Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 2251-2300
  1. จุรณ, จูรณ : [จุน, จูน] น. ของที่ป่น, ของที่ละเอียด, ผง, เช่น แหลกเป็นจุรณ, โบราณ เขียนเป็น จุณ ก็มี. (ส. จูรฺณ; ป. จุณฺณ).
  2. จุรณมหาจุรณ, จุรณวิจุรณ : [จุนมะหาจุน, จุนวิจุน] น. ของที่แหลก ละเอียดมาก เช่น แหลกเป็นจุรณมหาจุรณ แหลกเป็นจุรณวิจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณมหาจุณ หรือ จุณวิจุณ ก็มี.
  3. จุล- : [จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นําหน้าคําสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).
  4. จุฬา ๑ : น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฑา ก็ว่า. (ป. จูฬา; ส. จูฑา).
  5. จู่ ๆ : ว. ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า เช่น จู่ ๆ ก็มา.
  6. จู๋ : ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ ห่อปากเข้ามา เช่น ทําปากจู๋.
  7. จู้ ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี. (ขุนช้างขุนแผน). (ถิ่น-พายัพ) ก. จี้, จ่อ, ไช.
  8. จูง : ก. พาไปด้วยอาการคล้ายดึงหรือฉุด เช่น จูงควาย จูงเด็ก. น. ชื่อวัย ของเด็กระหว่างวัยอุ้มกับวัยแล่น เรียกว่า วัยจูง.
  9. จูงใจ : ก. ชักนําหรือเกลี้ยกล่อมเพื่อให้เห็นคล้อยตาม เช่น พูดจูงใจ.
  10. จู้จี้ ๑ : ก. งอแง เช่น เด็กจู้จี้, บ่นจุกจิกรํ่าไร เช่น คนแก่จู้จี้; พิถีพิถันเกินไป เช่น ซื้อของเลือกแล้วเลือกอีกจู้จี้มาก.
  11. จู๊ด : ว. อาการที่พุ่งตัวออกไปโดยเร็ว เช่น วิ่งจู๊ด พุ่งจู๊ด.
  12. เจดีย์ ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Turritellidae เปลือกเวียน เป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ เช่น ชนิด Turritella terebra.
  13. เจตมูลเพลิง : [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Plumbago วงศ์ Plumbaginaceae เช่น เจตมูลเพลิงแดง (P. indica L.) ดอกสีแดง และ เจตมูลเพลิงขาว (P. zeylanica L.) ดอกสีขาว, รากของทั้ง ๒ ชนิด มีรสเผ็ดร้อน ใช้ทํายาได้.
  14. เจตสิก : [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
  15. เจน : ว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชํานาญ เช่น เจนสังเวียน, จําได้แม่นยํา เช่น เจนทาง.
  16. เจริญพร : เป็นคําเริ่มที่ภิกษุสามเณรพูดกับสุภาพชน และเป็นคํารับ.
  17. เจริญรอย : ก. ประพฤติ เช่น เจริญรอยตามผู้ใหญ่.
  18. เจริด : [จะเหฺริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
  19. เจว็ด : [จะเหฺว็ด] น. แผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ ประดิษฐานไว้ในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ตั้งเป็นเจว็ดขึ้นไว้, ใช้ว่า ตระเว็ด หรือ เตว็ด ก็มี.
  20. เจษฎา ๒ : [เจดสะดา] น. การเคลื่อนไหวอวัยวะ, การไหวมือและเท้า, ท่ารํา; กรรม, การทําด้วยตั้งใจ, การประพฤติ, การตั้งใจทํา, เช่น ภูบาลทุกทวี- ปก็มาด้วยเจษฎา. (สมุทรโฆษ). (ส. เจษฺฏา).
  21. เจ้า ๑ : น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, เช่น เจ้านคร; เชื้อสายของกษัตริย์นับตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป, บางแห่งหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินก็มี เช่น เจ้ากรุงจีน; ผู้เป็นเจ้าของ เช่น เจ้าทรัพย์ เจ้าหนี้; ผู้ชํานาญ เช่น เจ้าปัญญา เจ้าความคิด เจ้าบทเจ้ากลอน; มักใช้เติมท้ายคําเรียกผู้ที่นับถือ เช่น พระพุทธเจ้า เทพเจ้า; เทพารักษ์ เช่น เจ้าพ่อหลักเมือง.
  22. เจ่า ๒ : ว. อาการที่เกาะ จับ หรือนั่งอย่างหงอยเหงา เช่น นกจับเจ่า นั่งเจ่า, อยู่ในที่จํากัดไปไหนมาไหนไม่ได้ เช่น นํ้าท่วมต้องนั่งเจ่าอยู่กับบ้าน.
  23. เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
  24. เจ้า ๓ : น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คํานําหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.
