวม ถึงสัมผัสสระและสัมผัสอักษรที่อยู่ระหว่างวรรคในบาทเดียวกันด้วย คือ คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำแรกของวรรคหลัง เช่น อ้าศรีเสาวภาคย์เพี้ยง เพ็ญแข. (ตะเลงพ่าย).
  46. สัมผัสสระ : น. สัมผัสที่มีเสียงสระหรือเสียงสระกับตัวสะกดในมาตรา เดียวกัน เช่น (รูปภาพ อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ. (เพลงยาวถวาย โอวาท), คนใจจืดชืดชื้อเหมือนชื่อบาง ควรตีห่างเหินกันจนวันตาย). (นิ. วัดสิงห์).
  47. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  48. สัมพหุลา : (ปาก) ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. (ป.).
  49. สัมพัทธ์ : ว. ที่เปรียบเทียบกัน เช่น ความเร็วสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์. (ป., ส.).
  50. สัมพันธภาพ : น. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | [7651-7700] | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.3258 sec)