Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 7701-7750
  1. สัมพันธไมตรี : น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทย มีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน.
  2. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  3. สัมภาระ : [สำพาระ] น. สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้และเสบียงซึ่ง สะสมรวบรวมหรือจัดเตรียมไว้เพื่อภาระต่าง ๆ เช่น เตรียมสัมภาระ สำหรับไปต่างจังหวัด; การเกื้อหนุน, การเลี้ยงดู. (ป., ส.).
  4. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  5. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  6. สัมมา : ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. (ป.; ส. สมฺยกฺ).
  7. สัมมาคารวะ : น. ความเคารพนบนอบ เช่น พูดกับผู้ใหญ่ต้องมี สัมมาคารวะ.
  8. สัมมาชีพ : น. อาชีพที่สุจริต, อาชีพที่ชอบธรรม, เช่น การทำไร่ทำนา นับว่าเป็นสัมมาชีพอย่างหนึ่ง. (ป. สัมมา + อาชีว).
  9. สัมมาทิฐิ : น. ความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺ??).
  10. สัมฤทธิศก : [สำริดทิสก] น. เรียกปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข ๐ เช่น ปีมะโรงสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๓๕๐, ปีสําเร็จ (ครบรอบ คือ ปีที่ ๑๐ ของ รอบ ๑๐ ปีของจุลศักราช) ซึ่งตั้งต้นด้วยเอกศก โทศก เป็นลําดับไปจน นพศก แล้วสัมฤทธิศก เป็นครบรอบแล้วตั้งต้นใหม่.
  11. สา ๓ : (ถิ่นอีสาน) น. ชื่องูหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น สาเหลือง หมายถึง งูลายสอบ้าน (Xenochrophis piscator) สาขาว หมายถึง งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus) สาคอแดง หมายถึง งูลายสาบคอแดง (Rhabdophis subminiatus).
  12. สา ๔ : สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
  13. สาก ๓ : ว. อาการที่ระคายเพราะมีลักษณะไม่ละเอียดอ่อนหรือไม่นุ่มนวล เช่น ใบข่อยจับแล้วสากมือ ผู้หญิงคนนี้มือสากเพราะทำงานหนักตั้งแต่เด็ก, ขรุขระเพราะมีพื้นไม่ราบเรียบ เช่น กระดานแผ่นนี้ผิวสากเพราะยัง ไม่ได้ไสกบ.
  14. สากล : ว. ทั่วไป, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น สากลโลก สากลจักรวาล; เป็นที่นิยมทั่วไป เช่น เครื่องแต่งกายชุดสากล, สามัญหมายถึงแบบซึ่งเดิมเรียกว่า ฝรั่ง เช่น มวยฝรั่ง เรียก มวยสากล, ใช้แทนคํา ''ระหว่างประเทศ'' ก็มี เช่น สภา กาชาดสากล น่านน้ำสากล. (ป., ส. สกล).
  15. สาแก่ใจ : ว. หนำใจ, สะใจ, (มักใช้ในความประชดหรือแดกดัน) เช่น บอกแล้วว่า อย่าไปยุ่งกับเขาโดนเขาด่ามา สาแก่ใจไหมล่ะ วันนี้เงินเดือนออก ต้องจ่าย ให้สาแก่ใจ.
  16. สาขา : น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง, เช่น วิทยาศาสตร์กายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวิชาวิทยาศาสตร์ ธนาคาร ออมสินสาขาหน้าพระลาน. (ป.; ส. ศาขา).
  17. สาคูลาน : น. แป้งสาคูที่เอาเยื่อในลําต้นแก่ของสาคูชนิดคล้ายต้นลานมาทํา เป็นแป้งเม็ดโต ๆ ทำอาหารได้ทั้งคาวและหวาน เช่น ซุปสาคู สาคูน้ำเชื่อม, สาคูเม็ดใหญ่ ก็ว่า.
