Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 251-300
  1. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  2. กระชาก : ก. ฉุดโดยแรง, กระตุกโดยแรง, ชักเข้ามาโดยเร็วและแรง, โดยปริยายหมายความว่า พูดกระตุกเสียงดังห้วน ๆ เช่น พูดกระชากเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชาก.
  3. กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
  4. กระชิง : น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ของหลวงชนิดหนึ่ง เช่น กระชิงหุ้มผ้าแดง ได้แต่หลานหลวงอยู่ในวัง อยู่นอกวังกระชิงหุ้มผ้าขาวเลว. (กฎมนเทียรบาล). (ดู กรรชิง).
  5. กระชิด ๑ : ว. ชิดทีเดียว เช่น ว่องไวไล่กระชิดติดพัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  6. กระแชะ : (กลอน) ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา. (คาวี).
  7. กระโชก : ว. กระแทกเสียง เช่น พูดกระโชก เห่ากระโชก; ทําให้กลัว, ทําให้ตกใจ, เช่น ขู่กระโชก, กระแทก เช่น ม้าก็กระโชก วิ่งหนักเข้า. (ประวัติ. จุล), ลมกระโชกแรง. (ประพาสมลายู).
  8. กระซวย : (ถิ่น) น. กรวย เช่น กระซวยหมากพลู.
  9. กระซ่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น กระซ่างฟ้าเห็นกัน. (ม. คําหลวง สักบรรพ), กระช่าง ก็ว่า.
  10. กระซาบ : (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
  11. กระซิกกระซวย : ก. ค่อยกระแซะเข้าไป เช่น เจ้าก็ระรี่ระริก กระซิกกระซวย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  12. กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
  13. กระเซอะกระเซอ : ก. เซ่อเซอะ เช่น ชังน้ำหน้าบ้าเคอะกระเซอะกระเซอ. (คาวี).
  14. กระเซิง : ว. ยุ่งเหยิง, รุงรัง, เช่น ผมเป็นกระเซิง, เซิง ก็ว่า.
  15. กระแซะ : ก. ขยับกระทบเข้าไป เช่น ขยับตัวกระแซะเข้าไป พูดเลียบเคียงกระแซะเข้าไป.
  16. กระดก ๒ : (โบ; กลอน) ก. ตระหนก, กลัว, เช่น ก็กระดกตกใจกลวว แก่มรณภยานตราย. (ม. คําหลวง ชูชก).
  17. กระดองหาย : น. ไม้สําหรับสงฟางในเวลานวดข้าว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก และไม้กระดองหาย. (ลักษณะธรรมนูญ), ดอง ดองหาย ดองฉาย ขอฉาย หรือ คันฉาย ก็เรียก. (รูปภาพ กระดองหาย)
  18. กระดักกระเดี้ย : ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
  19. กระดาก ๒ : (กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).
  20. กระดาก ๓ : น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดําดง. (ม. ฉันท์ มหาพน).
  21. กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
  22. กระด้าง ๓ : ว. ค่อนข้างแข็ง หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อน, ไม่นิ่มนวล, เช่น ลิ้นกระด้าง ข้าวกระด้าง; ขัดแข็ง หมายถึง กิริยาวาจา ไม่อ่อนตาม เช่น มีกิริยากระด้างขึ้น; เรียกน้ำที่ฟอกสบู่ ไม่เป็นฟองว่า น้ำกระด้าง.
  23. กระด้างกระเดื่อง : ก. แข็ง เช่น หนึ่งโสดฝุ่นทรายตรึงตรา นอนแนบหินผา กระด้างกระเดื่องทั้งตัว. (ดุษฎีสังเวย). ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.
  24. กระดางลาง : ว. มรรยาทหยาบ, สัปดน, เช่น อ้ายเฒ่าแก่กากกลีกระดางลาง ยังมันนี้ใครเขามีบ้างที่เมืองคน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  25. กระดาษเทศ : (โบ) น. ตาดเทศ เช่น อันทําด้วยกระดาษเทศทอพราย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  26. กระดาษเพลา : [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ.
  27. กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
  28. กระดิบ, กระดิบ ๆ : ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายน้ำกระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่ กับคํา กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ.
