Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 6501-6550
  1. ลานตา. : ว. ตั้งสติไม่อยู่เพราะกลัว, มักใช้ควบกับคํา กลัว เป็น กลัวลาน เช่น เด็กถูกดุเสียจนกลัวลาน.
  2. ลานบิน : น. เรียกทรงผมผู้ชายแบบหนึ่งที่ตัดข้างล่างสั้นเกรียน ข้างบนราบเสมอกันว่า ผมลานบิน; โดยปริยายหมายถึงตำแหน่ง หน้าที่การงาน เช่น ไม่มีลานบินจะลง หาลานบินลงไม่ได้.
  3. ลาม : ก. แผ่ขยายต่อเนื่องออกไป เช่น ไฟลาม แผลลาม; กระทํากิริยา ไม่รู้จักที่ตํ่าที่สูงเรื่อยไปต่อบุคคลเมื่อเห็นว่าเขาไม่ถือ.
  4. ล่าม ๒ : ก. ผูกโดยวิธีให้เคลื่อนย้ายได้บ้างในที่จํากัด เช่น ล่ามโซ่ ล่ามวัว ล่ามควาย.
  5. ลามก : [–มก] ว. หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจ ของคนดีมีศีลธรรม, เช่น หนังสือลามก พูดลามก ทำลามก. (ป.).
  6. ลามปาม : ว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปาม ไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่ง แสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปาม ผู้ใหญ่.
  7. ลาย ๑ : น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็น สําคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลาย เทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกํามะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะสําคัญของตน เช่น ทิ้งลาย ไว้ลาย. ว. เป็นแนว ยาว ๆ เช่น ลายพาดกลอน, เป็นแผลยาว ๆ เช่น หลังลาย, เป็น จุด ๆ เป็นแต้ม ๆ เป็นดวง ๆ หรือเป็นเส้น ๆ เช่น หน้าลาย ท้องลาย; เรียกผ้านุ่งที่เขียนหรือพิมพ์ลายเป็นดอกดวงต่าง ๆ มี ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบน ปัจจุบันทํา เป็นผ้าถุง ว่า ผ้าลาย.
  8. ลาย ๒ : น. ชื่อยุงหลายชนิดในสกุล Aedes วงศ์ Culicidae ที่พบเป็นสามัญ ในบ้าน เช่น ชนิด A. aegypti ผนังด้านล่างของส่วนท้องมีเกล็ด เกล็ดตามลําตัวสีขาวเป็นแถบลายต่าง ๆ ตัดกับเกล็ดพื้นสีดําหรือ สีนํ้าตาลแก่ ตัวเมียมีรยางค์คู่ใกล้ปากสั้นกว่าตัวผู้ ก้นแหลม ปลาย ขาไม่มีแผ่นบางระหว่างเล็บเกาะดูดเลือดโดยลําตัวขนานกับพื้น บางชนิดนําโรค เช่นโรคไข้เลือดออก มาสู่คน.
  9. ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
  10. ลายเฉลวโปร่ง : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานสิ่งของ หลายอย่าง เช่น สานชะลอม สานกระเช้าตาดอกพิกุล มักสานด้วย ไม้ไผ่ จะสานด้วยตอกปื้นหรือตอกตะแคงก็ได้ มีลักษณะเป็นตา หกเหลี่ยม, ลายเฉลว ๖ มุม ก็เรียก.
  11. ลายตา : ก. อาการที่มองเห็นของจำนวนมาก ๆ หรือของที่มีแสงสี ต่าง ๆ จนทำให้ตาลายหรือพร่าไป เช่น มองเห็นแสงสีมาก ๆ จน ลายตา การประดับไฟตามท้องถนนในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ดูลายตาไปหมด.
  12. ลายเบา : น. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บน พื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบา บนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.
  13. ลายพร้อย : ว. เป็นจุด เป็นประ เป็นดวง เป็นเส้นไปทั่วบริเวณ เช่น หน้าลายพร้อย ประแป้งลายพร้อย สักหลังลายพร้อย.
  14. ลายมือ : น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลาย มือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์; ตัวหนังสือเขียน มักมี ลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลาย มือตัวเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึง จดหมายของเจ้านายด้วย.
  15. ลายลักษณ์ : น. ตัวหนังสือ, เครื่องหมายเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร อียิปต์โบราณ.
  16. ลายลักษณ์อักษร : น. เครื่องหมายขีดเขียนเป็นตัวหนังสือ เช่น เรื่องนี้ ควรบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร.
  17. ลายสอ : น. ชื่องูขนาดเล็กในวงศ์ Colubridae ตัวสีเหลือง มีลายดําทั่วตัว อยู่ตามพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ดุแต่ไม่มีพิษ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) ลายสอหัวเหลือง (Sinonatrix percarinata).
  18. ลายสาบ : น. ชื่องูหลายชนิดในสกุล Rhabdophis วงศ์ Colubridae เป็นงูขนาด เล็ก ตัวยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร เกล็ดมีสัน ไม่มีพิษ เช่น ลาย สาบคอแดง (R. subminiatus) ลายสาบดอกหญ้า (R. stolatus).
  19. ลาโรง : ก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ, (ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทํามา เช่น เขาลาโรงจากการเมืองแล้ว.
  20. ลาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ลาว เช่น ลาว กระแซ ลาวดวงเดือน ลาวดําเนินทราย ลาวเจริญศรี.
  21. ล้าสมัย : ว. ไม่ทันหรือไม่เป็นไปตามสมัยที่กําลังนิยมกัน เช่น เขาเป็นคนล้าสมัย.