  18. สาง ๑ : น. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง; กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์ เช่น เหม็นสาบเหม็นสาง, โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  19. สาง ๓ : (วรรณ) น. ช้าง เช่น เสือสางสรรโสงสรรพและไกร สรร้องสำเทินสาร. (สมุทรโฆษ).
  20. สาง ๔ : น. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลง ๆ ตามลําดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง. ก. ทําให้ แจ้งให้กระจ่าง เช่น สางคดี, ทําให้หายยุ่ง เช่น สางผม.
  21. สาชล : (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง สวาทไม่คลาดคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
  22. สาด ๒ : ก. ซัดไป เช่น สาดน้ำ สาดโคลน สาดทราย, วักน้ำหรือตักน้ำซัดออกไป โดยแรง เช่นสาดน้ำรดแปลงผัก, ซัดหรือกระเซ็นเข้ามา เช่น ฝนสาด, ซัด หรือยิงอาวุธหรือกระสุนปืนทีละมาก ๆ เช่น สาดอาวุธเข้าหากัน สาดกระสุนเข้าใส่กัน; ส่องแสงเข้ามา เช่น ดวงจันทร์สาดแสง ห้องนี้ แดดสาดทั้งวัน, กระจาย เช่น ถูกตีหัวเลือดสาด.
  23. สาดเสียเทเสีย : ก. ใช้สิ่งของสิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ. ว. อย่างเจ็บแสบ ทําให้เสียหายอย่างรุนแรง เช่น ด่าว่าอย่างสาดเสียเทเสีย.
  24. : พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นําอักษรตํ่าที่เป็น อักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
  25. หก ๑ : ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดย ปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  26. หกคะเมน : ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
  27. หง : ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสม สีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
  28. หงส์ ๒ : [หง] น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลําตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดํา (C. atratus).
  29. หงสโปดก : [หงสะโปดก] (วรรณ) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี เช่น ดุจหงษโปฎกกระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
  30. หงส์หยก : น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว ปากสีนํ้าตาล กินเมล็ดพืช มีถิ่นกําเนิด ในประเทศออสเตรเลีย.
  31. หงอน : [หฺงอน] น. ขนหรือเนื้อที่งอกขึ้นบนหัวไก่และนกบางชนิด, โดยปริยาย ใช้เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ค้อนหงอน ขวานหงอน.
  32. หงัก : ว. มาก เช่น แก่หงัก, งั่ก ก็ว่า.
  33. หงับ ๆ : ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่ เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
  34. หงาย : ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มี ดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
  35. หงายท้อง, หงายหลัง : (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจ ว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง ก็หงายท้องกลับมา.
  36. หง่าว : ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียก ว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  37. หงำ : [หฺงํา] ว. มากจนเลอะเทอะ เช่น เมาหงํา แก่หงํา.
  38. หงิก : ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  39. หงิกงอ, หงิก ๆ งอ ๆ : ว. คดงอไปมา เช่น ใบพริกถูกมดคันไฟขึ้นเลยหงิกงอ ใบโกรต๋นบางชนิดหงิก ๆ งอ ๆ ตามธรรมชาติ.
  40. หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  41. หงึกหงัก : ว. ติด ๆ ขัด ๆ เช่น วันนี้สมองตื้อ จะเขียนอะไรก็ติดหงึกหงักไปหมด.
  42. หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ : ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  43. หงุดหงิด : ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะ ไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.
  44. หงุบ, หงุบ ๆ : ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.
  45. หญ้า ๑ : น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิด ที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.
  46. หญ้าขัด : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Sida วงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง เช่น ชนิด S. rhombifolia L. ใช้ทํายาได้, ขัดมอน คัดมอน หรือ ยุงปัดแม่ม่าย ก็เรียก.
  47. หญ้าปากคอก ๑ : (สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.
  48. หญ้าแพรก : [-แพฺรก] น. ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้; (สํา) สามัญชน ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ.
  49. หญิบ : [หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คําหลวง ทศพร).
  50. หด : ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | [7701-7750] | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2817 sec)