  29. กระดี่ได้น้ำ : (สำ) น. ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจ ตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ.
  30. กระดุบ ๆ : ว. อาการที่เต้นตุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น, ดุบ ๆ ก็ว่า; อาการที่เคลื่อนที่ไป อย่างช้า ๆ เช่น เด็กคลานกระดุบ ๆ.
  31. กระดูกสันหลัง : น. กระดูกที่อยู่ในแนวกึ่งกลางทางด้านหลังของ ลําตัว เป็นแกนของร่างกาย มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกันเป็นแนวตั้งแต่ บริเวณคอต่อจนถึงบริเวณด้านหลังของทวารหนัก ทําหน้าที่ป้องกัน อันตรายให้แก่ไขสันหลัง, โดยปริยายหมายถึงส่วนที่สําคัญ, ส่วนที่เป็นพลังค้าจุน, เช่น ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ.
  32. กระดูกอ่อน : (สำ) ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว.
  33. กระเดิด ๒ : ก. ลงกันไม่สนิท, กระดกสูงกว่าพื้น, เช่น กระดานกระเดิด.
  34. กระเดียด ๑ : ก. เอาเข้าข้างสะเอว เช่น กระเดียดกระจาด. (ข. กณฺเฎียต).
  35. กระเดียด ๒ : ว. ค่อนข้าง, หนักไปทาง, เช่น กระเดียดเปรี้ยว หน้าตากระเดียดไปทางแม่.
  36. กระเดือกๆ : ว. กระเสือกกระสนไปด้วยความลำบาก เช่น ว่ายน้ำกระเดือก ๆ.
  37. กระเดือก ๒ : (ปาก) ก. กลืนอย่างลําบาก เช่น กระเดือกไม่ลงคอ เต็มกระเดือก.
  38. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  39. กระเดื่อง ๓ : ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง. (ขุนช้างขุนแผน); กระดาก เช่น ไป่กระเดื่องสะดุ้ง ฟูมฟาย. (นิทราชาคริต), นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น กระดากกระเดื่อง.
  40. กระแด็ก ๆ : ว. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ เช่น ดิ้นกระแด็ก ๆ ชักกระแด็ก ๆ ติดกระแด็ก ๆ, แด็ก ๆ ก็ว่า.
  41. กระแด้แร่ : ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทําดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย. (มณีพิชัย).
  42. กระโดง ๑ : น. ใบเรือ เช่น เสากระโดง คือ เสาใบเรือ; ส่วนที่อยู่บนหลังปลา บางชนิด เช่น ปลากัด ปลาฉลาม มีลักษณะเป็นแผ่นตั้งคล้ายใบเรือ. (ข. โกฺฎง ว่า ใบเรือ).
  43. กระโดด : ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
  44. กระใด : (โบ) ว. กระไร, อะไร, ทําไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู. (สมุทรโฆษ).
  45. กระตรกกระตรำ : (โบ; กลอน) ก. ตรากตรํา เช่น หาเลี้ยงและโดยสฤษฎิตน กระตรกกระตรำก็นําพา. (กล่อมพญาช้าง).
  46. กระตร้อ : (โบ) น. เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อพันผ้าชุบน้ำ มีด้ามยาว สําหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา เช่น ให้ตรวจเอาพร้าขอกระตร้อน้ำ จงทุกที่พนักงานให้สรัพไว้. (สามดวง), ตะกร้อ ก็เรียก.
  47. กระตรุม : (กลอน) น. นกตะกรุม เช่น เขาคุ่มกระตรุมกระไตร ตระไนนี่สนั่นเสียง. (สรรพสิทธิ์).
  48. กระต้อ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระต้อพลอดกิ่งพลับ. (เพชรมงกุฎ).
  49. กระตัก : (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์ พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).
  50. กระตั้ว : น. ชื่อนกปากงุ้มเป็นขอจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ลักษณะคล้ายนกแก้วแต่ตัวโตกว่า พบในทวีป ออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง เช่น กระตั้วหงอนเหลือง (Cacatua galerita) กระตั้วดํา (Probosciger aterrimus).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | [251-300] | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1871 sec)