Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5651-5700
  1. เยี่ยมกราย : ก. กรายมาให้เห็น เช่น นานแล้วไม่เยี่ยมกรายมาเลย.
  2. เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
  3. เยียวยา : ก. บําบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทําให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  4. เยื่อ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นบางอยู่ตามผิวหรือภายในของร่างกายบางส่วนหรือ ของสิ่งต่าง ๆ เช่น เยื่อในกระดูก เยื่อหัวหอม เยื่อไม้ไผ่.
  5. เยือก ๒ : ว. อาการที่ไหวน้อย ๆ เช่น พายุพัดเรือนไหวเยือก.
  6. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  7. เยื้อง : ก. เอี้ยว, ย้ายไป, เดินอย่างไว้ท่าทาง, เช่น เดินเยื้องตัวแล้วซัดแขนอย่าง ละครรำ. ว. เฉียงจากจุดตรงข้ามเล็กน้อย เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลศิริราช.
  8. เยื้องกราย : ก. เดินอย่างมีท่างาม เช่น นางแบบเยื้องกรายมาทีละคน ๆ; เดินก้าวเฉียงและกางแขนเพื่อดูท่าทีของคู่ต่อสู้อย่างการเยื้องกรายใน การตีกระบี่กระบอง (ใช้แก่ศิลปะการต่อสู้).
  9. เยือน : ก. เยี่ยม เช่น ลมหนาวมาเยือน ไปเยือนยุโรป.
  10. เยื่อใย : น. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย.
  11. แย่ : ก. แบะขาและย่อลง, ย่อลง. ว. เต็มที, หนัก, เช่น ปลายเดือนการเงินแย่ อาการไข้แย่เพียบลงทุกวัน.
  12. แย้ ๒ : ก. ถ่วงหนักลง เช่น ก้นแย้ ท้องแย้.
  13. แยก : ก. ทําให้สิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่ออกจากกัน เช่น แยกกลุ่ม ประชุม แยกกล้วยไม้, กิริยาของสิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แตก ออกจากกัน เช่น แผ่นดินแยก, แตกหรือทําให้แตกออกเป็นทาง เช่น แม่นํ้าแยก ทางแยก, ไม่รวมกัน เช่น แยกกันอยู่.
  14. แยกเขี้ยว : ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือ แยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.
  15. แยกตัว : ก. ผละออก เช่น เขาแยกตัวออกจากพรรคพวก; ไม่ผสมกลมกลืน กัน เช่น น้ำกับน้ำมันแยกตัวกัน; แบ่งตัวเพื่อขยายจำนวน เช่น เซลล์แยกตัว ออกจากกันเป็นทวีคูณ.
  16. แยกย้าย : ก. แยกกันไปคนละทาง เช่น พองานเลิกต่างก็แยกย้ายกัน กลับบ้าน, แยกและย้ายไปอยู่คนละแห่ง เช่น เมื่อพ่อแม่ตายลูก ๆ ก็ แยกย้ายไปหาที่อยู่ใหม่.
  17. แยกแยะ : ก. กระจายออกให้เห็นชัดเจน เช่น แยกแยะปัญหาให้เห็นเป็น ประเด็น ๆ ไป.
  18. แย่ง : ก. ยื้อเอาไป เช่น ถูกแย่งของไปจากมือ, รีบฉวยหรือรีบทำเสียก่อน เช่น แย่งทาน.
  19. แย้ง : ก. ไม่ตรงหรือลงรอยเดียวกัน เช่น ความเห็นแย้งกัน ข้อความแย้งกัน; ต้านไว้, ทานไว้.
  20. แยง ๑ : ก. แหย่เข้าไปในช่องหรือในรู เช่น เอาขนไก่แยงหู, สอดดู, แลดู.
  21. แยงตา : ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา.
  22. แยงแย่ : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ แต่ถ่างขากว้าง เช่น นรสิงห์นั่งแยงแย่, อาการที่ยืน แบะขาและย่อเข่าลง เช่น ยักษ์วัดพระแก้วยืนแยงแย่.
  23. แยบคาย : ว. เข้าที, เหมาะกับเหตุผล, เช่น ความคิดแยบคาย พูดจาแยบคาย.
  24. แยบยล : น. กล, อุบาย. ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธี แยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล.
  25. แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  26. แย้มพราย : ก. เผยให้เห็นวี่แวว เช่น เขาแย้มพรายเรื่องของเขาให้ทราบ, แย้ม ก็ว่า.
  27. แยแส : ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.
  28. แยะ : ก. แยก, แบะออก, แตกออก. ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้ เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ.
