Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 5051-5100
  1. ฟื้น : ก. กลับคืนมาใหม่ เช่น ฟื้นความทรงจํา ฟื้นสติ, คืนความรู้สึก เช่น ฟื้นจากสลบ, พลิกกลับขึ้นมา เช่น ฟื้นดิน; ถอนขึ้น เช่น ฟื้นมัน.
  2. ฟื้นฟู : ก. ทําให้กลับเจริญงอกงามขึ้นมาใหม่ เช่น ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมไทย ฟื้นฟูการละเล่นของไทย.
  3. ฟุ้ง : ก. ตลบไป เช่น หอมฟุ้ง กลิ่นฟุ้ง, ปลิวไป, กระจายไป, เช่น ฝุ่นฟุ้ง. ว. มากเกินควร (ใช้แก่กริยาคุย) เช่น คุยฟุ้ง.
  4. ฟุตบอล : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๑๑ คน รวมทั้ง ผู้รักษาประตู ผู้เล่นแต่ละฝ่ายต้องเตะลูกบอลให้เข้าประตูของฝ่าย ตรงข้าม ฝ่ายที่ได้ประตูมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกลูกกลมทำ ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการ เล่นฟุตบอล ว่า ลูกฟุตบอล. (อ. football).
  5. ฟุบ : ก. หมอบลง, ยอบลง, เช่น ฟุบตัวลงกราบ เป็นลมฟุบไป, ยุบลงอย่างจมูกยุบ; ลักษณะที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศ มีน้อย ทำให้สินค้าราคาตก เรียกว่า เงินฟุบ, ตรงข้ามกับ เงินเฟ้อ.
  6. ฟุฟะ : ว. ไม่แน่น, พอง ๆ เช่น เสื้อติดระบายฟุฟะ.
  7. ฟุ, ฟุ ๆ : ว. ฉุ, น่วม ๆ, ไม่แน่น, เช่น แอปเปิลเนื้อฟุ ขนมถ้วยฟู (แบบจีน) เนื้อฟุ.
  8. ฟุ่มเฟือย : ว. สุรุ่ยสุร่าย, ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลือง, เกินความจำเป็น เช่น ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย.
  9. ฟู : ก. พองตัวขึ้น, ขยายตัวนูนขึ้น, เช่น ขนมสาลี่ฟูมาก ปลาดุกฟู, อูดขึ้น เช่น แป้งหมักฟูขึ้น, พองโป่งขึ้นมา เช่น ผมฟู ปุยนุ่นฟู สุนัขขนฟู.
  10. ฟูม : ว. อาบ, โซม, ท่วม, อูม; เฟ้อ, มาก เช่น น้ำลายฟูมปาก.
  11. ฟูมฟัก : ก. ทะนุถนอม, ประคับประคอง, เช่น พ่อแม่ฟูมฟักลูก, ฟักฟูม ก็ว่า.
  12. ฟูมฟาย : ก. ทําฟองให้มาก, เล่นฟองนํ้า. ว. อาการที่มีนํ้าตานองหน้า เช่น ร้องไห้ฟูมฟาย; มากมาย, ล้นเหลือ, สุรุ่ยสุร่าย เช่น ใช้เงินฟูมฟาย คือ จับจ่ายใช้สอยเกินสมควร.
  13. เฟ็ด : ว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง); เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม. (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ด ไพ่อ้อม เอาชัย. (ยวนพ่าย).
  14. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  15. เฟอะ : ว. เลอะ เช่น แผลมีหนองเฟอะ.
  16. เฟอะฟะ : ว. เลอะเทอะ เช่น น้ำเหลืองไหลเฟอะฟะ; ไม่เข้าท่า เช่น แต่งตัวเฟอะฟะ.
  17. เฟะ : ว. เละ, เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเป็นร่าง, เช่น เน่าเฟะ.
  18. เฟี้ยว : (ปาก) ว. อาการที่แสดงหรือทำผาดโผนให้เป็นที่สะดุดตาผู้อื่น เช่น แต่งตัวเฟี้ยว ขับรถเฟี้ยว.
  19. เฟื่อ : (โบ) ก. เกื้อกูล เช่น ช่วยเหนือเฟื่อกู้มัน. (จารึกสยาม).
  20. เฟือง : น. มะเฟือง; พู, เหลี่ยม, เช่น เฟืองมะยม; ล้อที่มีฟันเพื่อให้ ประสานกับฟันของล้อตัวอื่นเป็นต้น.
  21. เฟื่อง ๒ : ก. เจริญรุ่งเรือง, รุ่งโรจน์, มีชื่อเสียงโด่งดัง, เช่น เขากำลังเฟื่อง ความคิดเฟื่อง ชื่อเสียงเฟื่อง; คล่องแคล่ว, แม่นยำ, เช่น จบปริญญาเอก มาใหม่ ๆ ความรู้กำลังเฟื่อง.
