Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3401-3450
  1. ทำเป็น : ก. แสร้งแสดง เช่น ทําเป็นหลับ; วางท่า เช่น ทําเป็นคุณนาย, ใช้ว่า ทําเป็นว่า ก็มี.
  2. ทำไปทำมา : ก. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ทําไปทํามากลับได้กําไร ทําไปทํามาจวนติดตะราง.
  3. ทำไฟ : ก. เดินสายไฟ; ทําให้เกิดกระแสไฟ เช่น เครื่องทําไฟ.
  4. ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
  5. ทำลาย : ก. อาการที่ทําให้สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย, ทําให้พัง เช่น ทําลายกําแพง, ทําให้ฉิบหาย เช่น ทําลายวงศ์ตระกูล, ทําให้หมดสิ้นไป เช่น ทําลายชื่อเสียง ทําลายหลักฐาน. (แผลงมาจากทลาย).
  6. ทำเล : น. ถิ่นที่, ตำบล, ภูมิที่ตั้ง, (มักใช้แก่แหล่งทำมาหากิน) เช่น ทำเลการค้า.
  7. ทำหน้าทำตา : ก. แสดงกิริยาอาการทางหน้าตา เช่น ทําหน้าทําตา ล้อหลอก.
  8. ทำให้, ทำเอา : ก. เป็นเหตุให้ เช่น ทําให้เขาได้ไปเมืองนอก ทําเอา เขายํ่าแย่ไป.
  9. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  10. ทิงเจอร์ : น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย เช่น ทิงเจอร์ ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึกไอโอดีนใน เอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
  11. ทิฏฐุชุกรรม : (แบบ) น. การทําความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทําดีได้ดี ทําชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).
  12. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  13. ทิด : น. คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด.
  14. ทิพ, ทิพ- : [ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).
  15. ทิพย-, ทิพย์ : [ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่าง เทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).
  16. ทิม : น. ศาลาแถวหรือห้องแถวสําหรับเป็นที่พักหรือไว้ของในพระ ราชวัง เช่น ทิมตํารวจ ทิมกลอง.
  17. ทิ่ม : ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาว ๆ หรือแหลม ๆ กระแทกโดยแรง เช่น เอามีดทิ่มพุง เอานิ้วทิ่มตา.
  18. ทิว ๑ : น. แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืด เช่น ทิวเขา ทิวไม้.
  19. ทิว- ๓, ทิวะ : [ทิวะ-] น. วัน; สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก, เช่น ทิวงคต คือ ไปสู่ เทวโลก หมายถึง ตาย. (ป., ส.).
  20. ทิวทัศน์ : [ทิวทัด] น. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเห็นตามธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ทุ่งนา ทิวทัศน์ป่าเขา ทิวทัศน์ทางทะเล, เรียกภาพเขียน หรือภาพถ่ายจากทิวทัศน์ว่า ภาพทิวทัศน์.
  21. ทิวากร : น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้า แนบนอน ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
  22. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  23. ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  24. ที ๒ : น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ทีเสียที.
  25. ทีเดียว : ว. ฉับพลัน, ทันที, เช่น พูดออกมาทีเดียวนะ; แท้จริง เช่น เก่งทีเดียว.
  26. ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
  27. ทีนี้ : น. ต่อนี้ไป เช่น ทีนี้จะไม่ทําอีก.
  28. ที่พึ่ง : น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัย ยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตําราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึด พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  29. ที่รัก : น. คนรัก, คําแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความ นับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก.
  30. ที่สุด : น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อน กว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
  31. ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
  32. ที่ไหนได้ : (ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คําใช้แสดงความ ประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
  33. ทึ้ง : ก. พยายามดึงของเหนียวหรือสิ่งที่ติดอยู่แน่นแล้ว ๆ เล่า ๆ เช่น ทึ้งผม แร้งทึ้งศพ.
  34. ทึบ : ว. มีลมอากาศหรือแสงสว่างเข้าออกไม่ได้หรือไม่เพียงพอ เช่น ห้องทึบ ผนังทึบ ตู้ทึบ ป่าทึบ, ไม่โปร่งแสง เช่น เป็นแท่งทึบ; ไม่โปร่ง, หนาแน่น, เช่น ลายทึบ; โดยปริยายหมายความว่า โง่มาก เช่น ปัญญาทึบ สมองทึบ.
  35. ทึม ๒, ทึม ๆ : ว. ครึ้ม, มัวซัว, เช่น ท้องฟ้าทึม สีทึม ๆ.
  36. ทื่อ : ว. ไม่คม (ใช้แก่ของแบน ๆ ที่มีคมแต่ไม่คม) เช่น มีดทื่อ; ไม่ เฉียบแหลม เช่น ปัญญาทื่อ; ไม่มีลับลมคมใน เช่น พูดทื่อ ๆ; นิ่งเฉยอยู่ไม่กระดุกกระดิกเหมือนสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แข็งทื่อ, ซื่อ ก็ว่า. ก. รี่เข้าใส่โดยไม่ระมัดระวัง เช่น ทื่อเข้าใส่.
  37. ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
  38. ทุ ๒ : (แบบ) ว. สอง, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุวิธ ว่า ๒ อย่าง. (ป.).
  39. ทุก ๑, ทุก ๆ : ว. แต่ละหน่วย ๆ ของจํานวนทั้งหมด, ทั้งหมดโดยหมายแยกเป็น หน่วย ๆ, เช่น คนที่เกิดมาแล้วมีปัญญาด้วยกันทุกคน แต่ทุกคนมี ปัญญาไม่เท่ากัน ทุก ๆ คนจะต้องช่วยเหลือกัน.
  40. ทุกที : ว. อาการที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงทุกขณะ เช่น ห่างออกไป ทุกที ใกล้เข้ามาทุกที.
  41. ทุกพาย : (โบ) ว. ทุกแห่ง เช่น กระทำพุทธประติมาทุกแห่งทุกพาย. (จารึกวัดศรีชุม).
  42. ทุกวี่ทุกวัน : (ปาก) ว. ทุกวัน เช่น พูดกรอกหูอยู่ทุกวี่ทุกวัน.
  43. ทุ้ง ๑ : ว. ตุง, ตุ่ยออกมา. น. ฝักบัวที่ย้อยลงมา เช่น เปิดนํ้าลงตามทุ้ง สหัสธารา. (สิบสองเดือน).
  44. ทุ้ง ๒ : ก. กระทุ้ง เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน. (มณีพิชัย).
  45. ทุจริต : [ทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต. ก. โกง เช่น ทุจริต ในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่. ว. ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต. (ป. ทุจฺจริต).
  46. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  47. ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
  48. ทุ่น : น. สิ่งที่ลอยนํ้าสําหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสําหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสําหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนําร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.
  49. ทุบ : ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไป บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือ เพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากําปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
  50. ทุ่ม : ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน; ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ. (ตะเลงพ่าย). น. วิธีนับเวลา ตามประเพณีสําหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | [3401-3450] | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2308 sec)