Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 3201-3250
  1. แถลบ : [ถะแหฺลบ] ว. เอียง เช่น นกบินแถลบ, มักใช้ว่า แฉลบ.
  2. แถว : น. แถบ เช่น คนแถวนี้, คนหรือสิ่งที่เรียงเป็นเส้นเป็นแนว เช่น แถวทหาร.
  3. โถ ๑ : น. ภาชนะโดยมากทําด้วยดินเผาหรือกระเบื้องเคลือบปากกว้าง มีฝาปิด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โกศโถ.
  4. โถง : ว. ที่เปิดโล่งแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รถโถง คือรถที่เปิดหลังคาได้ เรือโถง คือเรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก, เรียกห้องขนาด ใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ ว่า ห้องโถง.
  5. โถบ : ก. พุ่งลงด้วยแรงกําลัง เช่น นกโถบลงจากอากาศ, ใช้ว่า โถบถา หรือ ถาโถบ ก็มี.
  6. โถม : ก. โผเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น โถมตัวเข้าหา; รวมกําลังพุ่งเข้าใส่ เช่น โถมกําลัง.
  7. ไถ ๑ : น. เครื่องมือทําไร่ทํานาชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยคันชัก หางยาม ผาล หัวหมู ใช้ควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน, คันไถ ก็ว่า. ก. เอาไถเทียมควายหรือวัวเป็นต้นลากไปเพื่อกลับดิน; เคลื่อนไปไถลไป เช่น นั่งไม้ลื่นไถลงมา; (ปาก) ขอร้องแกมบังคับ, รีดไถ.
  8. ไถย : [ไถยะ] น. ความเป็นขโมย เช่น ไถยจิต. (ป. เถยฺย).
  9. ท ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด ในคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.
  10. ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
  11. ท ๓ : [ทะ] ใช้เป็นคํานําหน้านาม แปลว่า คน, ผู้, เช่น ทนาย ทแกล้ว.
  12. ทก ๑ : (โบ) ว. ทุก เช่น ทกพวก ทกพาย.
  13. ทด : ก. กันไว้, กั้นไว้, ทําให้นํ้าท่วมท้นขึ้นมาด้วยทํานบเป็นต้น เช่น ทดนํ้า; แทน, เป็นคําใช้เข้าคู่กันว่า ทดแทน เนื้อความกลายเป็น ตอบแทน, บางทีใช้ ทด คําเดียว เช่น ทดข้าวทดปลา; เพิ่ม. น. สิ่งที่ใช้กั้นนํ้า.
  14. ทดสอบ : ก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบ เครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.
  15. ทท : [ทด, ทะทะ] น. ผู้ให้, มักใช้ประกอบท้ายศัพท์ เช่น กามทท = ผู้ให้สิ่งที่น่าปรารถนา. (ป., ส.).
  16. ทน : ก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหัก หรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดํานํ้าทน.
  17. ท้น : ก. เอ่อสูงขึ้นจนเปี่ยมพร้อมจะไหลล้นหรือไหลทวนกลับขึ้นไป เช่น นํ้าท้นฝั่ง, อาการที่เนื้อล้นออกมาจนเห็นเป็นรอยนอกเสื้อ เช่น สวม เสื้อคับจนเนื้อท้น.
  18. ทนตกาษฐ์ : [-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สําหรับถูฟัน ให้สะอาด ทําจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ?).
  19. ทนโท่ : ว. ปรากฏชัดแก่ตา, จะแจ้ง, เช่น เห็นอยู่ทนโท่, โทนโท่ ก็ว่า.
  20. ทบ ๑ : ก. พับเข้ามา เช่น ทบผ้า ทบเชือก, เพิ่มเข้า เช่น เอาเชือกมาทบ เข้าอีกเส้นหนึ่ง, ลักษณนามเรียกสิ่งที่พับเข้ามาหรือเพิ่มเข้ามา เช่น ผ้าทบหนึ่ง ผ้า ๒ ทบ.
  21. ทบ ๒ : (กลอน) ก. กระทบ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  22. ทบทวน : ก. ย้อนกลับทําซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยํา เช่น ทบทวนตํารา, ทวนทบ ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย.
  23. ทบท่าว : ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น. (ตะเลงพ่าย).