  22. เฟื่องฟู : ว. เจริญ, มั่งคั่ง, รุ่งเรือง, เช่น ฐานะกำลังเฟื่องฟู, ฟูเฟื่อง ก็ว่า.
  23. แฟน : (ปาก) น. ผู้นิยมชมชอบ เช่น แฟนเพลง แฟนภาพยนตร์ แฟนมวย, ผู้เป็นที่ชอบพอรักใคร่, คู่รัก, สามีหรือภรรยา.
  24. แฟบ : ว. อาการของสิ่งที่ตามปรกติควรจะโป่งหรือพอง แต่ได้ยุบ หรือแบนลงไป เช่น ยางรถแฟบ ท้องแฟบ อกแฟบ จมูกแฟบ.
  25. แฟ้ม : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝา หอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสําหรับสอดไม้ คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสําหรับขัดปาก ขอบ ด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สําหรับเก็บแผ่นกระดาษ มี ปกหน้าปกหลังทําด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสําหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสําหรับ ใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสําหรับใส่เอกสาร.
  26. ไฟ : น. ชื่อธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม; ผลจาก ปฏิกิริยาเคมีซึ่งก่อให้เกิดความร้อน แสงสว่าง และเปลว คือ กลุ่มแก๊สที่กําลังลุกไหม้ ทําให้ไหม้สิ่งต่าง ๆ ได้; ผ่านการอยู่ไฟมาแล้ว เช่น สามไฟ คือ อยู่ไฟมาแล้ว ๓ ครั้ง; ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึงความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ.
  27. ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
  28. : พยัญชนะตัวที่ ๓๒ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคําที่มา จากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรารภ ลาภ.
  29. ภควดี : [พะคะวะดี] ใช้เป็นคําเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).
  30. ภรรดร, ภรรดา : [พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).
  31. ภักษาหาร : น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจํา, เช่น เนื้อเป็นภักษาหาร ของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
  32. ภัย : น. สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).
  33. ภาคพื้น : น. พื้นแผ่นดิน, แผ่นดินใหญ่ เช่น ภาคพื้นยุโรป ภาคพื้นเอเชีย.
  34. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  35. ภาคภูมิ : [พากพูม] ว. มีสง่า, ผึ่งผาย, เช่น เขาแต่งตัวภาคภูมิ ท่าทางเขาภาคภูมิ.
  36. ภาคภูมิใจ : ก. กระหยิ่มใจ, รู้สึกว่ามีเกียรติยศ, เช่น เขาภาคภูมิใจใน ความสำเร็จ.
  37. ภาคเสธ : [พากเสด] ก. แบ่งรับแบ่งสู้ เช่น ให้การภาคเสธ คือ ให้การรับบ้าง ปฏิเสธบ้าง.
  38. ภาพ, ภาพ– : [พาบ, พาบพะ–] น. ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วน ท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึก เห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบ ไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).
  39. ภาพลวงตา : น. ภาพที่ปรากฏให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็น พยับแดดเป็นนํ้า เห็นเชือกเป็นงู.
  40. ภาม : น. เดช เช่น แสดงพาหุพิริยพลภาม. (สมุทรโฆษ). (ส.).
  41. ภาย : น. บริเวณ, สถานที่, เช่น ภายนอกกำแพง ภายในเมือง; ระยะเวลา เช่น ในภายหน้า จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง.
  42. ภาร, ภาร–, ภาระ ๑ : [พาน, พาระ–] น. ของหนัก, นํ้าหนัก; ธุระที่หนัก, การงานที่หนัก; หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่มีภาระในการเลี้ยงดูลูก ครูมีภาระในการ อบรมสั่งสอนศิษย์, ความรับผิดชอบ เช่น พ่อแม่ตายหมด พี่ต้องรับภาระ ส่งเสียเลี้ยงดูน้อง. ว. หนัก. (ป.).
  43. ภาระจำยอม : (กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จําต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้อง งดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อ ประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจํายอม.
  44. ภาวนา : [พาวะ–] น. การทําให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. ก. สำรวมใจให้แน่วแน่ เป็นสมาธิ เช่น สวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจตั้งความปรารถนา เช่น นั่ง ภาวนาขอให้พระช่วย. (ป.).
  45. ภาว–, ภาวะ : [พาวะ–] น. ความมี, ความเป็น, ความปรากฏ, เช่น ภาวะน้ำท่วม ภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ. (ป., ส.).
  46. ภาษา : น. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษา ราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยา อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและ แต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.
  47. ภาษาคำควบมากพยางค์ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการประกอบ หน่วยคำหลาย ๆ หน่วยเข้าเป็นคำเดียวกัน ทำให้คำหนึ่ง ๆ มีความยาว หลายพยางค์ เช่น ภาษาเวลส์ ภาษาเอสกิโม ภาษาอินเดียนแดง. (อ. polysynthetic language).
  48. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  49. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  50. ภาษาธรรม : น. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมาย ที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาว บ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | [5051-5100] | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2232 sec)