Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชี้แนะ , then ชน, ชี้แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชี้แนะ, 8762 found, display 4651-4700
  1. ฝ่า ๒ : ก. กล้าผ่าน (เข้าไปหรือออกมา) หรือฝืนอยู่ในที่อันตราย, ทนรับ, ทนสู้, เช่น ฝ่าอุปสรรค ฝ่าอันตราย; ทวน เช่น ฝ่ากระแสคลื่น.
  2. ฝาก : ก. มอบให้ไว้เป็นต้นว่าเพื่อให้ช่วยดูแลคุ้มครองหรือพิทักษ์รักษา เช่น ฝากตัว ฝากบ้าน, ให้ปรากฏเป็นเกียรติ เช่น ฝากชื่อเสียง ฝากฝีมือ, ให้นําไปหรือให้ทําแทนตัว เช่น ฝากจดหมาย ฝากหน้าที่.
  3. ฝากผี : ก. มอบหมายให้ช่วยทําศพให้ เช่น จะฝากผีลูกรักเมื่อตักษัย. (สังข์ทอง).
  4. ฝาน : ก. ตัด เฉือน แฉลบให้เป็นแผ่นหรือเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ฝานกล้วย ฝานบวบ ฝานมะม่วง.
  5. ฝ้าฟาง : ว. ขุ่นมัว ทำให้เห็นไม่ถนัด เช่น นัยน์ตาฝ้าฟาง.
  6. ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
  7. ฝี ๑ : น. โรคจําพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อ ต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคําร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด.
  8. ฝีเท้า : น. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น เช่น ม้าฝีเท้าดีม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.
  9. ฝีมือ : น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการ เย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมี ศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์; โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามี ฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว.
  10. ฝึก : ก. ทํา (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจจนเป็นหรือมีความชํานาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
  11. ฝึกปรือ : ก. ฝึกให้ทําจนเป็น, หัดให้ทําจนดี, เช่น ฝึกปรือช้างม้า.
  12. ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
  13. ฝึกหัด : ก. ฝึกให้ชํานาญ, หัดให้ทําจนชํานาญ, เช่น ฝึกหัดทำเลข ฝึกหัด ทำการบ้าน.
  14. ฝืด : ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสี เป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณ เงินหมุนเวียนในประเทศมีน้อยไป การใช้จ่ายลดน้อยลงทำให้ราคา สินค้าตก ว่า เงินฝืด.
  15. ฝืน : ก. ต้องจําใจทําสิ่งที่ไม่อยากจะทํา เช่น ฝืนกิน ฝืนทํา; ขัด, ไม่ทําตาม, เช่น ฝืนระเบียบ; ขืน, ขืนไว้, เหนี่ยวรั้ง, เช่น ฝืนใจ.
  16. ฝุ่น : น. ดินแห้งหรือสิ่งอื่นที่ละเอียดเป็นผง เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นชอล์ก; ผงขาว ๆ คล้ายแป้งใช้ผัดหน้าหรือทาสิ่งของต่าง ๆ เช่น ฝุ่นผัดหน้า.
  17. ฝูง : น. พวก, หมู่, (ใช้แก่คนสามัญทั่ว ๆ ไป) เช่น ฝูงคน ฝูงชน, ใช้แก่ อมนุษย์สามัญทั่ว ๆ ไป เช่น ฝูงเทวดา ฝูงยักษ์, ใช้แก่สัตว์ (นอกจากช้าง) เช่น ฝูงสัตว์ ฝูงวัว ฝูงควาย ฝูงมด.
  18. เฝ้า : ก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน; มุ่งทำแต่สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น เฝ้าถาม เฝ้าแต่ร้องไห้; จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้า โทรทัศน์ตลอดวัน; (ราชา) ไปพบ, ไปหา, เช่น เฝ้าเจ้านาย.
  19. เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
  20. แฝง : ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
  21. แฝด ๑ : ว. เป็นคู่ (ใช้เรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน หรือใกล้กัน) เช่น มีลูกแฝด, โดยอนุโลมเรียกลูกที่เกิดจากท้องแม่ คนเดียวกันแม้เกินกว่า ๒ คนก็ได้ เช่น แฝด ๓ แฝด ๖, ติดกันเป็นคู่ เช่น มะม่วงแฝด ผลไม้แฝด.
  22. ใฝ่ฝัน : ก. คิดอยากได้, มุ่งหวัง, เช่น ใฝ่ฝันอยากไปเมืองนอก. ใฝ่ร้อนจะนอนเย็น ใฝ่เย็นจะดิ้นตาย (สํา) ก. มุ่งหวังจะสบายต้อง ทํางาน ถ้าเกียจคร้านจะลําบากยากจน.
  23. ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ : (สํา) ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์.
  24. : พยัญชนะตัวที่ ๓๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคํา ที่มาจากบาลีและสันสกฤต เช่น ภพ ภาพ สรรพ ผลลัพธ์.