  24. ทบวง : [ทะ-] (กฎ) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งโดย สภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นกระทรวง อาจสังกัดหรือไม่สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงก็ได้; ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง แต่เรียกชื่อว่า ทบวง เช่น ทบวงมหาวิทยาลัย.
  25. ทบวงการเมือง : (กฎ) น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วน ท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอํานาจหน้าที่ในทาง ปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรมเทศบาล.
  26. ทมิฬ : [ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดีย แถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
  27. ทโมน : [ทะ-] ว. ใหญ่และมีกําลังมาก (มักใช้แก่สัตว์ตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง) เช่น ลิงทโมน.
  28. ทยา ๑ : [ทะ-] (แบบ) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ. (ป., ส.).
  29. ทยา ๒ : [ทะ-] ว. ดี, สําคัญ, ต้องการ, เช่น ของทยาของเจ้าตะเภาทอง. (ไกรทอง), กูจะให้ขนมเข่งของทยา กินอร่อยหนักหนาประสาจน. (สังข์ทอง), ทายา ก็ใช้.
  30. ทร- : [ทอระ-] คําอุปสรรค แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, น้อย, ไม่มี, เช่น ทรชน ทรลักษณ์ ทรพล. (ป. ทุ, ทุรฺ; ส. ทุสฺ).
  31. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  32. ทรงเครื่อง : ก. แต่งตัวมีเครื่องประดับ เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่อง, มีเครื่องปรุงพิเศษกว่าปรกติ เช่น กระท้อนทรงเครื่อง, ประดิด ประดอยให้งดงามเป็นพิเศษ เช่น ตัวหนังสือทรงเครื่อง; (ราชา) ตัดผม (ใช้แก่เจ้านาย).
  33. ทรนาว, ทระนาว : [ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
  34. ทรมาน : [ทอระมาน] ก. ทําให้ลําบาก, ทําทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทําให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง. น. ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้น ด้วยคํานี้ เช่นว่า ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค. (ป., ส. ทมน).
  35. ทรมุก : [ทอระ-] น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  36. ทรรป : [ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).
  37. ทรเล่ห์ : [ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล. (ม. คําหลวง มหาพน).
  38. ทรวง : [ซวง] น. อก, ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อก เป็น ทรวงอก, โดยมาก ใช้ในบทกลอน, ที่ใช้เป็นสามัญก็มีบ้าง เช่น เย็นทรวง. (ข. ทฺรูง).
  39. ทรวด : [ซวด] (โบ) ก. นูนขึ้น เช่น อันว่าสวภาพท้องบมิทรวดเสมออก. (ม. คําหลวง ทศพร).
  40. ทรวาร : [ทอระวาน] (กลอน) น. ประตู เช่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
  41. ทรสองทรสุม : [ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  42. ทรสาย : [ทอระ-] (กลอน) น. พุ่มไม้. ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ. (ม. คําหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา. (ม. คําหลวง มหาพน).
  43. ทรสุม : [ทอระ-] (กลอน) ว. ซึ่งสุมกัน, เป็นกลุ่ม, เป็นพุ่ม, เป็นช่อ, เช่น ไม้ทรสุมสมกิ่งวันนี้. (ม. คําหลวง กุมาร), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสาย เป็น ทรสุมทรสาย ก็มี เช่น ใบทรสุมทรสายศาล. (ม. คําหลวง จุลพน).
  44. ทรหึงทรหวล : [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  45. ทรหู, ทรฮู : [ทอระ-] (กลอน) ก. ดิ้นรนอยากรู้, ร้องดัง, เช่น ในเมื่อกูไห้ ทรหูรํ่าร้อง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  46. ทรเหล : [ทอระเหน] (กลอน) น. ความลําบากในการเดินทางไป เช่น เขาก็บอกความทุกข์ทรเหล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  47. ทรอ : [ซอ] (โบ) น. ซอ เช่น เสียงสารสังคีตขับทรอท่อ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  48. ทรัพย-, ทรัพย์ : [ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่ถือว่ามีค่าอาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).
  49. ทรัพยสิทธิ : [ซับพะยะสิด] (กฎ) น. สิทธิเหนือทรัพย์ที่จะก่อตั้งขึ้น ได้แต่ด้วยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เช่น สิทธิ ครอบครอง กรรมสิทธิ์.
  50. ทรัพย์สิน : (กฎ) น. วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา และอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | [3201-3250] | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2107 sec)