Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 8701-8750
  1. เอง : ว. คําเน้นแสดงว่าไม่ใช่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น เช่น ฉันเอง เป็นธรรมดา อยู่เอง; ตามลําพัง, เฉพาะตน, เช่น ไปกันเอง; แหละ, นี่แหละ, นั่นแหละ, เช่น แค่นั้นเอง.
  2. เอ็ด ๑ : ว. หนึ่ง (ใช้เรียกจํานวนเลขที่มี ๑ อยู่ท้าย เช่น ๑๑ ว่า สิบเอ็ด ๑๐๑ ว่า ร้อยเอ็ด หรือหนึ่งร้อยเอ็ด).
  3. เอน : ว. อาการของสิ่งที่มีลักษณะยาวหรือเป็นแผ่นเป็นต้น ตั้งอยู่ แต่ ไม่ตรง เช่น เสาเอน ต้นไม้เอน ฝาเอน.
  4. เอนไซม์ : น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก. (อ. enzyme).
  5. เอ๋ย : ว. คําลงท้ายชื่อหรือถ้อยคําเพื่อบอกให้รู้หรือร้องเรียกด้วยความ เอ็นดู, เอ๊ย ก็ว่า; คําที่ใช้ในตอนขึ้นต้นคํากลอนหรือบทดอกสร้อย เช่น กาเอ๋ย กาดํา รถเอ๋ยรถทรง.
  6. เอย ๑ : คำกล่าวประกอบหลังคำจำแนกรายละเอียด เช่น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มีค่าน้ำเอย ค่าไฟเอย.
  7. เอ่ย ๒ : ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย.
  8. เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).
  9. เอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึง ส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.
  10. เออ ๆ คะ ๆ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  11. เอ้อเร้อเอ้อเต่อ : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, ยืดยาด เช่น มัวแต่ เอ้อเร้อเอ้อเต่ออยู่นั่นแหละ จะทําอะไรก็ไม่ทําเสียที; มากจนล้น (ใช้แก่กริยากิน), เอ้อเร้อ ก็ว่า.
  12. เออออ, เออออห่อหมก : ก. เห็นด้วย, พลอยเห็นตามไปด้วย, เช่น เขาก็เออออห่อหมกด้วย.
  13. เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
  14. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  15. เอาการ ๒ : ว. ยิ่งกว่าธรรมดา เช่น สูงเอาการ.
  16. เอาชื่อ : ว. มุ่งให้ได้ชื่อเสียง เช่น ทำงานเอาชื่อ.
  17. เอาแต่ : ว. มุ่งเฉพาะอย่างเดียวเท่านั้น เช่น เอาแต่เรียน เอาแต่งาน เอาแต่กิน เอาแต่เล่น.
  18. เอาเถิดเจ้าล่อ ๒ : ก. อาการที่ตามจับหรือตามหาผู้ที่หลบหรือเลี่ยง กันไปมา เช่น ตำรวจเอาเถิดเจ้าล่อกับผู้ร้าย.
  19. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  20. เอาไม่อยู่ : ก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมาก จนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้ พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.
  21. เอาเรื่อง : ก. ถือเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เจ้าของเขาจะเอาเรื่อง. ว. ยิ่งกว่าธรรมดา, มาก, เช่น เผ็ดเอาเรื่อง; เอาจริง เอาจริงเอาจัง เช่น เขาเป็นคนเอาเรื่อง.
  22. เอาแรง ๑ : ก. ช่วยผู้อื่นทำงานเพื่อต่อไปเขาจะได้มาช่วยตนทำงาน ในลักษณะเดียวกันบ้าง เช่น เกี่ยวข้าวเอาแรงกัน.
  23. เอาฤกษ์ : (ปาก) ก. ประเดิม เช่น สอนเอาฤกษ์.
  24. เอาฤกษ์เอาชัย : ว. ที่มุ่งให้เกิดความสุขความเจริญหรือได้ชัยชนะ ฝ่ายตรงข้าม เช่น โห่เอาฤกษ์เอาชัย.
  25. เอาหน้า : ก. อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เช่น ทำบุญเอาหน้าหรือ อยากได้บุญคุณ เช่น เขามาเอาหน้ากับฉันว่าเป็นคนเสนอชื่อฉัน ให้ได้รับรางวัล; เรียกการทํางานเฉพาะงานที่ผู้ใหญ่รู้เห็นเพื่อหวัง ประโยชน์ว่า ทํางานเอาหน้า.
  26. เอาใหญ่ : ก. กําเริบ เช่น เดี๋ยวนี้เขาชักจะเอาใหญ่แล้ว.
  27. เอาอยู่ : ว. เอาการ, เอาเรื่อง, เช่น ระยะทางไกลเอาอยู่, ถ้าใช้ใน ลักษณะปรารภเชิงขอความเห็นหรือแสดงความหนักใจเป็นต้น มักใช้ว่า เอาอยู่นะ เช่น ปัญหานี้ยากเอาอยู่นะ. ก. ปกครองได้, ควบคุมได้, เช่น เด็กคนนี้เกเรมาก คิดว่าจะเอาอยู่ไหม.