  25. พก ๑ : น. ริมผ้านุ่งที่ดึงรวบขึ้นมาไขว้ไว้ที่บริเวณสะดือ มีลักษณะคล้ายถุง เล็ก ๆ เรียกว่า ชายพก ใส่เงินหรือหมากเป็นต้น; แผ่นดิน. ก. เอา เก็บหรือซ่อนไว้ในพกหรือในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พกมีด พกนาฬิกา, เรียกสิ่งที่นำติดตัวไปในลักษณเช่นนั้น เช่น มีดพก ปืนพก นาฬิกาพก; พัง, ทําลาย, เช่น ดุจพสุธาพังดังพสุธาพก. (ม. ร่ายยาว มหาราช); ผก, หก, ตก; (กลอน) วก เช่น ภายหลังมา จึงพราหมณ์ชูชก พกมาทวงทอง. (ม. คําหลวง ชูชก).
  26. พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
  27. พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
  28. พญา : [พะยา] (โบ) น. เจ้าแผ่นดิน เช่น พญาลิไทย; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, (มักใช้'';นําหน้านามอื่น) เช่น พญานาค พญาหงส์.
  29. พญาปากกว้าง : น. ชื่อนกในวงศ์ Eurylaimidae ลําตัวอ้วนป้อม ปากใหญ่ หัวโต อาศัย อยู่ตามป่าทึบ กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาปากกว้างสีดํา (Corydon sumatranus) พญาปากกว้างท้องแดง (Cymbirhynchus macrorhynchos) พญาปากกว้างหางยาว (Psarisomus dalhousiae).
  30. พญาไฟ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Campephagidae มีเสียงร้องไพเราะและ สีสันสวยงาม ตัวผู้สีแดง ตัวเมียสีเหลือง บางชนิดเป็นสีเทาทั้งตัวผู้ และตัวเมีย รวมกันอยู่เป็นฝูงตามยอดไม้ มีหลายชนิด เช่น พญาไฟ สีกุหลาบ (Pericrocotusroseus) พญาไฟเล็กคอเทา (P. cinnamomeus) พญาไฟใหญ่ (P. flammeus) พญาไฟสีเทา (P. divaricatus).
  31. พ่น : ก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, ที่อาการมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.
  32. พนม : น. ภูเขา. (ข.); ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม. ก. ทําให้มีรูปอย่างดอกบัวตูม เช่น พนมมือ.
  33. พนัก : น. เครื่องสําหรับพักสําหรับพิง เช่น พนักเก้าอี้.
  34. พนักงาน : น. หน้าที่ เช่น เรื่องนี้เป็นพนักงานของฉัน; ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ.
  35. พนัง : น. ทํานบกั้นนํ้าอย่างใหญ่; เครื่องกั้นเครื่องกําบัง เช่น พนังม้า คือแผ่นหนังสำหรับปิดข้างม้าทั้ง ๒ ข้าง พนังที่นอน คือแผ่นผ้า ที่เย็บปิดกั้นรอบข้างที่นอนหรือกั้นภายในที่นอนให้เป็นช่อง ๆ เพื่อยัดนุ่นเป็นลูก ๆ พนังหมอน คือแผ่นผ้าที่เย็บปิดกั้นรอบ หมอน.
  36. พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
  37. พนาด : น. เบาะสําหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม ภูษา. (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี.
  38. พบ : ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
  39. พบพาน : ก. ปะกัน, เจอกัน, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ประสบ พบพาน.
  40. พบู ๒ : (กลอน) น. หน้า; ดอกไม้ เช่น พบูบานประสานสี. ว. งาม; ขาว, ด่อน.
  41. พม่า ๒ : [พะม่า] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า พม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากําชับ พม่าห้าท่อน.
  42. พยชน์ : [พะยด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
  43. พยนต์ : [พะยน] น. สิ่งที่ผู้ทรงวิทยาคมปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้น เช่น หุ่นพยนต์. (ป. วยนฺต; ส. วฺยนฺต).
  44. พยัชน์ : [พะยัด] น. พัด. (ส. วฺยชน).
  45. พยัญชนะ : [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  46. พยับ : [พะยับ] ว. ครึ้ม, มืดมัว, (ใช้แก่อากาศ) เช่น พยับฟ้า พยับฝน พยับเมฆ.
  47. พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  48. พยาธิ ๑ : [พะยาทิ] น. ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ ชาติชราพยาธิ. (ป. พฺยาธิ, วฺยาธิ; ส. วฺยาธิ).
  49. พยาธิ ๒ : [พะยาด] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังซึ่งอย่างน้อยในระยะหนึ่งของ ชีวิตจะเป็นปรสิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ ชนิดตัวแบน เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ชนิดตัวกลมหรือหนอนพยาธิ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิ เส้นด้าย พยาธิแส้ม้า.
  50. พยาบาท : [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไป พยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | [4651-4700] | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8762

(0.2153 sec)