  25. เจ้า ๔ : น. ผู้ค้าขายสิ่งของต่าง ๆ เช่น เจ้าผัก เจ้าปลา, ลักษณนามหมายความว่า ราย เช่น มีผู้มาติดต่อ ๓ เจ้า.
  26. เจ้ากรม : น. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการ ฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.
  27. เจ้ากรรม : น. ผู้เคยมีกรรมมีเวรต่อกันมาแต่ชาติก่อน, เจ้ากรรมนายเวร ก็ว่า. ว. ที่ทำให้ผิดหวังหรือได้รับความเดือดร้อน เช่น รถเจ้ากรรมเกิดเสียขึ้น กลางทางเลยไปไม่ทัน เด็กเจ้ากรรมวิ่งมาชนเกือบหกล้ม. อ. คำกล่าวแสดง ความผิดหวังเพราะเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดมาก่อนเป็นต้น เช่น เจ้ากรรม แท้ ๆ รถมาเสียเอาตอนฝนตกเสียด้วย.
  28. เจ้าทุกข์ : น. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.
  29. เจ้าไทย : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
  30. เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
  31. เจ้าฟ้า : น. สกุลยศสำหรับพระราชโอรสหรือพระราชธิดาซึ่งพระมารดา เป็นพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์; เรียกเจ้าผู้ครอง แคว้นไทยถิ่นอื่น เช่น เจ้าฟ้าเชียงตุง.
  32. เจ้าภาพ : น. เจ้าของงานพิธีหรือผู้รับเป็นเจ้าของงานพิธี เช่น เจ้าภาพงาน แต่งงาน เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม; (ปาก) เจ้ามือ เช่น เย็นนี้ฉันขอเป็น เจ้าภาพเลี้ยงข้าวเอง.
  33. เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
  34. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  35. เจ้าสังกัด : น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนัก นายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
  36. เจาะ ๒, เจาะจง : ก. ตั้งใจเฉพาะ, มุ่งไปที่, เช่น นักข่าวเจาะข่าวเรื่องยาเสพติดในโรงเรียน หัวหน้าเจาะจงให้เขาทำงานชิ้นนี้.
  37. เจิ่น : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจิ่นไป, เจื่อน ก็ว่า.
  38. เจิม ๑ : ก. เอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล; เสริม, เพิ่ม, เช่น เจิมปากกระทง.
  39. เจียด ๒ : ก. แบ่งปันแต่น้อย, ขอแบ่งปันบ้าง, เช่น เขามีน้อยขอเจียดเอามาบ้าง.
  40. เจียน ๑ : ก. ตัด ขริบ หรือเฉือนให้ไปตามแนวหรือให้ได้รูปตามที่ต้องการ เช่น เจียนพลู เจียนใบตอง. (ข. เจียร ว่า ตัด, เล็ม).
  41. เจียน ๒ : ว. เกือบ เช่น เหนื่อยเจียนตาย.
  42. เจี๊ยบ ๑ : ว. จัด, มาก, ยิ่งนัก, เช่น เย็นเจี๊ยบ.
  43. เจียม ๒ : ก. รู้จักประมาณตัว, ประพฤติตนพอสถานประมาณ, เช่น เจียมเนื้อเจียมตัว.
  44. เจียร ๒ : [เจียน] ก. จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ. (ทวาทศมาส).
  45. เจียว ๑ : ก. ทอดมันสัตว์เพื่อเอานํ้ามัน เช่น เจียวนํ้ามันหมู, ทอดของบางอย่าง ด้วยนํ้ามัน เช่น เจียวไข่ เจียวหอม เจียวกระเทียม; (ถิ่น-พายัพ) แกง. ว. ที่ทอดด้วยนํ้ามัน เช่น ไข่เจียว หอมเจียว กระเทียมเจียว.
  46. เจือ : ก. เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติ ใช้กับของเหลว เช่น เอานํ้าเย็นเจือนํ้าร้อน. ว. ไม่แท้ไม่บริสุทธิ์เพราะ มีสิ่งอื่นปนอยู่ด้วย เช่น เงินเจือ.
  47. เจือจาง : ว. ไม่เข้มข้น, เข้มข้นน้อยลงเพราะเติมตัวทําละลายเช่นนํ้า เพิ่มลงไป, มีตัวทําละลายมาก มีตัวถูกละลายน้อย เช่น สารละลาย กรดเจือจาง, (ใช้แก่สารละลาย).
  48. เจื่อน : ก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้า เขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.
  49. เจื้อย : ว. เรื่อยไปไม่มีติดขัด เช่น เทศน์เจื้อย พูดเจื้อย แล่นเจื้อย.
  50. เจือสม : ก. มีความสอดคล้องหรือสนับสนุนให้น่าเชื่อ เช่น คำให้การของพยาน โจทก์กับพยานจำเลยเจือสมกัน.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | [2251-2300] | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.1784 sec)