  29. โย้ : ว. เอนเพราะไม่ตั้งตรงทรงตัวตามธรรมดาที่ควรเป็น เช่น เรือนโย้ เขียน หนังสือโย้; ยื่นออกกว่าปรกติ เช่น ท้องโย้ พุงโย้.
  30. โยก : ก. คลอน เช่น ฟันโยก เก้าอี้โยก, เคลื่อนไหว เช่น กิ่งไม้โยก, ทําให้มี อาการเช่นนั้น เช่น โยกฟัน โยกกิ่งไม้; โดยปริยายหมายถึงอาการที่พูด หรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้ พูดโยกอยู่นาน, โยกโย้ ก็ว่า.
  31. โยกย้าย : ก. ย้ายตำแหน่ง เช่น โยกย้ายข้าราชการ, ขยับขยายไปอยู่ที่อื่น เช่น โยกย้ายไปอยู่ต่างเมือง.
  32. โยกเยก : ก. เคลื่อนไหวไปมา, โอนไปเอนมา, เช่น อย่านั่งโยกเยก เสา โยกเยกเพราะปักไม่แน่น.
  33. โยกโย้ : ก. อาการที่พูดหรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้พูด โยกโย้อยู่นาน, โยก ก็ว่า.
  34. โย่ง : ว. ลักษณะที่สูงกว่าปรกติ เมื่อเคลื่อนไหวดูประหนึ่งว่าโยกเยกไปมา เช่น สูงโย่ง.
  35. โยง ๑ : ก. ผูกให้ติดกันเพื่อลากหรือจูงไป เช่น โยงเรือ, เกี่ยวเนื่อง เช่น ให้การ โยงไปถึงอีกคนหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้า พ้นพื้นหรือเรี่ย ๆ พื้นว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจําแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสําหรับลากจูงเรืออื่นว่า เรือโยง และ เรียกเรือที่ถูกลากจูงไปนั้นว่า เรือพ่วง.
  36. โยชนา : [โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
  37. โยน ๑ : ก. ซัดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นไปจากตัวโดยวิธีหงายมือ เช่น โยนสตางค์ โยนของ, เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวอย่างแรงจากที่เดิม เช่น คลื่นซัดจนเรือโยน คลื่นโยนเรือ, ไหวอย่างแรง แต่ไม่เคลื่อนจากที่เดิม เช่น ลมพัดกิ่งไม้โยนไปโยนมา หอบจนตัวโยน; เหวี่ยงเป็นวงกว้าง เช่น โยนค้อนตีเหล็ก, ปัดให้พ้นตัวไป เช่น โยนบาป โยนเรื่อง.
  38. โยม : น. คําที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราว เดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า; เป็นคํา ใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร; เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของ พระว่า โยมพระ; เรียกผู้ที่แสดงตนเป็นผู้อุปการะพระภิกษุสามเณรโดย เจาะจงว่า โยมอุปัฏฐาก; เรียกฆราวาสที่อยู่ปฏิบัติรับใช้พระภิกษุสามเณร ในวัดว่า โยมวัด; เรียกฆราวาสผู้อุปการะพระทั่ว ๆ ไป ว่า โยมสงฆ์.
  39. โย้เย้ : ว. รวนหรือซวนเซมีอาการจะหลุดหรือทลายลง เช่น ฟันโย้เย้ เรือน โย้เย้, ไม่ตรงรูป เช่น เขียนหนังสือโย้เย้.
  40. ใย : น. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ๆ เช่น ใยบัว ใยแมงมุม. ว. นวลบาง, บาง ๆ, ละเอียดอ่อน เช่น นวลใย.
  41. ไย : ว. ไฉน, อะไร, ทําไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.
  42. ไยดี : ก. พอใจ, ยินดี, เอื้อ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี อย่าไปไยดี.
  43. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  44. รก ๑ : ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้ง กระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ เรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารําคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  45. รกราก : น. ภูมิลําเนาเดิม, บ้านเกิด, หลักแหล่ง, เช่น คุณมีรกรากอยู่ที่ไหน; เชื้อสาย.
  46. รกร้าง : ว. รกเพราะปล่อยทิ้งไว้ เช่น ที่รกร้าง ที่ดินรกร้างว่างเปล่า.
  47. รกเรี้ยว : ว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.
  48. รกเรื้อ : ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน.;
  49. รณรงค์ : น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์ หาเสียงในการเลือกตั้งรณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  50. รด : ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอนนกขี้รดหลังคา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | [5651-5700] | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2162 sec)