  28. เอียง : ว. อาการของสิ่งที่เอนไปข้างหนึ่ง เช่น คอเอียง, อาการของสิ่งที่เสีย ระดับ ไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เรือเอียง เรือน เอียง. ก. เปลี่ยนระดับไม่ว่าจะในแนวนอนหรือแนวยืนก็ตาม เช่น เครื่องบินกำลังเอียงปีกเพื่อร่อนลง เขาเอียงคอดู.
  29. เอี้ยง : น. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและ ผลไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เอี้ยงสาริกา หรือ สาลิกา (Acridotheres tristis) เอี้ยงหงอน (A. javanicus) เอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) เอี้ยงดําปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis).
  30. เอียน ๑ : ว. ชวนให้คลื่นไส้ (มักใช้แก่รสหวาน). ก. เบื่อมาก เช่น ฉันเอียน หน้าเขาเต็มทีแล้ว.
  31. เอี่ยม : ว. ยังไม่ได้ใช้ เช่น ใหม่เอี่ยม, เรี่ยม เช่น แต่งตัวเอี่ยม หน้าตาเอี่ยม.
  32. เอี่ยมอ่อง : ว. ใหม่ผุดผ่อง เช่น เสื้อผ้าเอี่ยมอ่อง; สะอาดสดใส, ไม่หมองมัว, เช่น หน้าตาเอี่ยมอ่อง.
  33. เอี่ยว : ว. หนึ่ง, แต้ม ๑ ของลูกเต๋า, เรียกลําดับชุดที่ ๑ ของไพ่ตองว่า เอี่ยว เช่น เอี่ยวเกือก เอี่ยวชี เอี่ยวยาว. (ปาก) น. หุ้น, ส่วนร่วม. ก. มี ส่วนร่วม เช่น เรื่องนี้ขอเอี่ยวด้วยคน.
  34. เอี้ยว : ก. บิดไป, หันไป, เช่น เอี้ยวคอ เอี้ยวตัว, เบี่ยง เช่น ถนนสายนี้ ไม่ตรงเอี้ยวไปทางขวาเล็กน้อย.
  35. เอื้อ : ก. เอาใจใส่, มีนํ้าใจ, เช่น เอื้อแก่กัน, เห็นแก่ เช่น ทำกับข้าวเผ็ด ไม่เอื้อเด็ก ๆ.
  36. เอื๊อก : ว. เสียงดังในคออย่างเสียงดื่มน้ำแรง ๆ เช่น กลืนน้ำลายดังเอื๊อก.
  37. เอือด : ว. ชื้น เช่น เกลือเอือด ผ้าเอือด. (ถิ่นอีสาน) น. ดินที่มีธาตุเกลือ ปนอยู่และขึ้นเป็นขุยขาวที่หน้าดิน.
  38. เอือน ๑ : (โบ) น. พยาธิในท้องชนิดหนึ่ง เช่น ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น. (ไตรภูมิ).
  39. เอื้อนวาจา, เอื้อนโอฐ ๑ : (ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมา ได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.
  40. เอื้อเฟื้อ : ก. อุดหนุน, เจือจาน, แสดงนํ้าใจดีต่อผู้อื่น, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้อเฟื้อเกื้อกูล เอื้อเฟื้อเกื้อหนุน.
  41. เอื่อย, เอื่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดเอื่อย นํ้าไหลเอื่อย ๆ, ตามสบาย ไม่รีบร้อน เช่น เดินเอื่อย ๆ.
  42. แอ้ : ว. อาการที่แสดงว่าหนักมาก เช่น หนักแอ้ หนักจนหลังแอ้.
  43. แอ้ด ๒ : น. เรียกของบางอย่างที่มีขนาดเล็กกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด.
  44. แอ่น : ก. ทําให้โค้งหรือนูนจากแนวหรือระดับ เช่น แอ่นอก. ว. ลักษณะ ของสิ่งที่โค้งหรือนูนจากแนวหรือระดับ เช่น อกแอ่น สะพานแอ่น.
  45. แอโนด : น. แผ่นหรือแท่งตัวนําที่โยงต่อกับขั้วบวกของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่. (อ. anode).
  46. แอบ, แอบ ๆ : ก. ทําโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็นโดยอาการต่าง ๆ เช่น แอบทำ; เข้าไปชิด เช่น รถพยาบาลมาให้รถอื่นแอบเข้าข้างทาง. ว. อาการที่ยืน เดิน หรือวางสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้นไม่ให้เกะกะหรือกีดขวางทาง เช่น เดินแอบข้างทาง วางของแอบ ๆ หน่อย.
  47. แอ้ม : (ปาก) ก. กิน เช่น แอ้มขนมหรือยัง, ได้สมประสงค์ (มักใช้ใน ความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้แอ้ม.
  48. แอมโมเนีย : น. สารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร NH3 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี กลิ่นฉุน ละลายนํ้าได้ดี ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ใน อุตสาหกรรมทําปุ๋ย กรดไนตริก ใยสังเคราะห์ เป็นตัวทําความเย็น. (อ. ammonia).
  49. แอร่ม : [อะแหฺร่ม] ว. แพรวพราว, ผ่องใส, สดใส, เช่น งามแอร่ม หน้าตาแอร่ม.
  50. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | [8701-8750] | 8751-8762

(0.1968 sec)