Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 201-250
  1. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  2. กระกร : (กลอน) ก. ฉายรัศมี เช่น ทินกรกระกรจามี- กรกรรัศมี ดุรงครัตน์พรรณราย. (สมุทรโฆษ). (กระ + ส. กร = รัศมี).
  3. กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
  4. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  5. กระกรุ่น : (กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
  6. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  7. กระกวด : (โบ; กลอน) ว. สูงชัน, กรวด, กรกวด ก็ว่า เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน. (ม. คําหลวง มัทรี).
  8. กระกอง : (แบบ) ก. กอด, เกี่ยวพัน, เช่น เกษแก้วกระกองกลม แลกทดกทันงาม. (เสือโค).
  9. กระกัด : (โบ) ก. ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น ด้วยกระกัดศรัทธา. (มาลัยคําหลวง), ใช้ว่า ตระกัด ก็มี, เขียนเป็น กรกัติ หรือ กระกัติ ก็มี.
  10. กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
  11. กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
  12. กระเกริก : (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  13. กระเกริ่น : (กลอน) ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  14. กระเกรียม : (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
  15. กระเกรียว : (โบ; กลอน) ว. เสียงดังเกรียว ๆ เช่น ก็ร้องกระเกรียวเฉียวฉาว. (สุธน).
  16. กระเกรี้ยว : (โบ; กลอน) ว. เสียงขบฟันเกรี้ยว ๆ เช่น คุกคามขบฟันกระเกรี้ยว. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
  17. กระเกลือก : (โบ; กลอน) ก. เกลือกไปมา เช่น กล่ำตากระเลือก กระเกลือก กลอกตากลม. (ลอ).
  18. กระคุก : (โบ) ก. คุกคลาน เช่น ทั้งล้มทั้งลุกกระคุกหัวเข่า. (ไตรภูมิ).
  19. กระงกกระงัน : (โบ) ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อย พี่ก็ไม่คิด. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  20. กระจร ๑ : (กลอน) น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง. (พงศ. เหนือ). (แผลงมาจาก ขจร).
  21. กระจร ๒ : (กลอน) ก. ฟุ้งไป เช่น ให้กระจรกิจจาในนุสนธิ์. (พาลีสอนน้อง). (แผลงมาจาก ขจร).
  22. กระจอก ๒ : (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้าเล็กลาน หล็อนแฮ. (ตําราช้างคําโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
  23. กระจอก ๓ : ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, .ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
  24. กระจ้อย : ว. จ้อย, เล็กน้อย, เช่น เดินร่อยเรี่ยงามตรูกระจ้อย. (ประพาสธารทองแดง).
  25. กระจัก : (กลอน) ก. เป็นจัก ๆ เช่น กระจักกระจังบัลลังก์บัวหงาย ธูปรองทองทราย สลับด้วยแก้วแกมนิล. (พากย์).
  26. กระจัง ๑ : น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ใช้เป็นลวดลายสําหรับเครื่องประดับที่อยู่ บนชั้นหรือตามขอบของสิ่งบางอย่าง เช่น ชั้นฐานธรรมาสน์ กระจังมีหลายแบบ เช่น กระจังตาอ้อย กระจังเจิม กระจังปฏิญาณ, เครื่องประดับที่มีลวดลายชนิดนี้ เรียกว่า ตัวกระจัง ใช้ประดับหลัง เฟี้ยมลับแลและอื่น ๆ.
  27. กระจัด ๑ : ก. ขับไล่; แยกย้ายออกไป เช่น ลูกหลานกระจัดพลัดพราย. (คาวี). (แผลงมาจาก ขจัด).
  28. กระจัด ๒ : ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
  29. กระจายนะมณฑล : (โบ) น. ชื่อกลบทวรรคต้นใช้อักษรสูงนําหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรต่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กําจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตํารากลอน).
  30. กระจิด : ว. เล็กน้อย เช่น ตัวกระจิดนิดกว่าแมว. (ประพาสธารทองแดง).
  31. กระจิบ ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Sylviidae ร้องเสียงจิบ ๆ มีหลายชนิด เช่น กระจิบธรรมดา (Orthotomus sutorius) กระจิบคอดํา กระจิบหัวแดง (O. atrogularis) (O. sepium) กินแมลง.
  32. กระจุก : น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. ก. รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม เช่น ธุรกิจใหญ่ ๆ กระจุกกันอยู่ในตัวเมือง.
  33. กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
  34. กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
  35. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  36. กระเจ่า, กระเจ้า ๑ : (ถิ่น) น. นกยาง เช่น กระจาบกระเจ้าจับ ซ้องศัพทอึงอล.
  37. กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูก ตีแตกกระเจิดกระเจิงไป. (ดู กระเจอะกระเจิง).
  38. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  39. กระโจม ๒ : ก. โถมเข้าไป เช่น ไม่ได้ทีอย่ากระโจมเข้าโรมรัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒); ข้ามลําดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง.
  40. กระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึกให้เข้ากัน อบด้วยควันเทียนให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้ มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  41. กระฉูด : ก. พุ่งออกโดยแรง (ใช้แก่ของเหลว) เช่น น้ำกระฉูด; ไสไปโดยแรง เช่น ช้างกระฉูดเท้า. (เทียบ ข. กญฺฌูส ว่า เตะดิน, ตะกุยดิน, เตะไสดินให้ฝุ่นฟุ้ง).
  42. กระแฉ่น : (โบ) ก. ดังสนั่น เช่น ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู. (แช่งน้ำ).
  43. กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
  44. กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
  45. กระชอก : (โบ; กลอน) ก. กระฉอก เช่น กระชอกชอกชล กระมลมลมาลย์. (ประชุมหนังสือเก่า ภาค ๒). (ไทยเหนือ ซอก ว่า ตำ, กระทุ้ง).
  46. กระชอม : (โบ) ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  47. กระชอมดอก : น. ดอกไม้เพศผู้ของพรรณไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง บวบ ซึ่งเรียกกันว่า ดอกถวายพระ.
  48. กระช้อย : ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด. (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระชด เป็น กระชดกระช้อย.
  49. กระชัง ๑ : น. บังสาดที่ปิดและเปิดได้. (เทียบ ช. กระรันชัง = กระจาด). กระชังหน้าใหญ่ (สํา) ว. จัดจ้าน, ออกหน้ารับเสียเอง, เช่น แม่กระชังหน้าใหญ่.
  50. กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1579 sec)