  22. ล้าหลัง : ว. ช้าอยู่ข้างหลังเขา เช่น เดินล้าหลัง, ไม่ก้าวหน้า เช่น ความคิดล้าหลัง.
  23. ลาออก : ก. ขออนุญาตให้พ้นจากสภาพที่ดำรงอยู่ เช่น ลาออกจาก การเป็นกรรมการ นักเรียนลาออกจากโรงเรียน.
  24. ล้ำ : ก. ล่วงเข้าไปเกินเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเขตแดน ล้ำแดนข้าศึก. ว. ยิ่ง, ล้น, เช่น สูงล้ำ ปัญญาล้ำ.
  25. ลำ ๑ : น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลําตัว ลําต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลําแขน ลําคอ ลําอ้อย ลํานํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลําหนึ่ง อ้อย ๒ ลํา เรือ ๓ ลํา; ชั้นเชิง เช่น หักลำ.
  26. ลำ ๒ : น. เพลง, บทกลอน, เช่น ร้องส่งลำ ร้องแก้ลำ ละครพูดสลับลำ.
  27. ลำกล้อง : น. ส่วนของปืนที่มีลักษณะยาวกลวง, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลํากล้องกล้องโทรทรรศน์.
  28. ลำแข้ง : น. กำลังความสามารถในการทำมาหากินด้วยตนเองไม่ต้อง พึ่งใคร เช่น หากินด้วยลำแข้งของตนเองจนมั่งมี, ปลีแข้ง ก็ว่า.
  29. ลำเค็ญ : ว. ลําบาก, ยากแค้น, เช่น เขามีชีวิตลำเค็ญ.
  30. ลำดับ : น. อันดับ, การเรียงกันไว้ให้เป็นระเบียบตามตําแหน่ง, เช่น นั่งตาม ลำดับ เข้าแถวตามลำดับไหล่ เรียงตามลำดับอักษร.
  31. ลำบาก : ว. เดือดร้อนเพราะถูกทรมานกายหรือใจ เช่น ตกอยู่ในฐานะลำบาก ตกที่นั่งลำบาก, ยาก เช่น ทำลำบาก ตัดสินใจลำบาก, ไม่สะดวก เช่น ทางลำบาก.
  32. ลำพอง : ว. ฮึกห้าว, แสดงอาการหยิ่งยโส, เช่น ทำลำพอง ใจลำพอง.
  33. ลำพัง : ว. เฉพาะตน, ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น, เช่น อยู่กันตามลำพัง, ฝ่ายเดียว เช่น ต้องต่อสู้กับข้าศึกแต่ลำพัง.
  34. ล้ำยุค, ล้ำสมัย : ว. ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัยของตน เช่น นักเขียน มีความคิดล้ำยุค.
  35. ลำลอง : ว. ตามสบาย, ตามอําเภอใจ, (ใช้แก่การแต่งกายซึ่งไม่ต้องให้เป็นไป ตามแบบ) เช่น แต่งตัวลำลอง.
  36. ลำลำ : ว. จวนเจียน, เกือบ, ตั้งท่าขยับ, เช่น ลำลำจะวิวาทกันอยู่แล้ว, รำรำ หรือ ร่ำร่ำ ก็ว่า.
  37. ลำเลียง : ก. ขนถ่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น ลำเลียงอาหาร ลำเลียง อาวุธ. ว. ที่ขนถ่ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น เรือลำเลียง.
  38. ล้ำเส้น : ว. เกินขอบเขตที่กำหนด เช่น ล้ำเส้นเขตแดน เขาชอบทำงาน ล้ำเส้นคนอื่น.
  39. ล้ำหน้า : ว. เกินเลยไปกว่าที่ควร เช่น เขาชอบทำอะไรล้ำหน้า เพื่อนฝูงอยู่เสมอ; ที่ก้าวหน้าเกินยุคเกินสมัย เช่น ความคิดลํ้าหน้า ทํางานลํ้าหน้า.
  40. ลำหักลำโค่น : (สำ) น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำ โค่นดี. ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือ โดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้ต้องใช้วิธี ลำหักลำโค่น.
  41. ลิ : ก. แตกบิ่นไปเล็กน้อย, อาการที่ของเป็นปุ่มเป็นแง่แตกบิ่นไปเล็กน้อย, เช่น พระกรรณพระพุทธรูปลิไปข้างหนึ่ง ขอบถ้วยลิไปนิดหนึ่ง.
  42. ลิขิต : น. หนังสือ, จดหมาย, (นิยมใช้เฉพาะจดหมายของพระสงฆ์). ก. เขียน, กำหนด, เช่น พระพรหมได้ลิขิตชีวิตไว้แล้ว. (ป., ส.).
  43. ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
  44. ลิงค์ : น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้น เป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  45. ลิงโลด : ก. กระโดดโลดเต้นด้วยความตื่นเต้นดีใจ เช่น เขาแสดงความดีอก ดีใจจนลิงโลด เด็กลิงโลดเมื่อเห็นขนม พอยิงประตูฟุตบอลได้เขา ก็ลิงโลด. น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  46. ลิด : ก. เด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง เช่น ลิดกิ่ง ลิดใบ.
  47. ลิดรอน : ก. ตัดทอน เช่น ลิดรอนอํานาจ ลิดรอนสิทธิ์.
  48. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  49. ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
  50. ลิ้นกับฟัน : (สำ) น. การกระทบกระทั่งกันบ้างแต่ไม่รุนแรงของคน ที่ใกล้ชิดกัน เช่น ระหว่างสามีกับภรรยาหรือคนที่ทำงานร่วมกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | [6501-6550] | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1462 sec)